คลัง-ธปท.จัด “มหกรรมร่วมใจแก้หนี้” ช่องทางออนไลน์ตั้งแต่ 26ก.ย.-30พ.ย.2565

01 ก.ย. 2565 | 09:19 น.

คลัง-ธปท.เปิดทางลูกหนี้เริ่มต้นใหม่อย่างยั่งยืน นำร่อง “มหกรรมร่วมใจแก้หนี้ 2เดือนผ่านช่องทางออนไลน์ -ก่อนผนึกสมาคมสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐจัดมหกรรมสัญญจร4ภาคทั่วไทยระหว่างพ.ย.65-มค.66

ปัจจุบันที่เศรษฐกิจไทยกลับมาทยอยฟื้นตัวแต่ยังไม่ทั่วถึง (K-shaped) ประกอบกับค่าครองชีพและอัตราดอกเบี้ยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ดังนั้น เพื่อให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไม่สะดุด จึงจำเป็นต้องดูแลปัญหาหนี้ครัวเรือนให้ทันเวลา โดยเฉพาะกลุ่มเปราะบางที่รายได้ยังกลับมาไม่เต็มที่

 

ทั้งนี้ เพื่อให้การช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ตรงจุด และทันการณ์ยิ่งขึ้น กระทรวงการคลัง กับ ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) จึงร่วมกันจัดงาน “มหกรรมร่วมใจแก้หนี้ : มีหนี้ต้องแก้ไข เริ่มต้นใหม่อย่างยั่งยืน”

 

คลัง-ธปท.จัด “มหกรรมร่วมใจแก้หนี้” ช่องทางออนไลน์ตั้งแต่ 26ก.ย.-30พ.ย.2565

 แบ่งเป็น 2 ระยะ ระยะแรก เปิดช่องผ่านระบบออนไลน์ สำหรับการเจรจาไกล่เกลี่ยหนี้ระหว่างลูกหนี้ที่ประสบปัญหาการชำระหนี้และยังไม่ได้ความช่วยเหลือกับเจ้าหนี้  ตั้งแต่วันที่ 26 กันยายน ถึง 30 พฤศจิกายน 2565 เป็นระยะเวลา 2 เดือน

คลัง-ธปท.จัด “มหกรรมร่วมใจแก้หนี้” ช่องทางออนไลน์ตั้งแต่ 26ก.ย.-30พ.ย.2565

ขณะนี้ มีสถาบันการเงินตอบรับเข้าร่วมแล้ว 56 ราย ครอบคลุมหนี้จากสินเชื่อบัตรเครดิต สินเชื่อส่วนบุคคล เช่าซื้อรถ จำนำทะเบียนรถ นาโนไฟแนนซ์ รวมถึงสินเชื่อที่อยู่กับบริษัทบริหารสินทรัพย์ และสินเชื่อทุกประเภทของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ

 

และระยะที่สอง กระทรวงการคลัง ธปท. ร่วมกับสมาคมสถาบันการเงินของรัฐจะเพิ่มโครงการส่งเสริมความรู้ทางการเงินควบคู่กับการสร้างวินัยทางการเงิน รวมถึงการสนับสนุนให้ประชาชนที่มีความจำเป็นสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนของสถาบันการเงินของรัฐ และจะจัดงานมหกรรมสัญจร ทั้งในกรุงเทพฯ และภูมิภาคทั้ง 4 ภาคทั่วประเทศ โดยคาดว่าจะจัดระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2565 ถึงเดือนมกราคม 2566

นายพรชัย ฐีระเวช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยว่า การแก้หนี้ที่ยั่งยืน นอกเหนือจากการไกล่เกลี่ยและบรรเทาภาระหนี้ที่มีอยู่เดิมแล้ว

คลัง-ธปท.จัด “มหกรรมร่วมใจแก้หนี้” ช่องทางออนไลน์ตั้งแต่ 26ก.ย.-30พ.ย.2565

สิ่งสำคัญคือการสร้างทักษะทางการเงินและความรู้ในการประกอบอาชีพแก่ประชาชนรายย่อย เพื่อให้สามารถมีรายได้ที่เพียงพอและมั่นคง และสามารถบริหารจัดการทางการเงินต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม

 

กระทรวงการคลังได้มีการผลักดันให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจพัฒนาองค์ความรู้ทางการเงิน ความรู้ในการประกอบอาชีพ และความรู้ด้านดิจิทัล เพื่อนำไปสื่อสารให้แก่ประชาชนรายย่อยทั่วประเทศ

 

รวมถึงมีแผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาทักษะทางการเงิน พ.ศ. 2565 – 2570 โดยมีเป้าหมายในการปลูกฝังความรู้ทางการเงินตั้งแต่เด็กและต้องศึกษาเรียนรู้เรื่องนี้ไปตลอดช่วงอายุของชีวิต

“คืบหน้าแก้หนี้ข้าราชการตำรวจเดือนส.ค.สำเร็จ 5,439รายจากการปรับโครงสร้างหนี้ 7,205รายอยู่ระหว่างแก้ไขอีกกว่า 1,700ราย พร้อมจับมือออมสินให้สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำกว่า 2%สำหรับสหกรณ์ออมทรัพย์ตำรวจที่เข้าร่วม 47แห่ง ส่วนข้าราชการครูมีสหกรณ์ออมทรัพย์ครูลดดอกเบี้ยเงินกู้ 70แห่งซึ่งสามารถแก้ไขปัญหาหนี้ข้าราชการครูได้ได้แล้ว 3,623รายโดยได้รับประโยชน์ 4.3แสนราย”

คลัง-ธปท.จัด “มหกรรมร่วมใจแก้หนี้” ช่องทางออนไลน์ตั้งแต่ 26ก.ย.-30พ.ย.2565

นายรณดล นุ่มนนท์ รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธปท. กล่าวว่าการจัดมหกรรมแก้หนี้ในครั้งนี้ จึงเป็นหนึ่งในภารกิจสำคัญในการแก้ปัญหาหนี้ให้กับลูกหนี้กลุ่มเปราะบางที่รายได้ยังไม่กลับมาปกติจากสถานการณ์โควิด 19

 

หรือได้รับผลจากค่าครองชีพและอัตราดอกเบี้ยที่มีแนวโน้มสูงขึ้น ให้ได้รับความช่วยเหลืออย่างครอบคลุม และตรงจุด  โดยมีสถาบันการเงินตอบรับเข้าร่วมโครงการ 56แห่งซึ่งเริ่มเปิดให้ลูกหนี้ลงทะเบียนได้ตั้งแต่วันที่ 26 กันยายน 2565 คาดว่าจะมีสถาบันการเงินเพิ่มเข้ามาอีก  นอกจากนี้ปัจจุบันยังคงมีมาตรการช่วยเหลืออีก 4ด้านซึ่งได้ช่วยแก้ปัญหาลูกหนี้ที่ผ่านมาและยังคงอยู่

 

คลัง-ธปท.จัด “มหกรรมร่วมใจแก้หนี้” ช่องทางออนไลน์ตั้งแต่ 26ก.ย.-30พ.ย.2565

นอกจากนี้ ในการดูแลภาระหนี้สินภาคครัวเรือนให้ครบวงจร ธปท. จะออกแนวนโยบายการแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนอย่างยั่งยืน อาทิเช่น หลักเกณฑ์การให้สินเชื่ออย่างมีความรับผิดชอบ (responsible lending) ซึ่งครอบคลุมการปล่อยหนี้ใหม่ที่มีคุณภาพ และการให้ข้อมูลที่ลูกหนี้ควรรู้อย่างถูกจังหวะเพื่อกระตุกพฤติกรรมให้เกิดวินัยทางการเงิน รวมถึงการมีโครงสร้างพื้นฐานที่เอื้อต่อการแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนอย่างยั่งยืน เพื่อเป็นแนวทางในการขับเคลื่อนและประสานการทำงานของทุกภาคส่วนในเรื่องนี้ต่อไป

“ ธปท.อยู่ระหว่างดำเนินการเพื่อออกกฎหมายในการกำกับธุรกิจเช่าซื้อ เน้นคุ้มครองผู้บริโภค และเพื่อขยายความช่วยเหลือให้ลูกหนี้เช่าซื้อลิสซิ่งได้รับความคุ้มครองทางการเงินมากขึ้นโดยจะออกหลักเกณฑ์การปล่อยสินเชื่อใหม่ กำหนดวัตถุประสงค์ของการให้วงเงินโดยจะนำผลเฮียริ่งเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรีต่อไป”