“C asean Forum 2023” แผนเชื่อมโยงภูมิภาคอาเซียน ยุทธศาสตร์เพื่อการเปลี่ยนแปลง

26 พ.ค. 2566 | 10:28 น.

ผู้นำให้ความสำคัญ “กลยุทธ์เพื่อการเปลี่ยนแปลง” เพื่อการพัฒนาความเชื่อมโยงถึงกัน ในภูมิภาคอาเซียนในงาน C asean Forum 2023

งาน C asean Forum 2023 จัดขึ้นที่กรุงเทพฯ ในวันที่ 17 พฤษภาคม 2566 ภายใต้หัวข้อ "Master Plan on ASEAN Connectivity: Strategy for Change" ซึ่งให้ความสำคัญกับกลยุทธ์การพัฒนาเศรษฐกิจในระดับภูมิภาค งานดังกล่าวจัดขึ้นเพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับความเชื่อมโยงระหว่างกันในอาเซียน ขยายโอกาสสำหรับการค้า การลงทุน และการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในภูมิภาค โดยมีตัวแทนองค์กรจากทั่วโลกมาร่วมงานด้วยตนเองหรือร่วมงานผ่านช่องทางออนไลน์

งานดังกล่าวได้รับแรงบันดาลใจจากแผนแม่บทว่าด้วยความเชื่อมโยงระหว่างกันในอาเซียน หรือ MPAC 2025 และได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิจากอาเซียนที่ได้มาแลกเปลี่ยนความรู้และวิธีปฏิบัติในหลายหัวข้อ ได้แก่ หัวข้อ "Accelerating ASEAN Connectivity with the New Deep Seaport and New Airport of Cambodia" โดย H.E. Mr. Hun Saroeun เอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มแห่งราชอาณาจักรกัมพูชาประจำราชอาณาจักรไทย หัวข้อ "Connecting ASEAN with Digital Logistics & Supply Chain Solutions" โดย คุณรุ่งโรจน์ รังสิโยภาส กรรมการผู้จัดการใหญ่ เอสซีจี หัวข้อ "ASEAN Connectivity for Harmonisation and Efficient Resource Utilisation" โดยคุณ Tony Fernandes ผู้ร่วมก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มแอร์เอเชีย หัวข้อ "Master Plan on ASEAN Connectivity (MPAC): Transforming ASEAN into a highly integrated and cohesive economy" โดยคุณ Lim Chze Cheen, Director of ASEAN Connectivity Division สำนักงานเลขาธิการอาเซียน และหัวข้อ "Vietnam's Contribution to Sustaining ASEAN Connectivity" โดย H.E. Mr. Pham Quang Vinh ประธาน Vietnam-USA Society อดีตเอกอัครราชทูตแห่งเวียดนามประจำประเทศสหรัฐอเมริกา และ อดีตผู้นำการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสของรัฐมนตรีอาเซียน ประเทศเวียดนาม

คุณฐาปน สิริวัฒนภักดี กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) และประธานศูนย์ ซี อาเซียน เน้นย้ำถึงความสำคัญของการสร้างความแข็งแกร่งให้กับความเชื่อมโยงระหว่างกันในอาเซียน เพื่อสร้างโอกาสทางการค้า การลงทุน และการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในภูมิภาค

“หัวข้อของงานในครั้งนี้ 'Master Plan on ASEAN Connectivity: Strategy for Change' เปิดโอกาสให้เราได้คำนึงถึงเป้าหมายในการบูรณาการร่วมกันในภูมิภาคอาเซียน การดำเนินการตามแผนแม่บทว่าด้วยความเชื่อมโยงระหว่างกันในอาเซียนอย่างมีประสิทธิภาพจะทำให้เราสามารถสร้างอาเซียนที่เชื่อมโยงกันมากขึ้น ผ่านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของการทำงานร่วมกัน และการปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล” คุณฐาปนกล่าว

นอกจากนี้ คุณฐาปนยังเน้นถึงความจำเป็นในการร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน รวมถึงความร่วมมือที่จะนำทรัพยากรและผู้เชี่ยวชาญจากทั่วโลกมารวมกัน

ในระหว่างการบรรยาย H.E. Mr. Hun Saroeun เอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มแห่งราชอาณาจักรกัมพูชาประจำราชอาณาจักรไทย ได้ยกตัวอย่างความพยายามของกัมพูชาในการเสริมสร้างความเชื่อมโยงระหว่างกันในอาเซียน ผ่านการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานในโครงการใหม่ ๆ และโครงการที่กำลังดำเนินการ อาทิ โครงการทางด่วนพนมเปญ-สีหนุวิลล์ ท่าเรือน้ำลึกในกัมโพช ท่าเรือดาราสาคร ท่าอากาศยานนานาชาติเสียมราฐ ท่าอากาศยานนานาชาติพนมเปญ ท่าอากาศยานท่องเที่ยวเชิงนิเวศบนเกาะรง โครงการต่าง ๆ ของกัมพูชาจะช่วยเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน และช่วยยกระดับความร่วมไม้ร่วมมือทางเศรษฐกิจของประเทศสมาชิก

คุณรุ่งโรจน์ รังสิโยภาส กรรมการผู้จัดการใหญ่ เอสซีจี กล่าวถึงความมุ่งมั่นของบริษัทในการบูรณาการร่วมกันและสร้างความเจริญเติบโตภายในภูมิภาค โดยกล่าวถึงการสร้างความเชื่อมโยงระหว่างกันในอาเซียนด้วยเทคโนโลยีสำหรับโลจิสติกส์แบบดิจิทัลและห่วงโซ่อุปทาน คุณรุ่งโรจน์ได้ชี้ให้เห็นถึงปัจจัยหลักที่จะขับเคลื่อนความเติบโตอย่างยั่งยืนในระดับภูมิภาค โดยย้ำถึงความสำคัญของห่วงโซ่อุปทานที่ไร้รอยต่อ ยั่งยืน และมีความยืดหยุ่น ซึ่งรวมถึงการเชื่อมโยงระบบแบบ end-to-end ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล แนวทางการทำงานที่ใช้ข้อมูลเป็นตัวนำ พลังงานหมุนเวียน และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ โดยแนวทางแบบองค์รวมนี้จะทำสามารถกระจายสินค้าจากภาคการผลิตไปสู่ผู้บริโภคได้อย่างมีประสิทธิภาพ

โดยคุณรุ่งโรจน์ได้เน้นถึงปัจจัยความสำเร็จที่มีรากฐานอยู่ที่การบริหารจัดการการขนส่ง เทคโนโลยีที่ช่วยในดำเนินงาน และนวัตกรรมดิจิทัลที่ใช้ในการเชื่อมโยงระบบแบบ end-to-end จากการสั่งสินค้าไปจนถึงการชำระเงิน สำหรับการสร้างความเชื่อมโยงในระดับนานาชาติและการบูรณาการห่วงโซ่อุปทานแบบองค์รวม คุณรุ่งโรจน์กล่าวถึงหัวข้อที่กำลังได้รับความสนใจ ได้แก่ เรื่องของความยั่งยืน ความเป็นกลางทางคาร์บอน และความท้าทายที่มาพร้อมกับเหตุการณ์ไม่คาดคิดหรือความไม่แน่นอน สิ่งเหล่านี้กระตุ้นให้เกิดการพัฒนาแนวทางการแก้ปัญหาที่ยั่งยืน เพื่อสร้างอาเซียนที่เชื่อมโยงกันได้ดียิ่งขึ้น

คุณ Tony Fernandes ผู้ร่วมก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มแอร์เอเชีย แบ่งปันมุมมองเรื่องการรวมตัวกันเป็นหนึ่งเดียวของอาเซียนว่าควรมีการก่อตั้งหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านการดูแลการบินเพียงหนึ่งเดียว เพื่อให้สายการบินต่าง ๆ เปิดให้บริการการบินระหว่างประเทศและทำงานได้อย่างไร้รอยต่อ คุณโทนี่ยังได้สนับสนุนให้มีการเคลื่อนย้ายแรงงานอย่างเสรี เพื่อทำแรงงานในภูมิภาคอาเซียนมีความยืดหยุ่น อันจะส่งผลให้เกิดการเจริญเติบโตในระดับภูมิภาครวดเร็วขึ้น

คุณ Lim Chze Ceen, Director of the ASEAN Connectivity Division, Office of Secretary-General at the ASEAN Secretariat ได้เล่าถึงภาพรวมของแผนแม่บทว่าด้วยความเชื่อมโยงระหว่างกันในอาเซียน หรือ MPAC 2025 และความสำเร็จที่ผ่านมา โดยให้ความสำคัญกับโครงการและกิจกรรมต่าง ๆ ภายใต้แผนแม่บทที่จะนำมาซึ่งความยืดหยุ่น การฟื้นฟูและการเติบโตในอนาคต 

ขณะที่ H.E. Mr. Pham Quang Vinh อดีตเอกอัครราชทูตเวียดนามประจำสหรัฐอเมริกา และ President of Vietnam-USA Society ได้ร่วมบรรยายผ่านทางออนไลน์ถึงความสำคัญของความเชื่อมโยงระหว่างกันในอาเซียนแบบครอบคลุม จากมุมมองของเวียดนามในฐานะพันธมิตรทางกลยุทธ์ นอกจากนี้ยังได้เน้นถึงประโยชน์ของการร่วมมือกันขององค์กรต่าง ๆ แบบไร้รอยต่อ ทั้งระหว่างประเทศสมาชิกและการพูดคุยแบบข้ามประเทศโดยมีจุดร่วมเดียวกัน

ด้วยการให้ความสำคัญกับกลยุทธ์เศรษฐกิจในระดับภูมิภาค และการสนับสนุนการสร้างความเชื่อมโยง ผู้นำที่ได้ร่วมบรรยายในงาน C asean Forum 2023 ได้แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นที่จะส่งเสริมการค้า การลงทุนและการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในอาเซียน

ตลอด 8 ที่ผ่านมา งานสัมมนา C asean Forum ได้เสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับการเชื่อมโยงด้านต่าง ๆ ทำให้อาเซียนเป็นภูมิภาคที่มีความยืดหยุ่นและมั่งคั่ง โดยงาน CaF 2023 ครั้งแรกนี้ ไม่เพียงแต่เน้นย้ำถึงความสำคัญของ MPAC 2025 ในการส่งเสริมความเชื่อมโยงและการบูรณาการทางเศรษฐกิจภายในภูมิภาค แต่ยังพิสูจน์ถึงความมุ่งมั่นของศูนย์ ซี อาเซียนในการร่วมส่งเสริมการพัฒนาในระดับภูมิภาค ผ่านการดำเนินการตามแผนแม่บทดังกล่าวอย่างมีประสิทธิภาพ

งาน C asean Forum 2023 จัดขึ้นโดยความร่วมมือขององค์กรชั้นนำ ได้แก่ สํานักงานเลขาธิการอาเซียน บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) กลุ่มปูนซิเมนต์ไทย และเวียดเจ็ท