ธปท.เผยเศรษฐกิจเดือนมี.ค.65 ชะลอลงเล็กน้อย -อุปสงค์ต่างประเทศเพิ่มขึ้น

29 เม.ย. 2565 | 09:17 น.

ธปท.เผยเศรษฐกิจเดือนมี.ค.65ชะลอลงเล็กน้อย ขณะที่อุปสงค์ต่างประเทศยังเพิ่มขึ้น –เดือนเม.ย.ยังมีแรงกดดันจากค่าครองชีพสูง จับตา “ เงินเฟ้อ-การระบาดของโควิด-การปิดเมืองสำคัญในจีน”ย้ำพร้อมดูแลค่าเงินบาท -แนะนำภาคเอกชนให้ความสำคัญป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน

ธปท.เผยเศรษฐกิจเดือนมี.ค.65ชะลอลงเล็กน้อยตามการใช้จ่ายในประเทศ ขณะที่อุปสงค์ต่างประเทศยังเพิ่มขึ้น –เดือนเม.ย.แนวโน้มกิจกรรมทางเศรษฐกิจดีขึ้น แต่ยังมีแรงกดดันจากค่าครองชีพสูง  จับตา “ เงินเฟ้อ-การระบาดของโควิด-การปิดเมืองสำคัญในจีน”ย้ำพร้อมดูแลค่าเงินบาทหากความผันผวนไม่ปกติ  -แนะนำภาคเอกชนให้ความสำคัญป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน

ธปท.เผยเศรษฐกิจเดือนมี.ค.65 ชะลอลงเล็กน้อย -อุปสงค์ต่างประเทศเพิ่มขึ้น

นายสักกะภพ พันธ์ยานุกูล ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจมหภาค  ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) กล่าวว่าเศรษฐกิจและการเงินเดือนมีนาคม และไตรมาสที่ 1 ปี 2565 โดยระบุว่า เศรษฐกิจไทยในเดือนมีนาคม 2565 ชะลอลงเล็กน้อย ตามการใช้จ่ายในประเทศของภาคเอกชนที่ปรับลดลงทั้งการบริโภคและการลงทุนสอดคล้องกับการผลิตภาคอุตสาหกรรม จากการระบาดของ COVID-19 สายพันธุ์ Omicron และต้นทุนการผลิตและค่าครองชีพที่สูงขึ้น

ธปท.เผยเศรษฐกิจเดือนมี.ค.65 ชะลอลงเล็กน้อย -อุปสงค์ต่างประเทศเพิ่มขึ้น

ขณะเดียวกันการใช้จ่ายภาครัฐที่ไม่รวมเงินโอนหดตัวเล็กน้อย-0.6%จากทั้งรายจ่ายประจำและรายจ่ายลงทุนของรัฐบาลกลาง -1.6% รายจ่ายลงทุนของรัฐวิสาหกิจปรับเพิ่มเป็น 75.9% มูลค่าการส่งออกสินค้าปรับเพิ่มขึ้นตามอุปสงค์ประเทศคู่ค้า ขณะที่จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง หลังมีการผ่อนคลายมาตรการจำกัดการเดินทางระหว่างประเทศ

 

 “ เครื่องชี้เศรษฐกิจเดือนมี.ค.เกือบทุกตัวมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น ยกเว้นการบริโภคภาคเอกชน การลงทุนภาคเอกชนและการผลิตภาคอุตสาหกรรม-ที่ปรับลดลงจากเดือนก.พ.  โดยยังมีจุดบวกที่มาจากการส่งออก(ไม่รวมทองคำ) ปรับตัวเพิ่มขึ้น ประกอบกับจำนวนนักท่องเที่ยวที่ปรับเพิ่ม โดยมีนักท่องเที่ยวเข้ามา 2.1แสนคน หลังมีมาตรการผ่อนคลายหลังมีการผ่อนคลายมาตรการจำกัดการเดินทางระหว่างประเทศ แต่ผลจากสถานการณ์ยูเครนทำให้นักท่องเที่ยวจากรัสเซียและยุโรปตะวันออกปรับลด”

ธปท.เผยเศรษฐกิจเดือนมี.ค.65 ชะลอลงเล็กน้อย -อุปสงค์ต่างประเทศเพิ่มขึ้น

ด้านความเชื่อมั่นในกลุ่มอาชีพอิสระมีความรู้สึกเชิงบวก แต่จำนวนผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมยังต่ำกว่าช่วงก่อนโควิดแม้จะทยอยดีขึ้นสะท้อนตลาดแรงงานโดยรวมที่ยังเปราะบาง

ธปท.เผยเศรษฐกิจเดือนมี.ค.65 ชะลอลงเล็กน้อย -อุปสงค์ต่างประเทศเพิ่มขึ้น

อย่างไรก็ตาม ดุลบัญชีเดินสะพัดกลับมาเกินดุล 1.2พันล้านดอลลาร์จากดุลการค้าที่เกินดุลมากขึ้น5.2พันล้านซึ่งมาจากการส่งออกทองคำ  ดุลบริการ รายได้และเงินโอนติดลบ 3.9พันล้านดอลลาร์

สำหรับอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทต่อดอลลาร์อ่อนค่าลงในเดือนมี.ค-เม.ย.จากสถานการณ์ความขัดแย้งรัสเซียที่รุนแรงขึ้นและการดำเนินนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐอเมริกา(เฟด) ซึ่งมีแนวโน้มเข้มงวดเร็วและแรงกว่าที่ตลาดคาด โดยยืนยันการอ่อนค่า 2.5%ของเงินบาทเป็นระดับกลางๆ  ธปท.จับตาและติดตามดูแลความผันผวนของเงินบาทอย่างต่อเนื่องและมีเครื่องมือพร้อมดูแลหากความผันผวนไม่ปกติ  ขณะเดียวกันแนะนำภาคเอกชนระมัดระวังเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนและให้ความสำคัญการป้องกันความเสี่ยง(Hedging)

ขณะที่อัตราเงินเฟ้อเดือนมี.ค.อยู่ที่ 5.73%เร่งตัวขึ้นโดยมาจาก 1.หมวดพลังงาน การเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันขายปลีก และ 2.เงินเฟ้อพื้นฐานปรับเพิ่มเป็น 2.0%ตามราคาอาหารสำเร็จรูป

ธปท.เผยเศรษฐกิจเดือนมี.ค.65 ชะลอลงเล็กน้อย -อุปสงค์ต่างประเทศเพิ่มขึ้น

นายสักกะภพ พันธ์ยานุกูลกล่าวว่า มองไปข้างหน้าเดือนเม.ย.กิจกรรมทางเศรษฐกิจมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นบ้างแต่ยังถูกกดดันจากภาวะค่าครองชีพที่สูงขึ้น ซึ่งจากการสอบถามผู้ประกอบการ พบว่า ธุรกิจบริการและการค้ามีแนวโน้มปรับดีขึ้นบ้างแต่ธุรกิจการผลิตยังต้องเผชิญปัญหาการขาดแคลนปัจจัยการผลิตและต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น ธุรกิจอสังหาทรงตัวจากราคาวัสดุก่อสร้าง

 

“เดือนมี.ค.2565 เศรษฐกิจชะลอลงเล็กน้อยตามการใช้จ่ายในประเทศที่ปรับลด ขณะที่อุปสงค์ต่างประเทศยังคงเพิ่มขึ้น อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเร่งขึ้นต่อเนื่องตามราคาพลังงานและราคาอาหารสำเร็จรูป ตลาดแรงงานโดยรวมยังเปราะบาง โดยไตรมาส1ปี2565เศรษฐกิจปรับดีขึ้นจากไตรมาสก่อน ตามมูลค่าการส่งออกและจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ปรับเพิ่มขึ้น  นอกจากนี้เครื่องชี้การบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนยังคงเพิ่มขึ้นแม้การบริโภคจะชะลอลงจากการระบาดของโอมิครอนและค่าครองชีพที่สูงขึ้น”

 

ส่วนแนวโน้มเดือนเมษายน2565 กิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นบ้าง ตามการทยอยผ่อนคลายมาตรการควบคุมการระบาด แต่ยังได้รับแรงกดดันจากภาวะค่าครองชีพสูง โดยต้องติดตามสถานการณ์ 1.การเพิ่มขึ้นของต้นทุนการผลิตและราคาสินค้าและบริการ  2.การแพร่ระบาดของโควิด-19ในประเทศและ3.มาตรการปิดเมืองสำคัญในจีนซึ่งเป็นคู่ค้าสำคัญของไทย