รัฐปูพรมแก้ความยากจน อัดฉีดงบกว่า3.5หมื่นล้าน

17 ม.ค. 2561 | 04:07 น.

Thansettakij เว็บไซต์ข่าวฐานเศรษฐกิจ ผนวกไลฟ์สไตล์ Start up SMEs อสังหาริมทรัพย์ การเงิน การลงทุน การตลาด เศรษฐกิจ เทคโนโลยี Breaking News อัพเดตข่าวล่าสุดที่นี่

รัฐบาลเปิดตัวมาตรการเพื่อแก้ปัญหาความยากจน ออกมาต่อเนื่อง ถึงวันนี้เดินเข้าสู่มาตรการพัฒนาคุณ ภาพชีวิตฯ ระยะที่ 2 ซึ่งครอบ คลุมผู้ลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ ปี 2560 กว่า 4.7 ล้าน คน โดยเมื่อวันที่ 9 มกราคม ที่ผ่านมา คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบมาตรการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ โดยบูรณาการโครงการจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กระทรวงมหาดไทย แรงงาน เกษตรและสหกรณ์ และพาณิชย์ เป็นต้น

มุ่งสร้างโอกาสในการพัฒนาทั้ง 4 มิติ คือ การมีงานทำ การฝึกอบรมและการศึกษา การเข้าถึงแหล่งเงินทุนในระบบ และการเข้าถึงสิ่งจำเป็นพื้นฐาน รวมทั้งสิ้น 34 โครงการ อาทิ โครงการเพิ่มทักษะอาชีพแก่เกษตรกรผู้ลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ กลุ่มเป้าหมายเป็นเกษตรกรผู้มีบัตร ประมาณ 322,005 คน โครงการจ้างแรงงานชลประทานสร้างรายได้แก่เกษตรกร จ้างแรงงานภาคการเกษตร ก่อ สร้างและบำรุงรักษางานด้านชลประทาน เช่น งานก่อสร้างแหล่งนํ้าและระบบส่งนํ้า งานซ่อม แซมโครงการชลประทาน เป็นต้น กลุ่มเป้าหมายคือ เกษตรกร ผู้ถือบัตรประมาณ 7,502 คน

โครงการเพิ่มศักยภาพผู้มี รายได้น้อยที่ลงทะเบียนสวัสดิการแห่งรัฐเพื่อสร้างงาน สร้างอาชีพ เพิ่มรายได้และความมั่นคงในชีวิต ครอบคลุมผู้ถือบัตรสวัสดิการฯ 1 ล้านคน โครงการสินเชื่อชุมชนปรับเปลี่ยนการผลิตเพื่อพัฒนาอาชีพของผู้มีรายได้น้อย พุ่งเป้าไปที่กลุ่มเกษตรกร สหกรณ์การเกษตร วิสาหกิจชุมชน และผู้ประกอบการเกษตร จำนวน 5,000 กลุ่ม โครงการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของผู้มีรายได้น้อยในระบบ ธ.ก.ส. มุ่งไปที่กลุ่มเกษตรกรผู้มีบัตรสวัสดิการฯ จำนวน 535,137 คน และโครงการสนับสนุนสินเชื่อรายย่อยเพื่อใช้จ่ายฉุกเฉินระยะที่ 2 ของ ธ.ก.ส. กลุ่มเกษตรกรผู้มีบัตรสวัสดิการฯจำนวน 1 แสนคน

ทั้งยังเห็นชอบมาตรการทางภาษีเพื่อสนับสนุนการพัฒนาผู้มีบัตร สำหรับบริษัทเอกชนที่จัดการฝึกทักษะฝีมือให้แก่ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐหรือพิจารณาจ้างงานเป็นกรณีพิเศษให้หักรายจ่ายได้ 1.5 เท่าของรายจ่ายในส่วนที่ไม่เกิน 12% ของจำนวนลูกจ้างในบริษัท สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2561-31 ธันวาคม 2562 ซึ่งรัฐบาลคาดหวังว่า เมื่อมีเอกชนเข้าร่วมช่วยเหลือน่าจะครอบคลุมผู้ที่ลงทะเบียนทั้งหมด 4.7 ล้านคนดังกล่าว

++เพิ่มวงเงินบัตร100-200 บาท
ในการประชุมวันนั้น ครม.ได้อนุมัติจัดสรรงบประมาณไว้รองรับค่าใช้จ่ายวงเงินรวมกว่า 3.5 หมื่นล้านบาท แบ่งเป็น งบในการบริหารจัดการของคณะกรรมการและคณะทำงานที่แต่งตั้งขึ้น วงเงินไม่เกิน 2.99 พัน ล้านบาท งบสำหรับโครงการเพื่อรองรับมาตรการพัฒนาคุณภาพชีวิต วงเงินไม่เกิน 6.77 พันล้านบาท และงบสำหรับธนาคารออมสินและธ.ก.ส. เพื่อใช้ในการดำเนินงาน วงเงินไม่เกิน 1.2 หมื่นล้านบาท

อีกส่วนเป็นงบที่จัดสรรเพิ่มเติมให้กับผู้มีบัตร สำหรับซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็น สินค้าเพื่อการศึกษาและวัตถุดิบเพื่อเกษตรกรรมจากร้านธงฟ้าประชารัฐ และร้านอื่นๆ ที่กระทรวงพาณิชย์กำหนด โดยจะเริ่มได้รับเงินเดือนถัดไปหลังจากแสดงความประสงค์จะพัฒนาตนเองในแบบประเมินและเมนูการพัฒนารายบุคคลจนถึงเดือนธันวาคม 2561 โดยผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐที่มีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาทในปี 2559 ได้รับวงเงินเพิ่มจาก 200 บาท เป็น 300 บาท/คน/เดือน และผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐที่มีรายได้สูงกว่า 30,000 บาทในปี 2559 ได้รับวงเงินเพิ่มจาก 300 บาท เป็น 500 บาท/คน/เดือน วงเงินไม่เกิน 1.38 หมื่นล้านบาท โดยผู้มีบัตรต้องเข้าร่วมโครงการตามข้อกำหนดไม่เช่นนั้นจะหักเงินคืน

TP14-3331-2A ++นายกฯนั่งหัวโต๊ะ “คนส.”
ได้มีมติแต่งตั้ง “คณะกรรมการนโยบายการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ” (คนส.) ซึ่งมีนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ทำหน้าที่กำหนดนโยบายการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ พร้อมตั้ง “คณะอนุกรรมการติด ตามการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ” (คอต.) ปลัดกระทรวงการคลัง เป็นประธาน เพื่อติดตามความคืบหน้าและผลดำเนินการพัฒนาคุณภาพชีวิตรายบุคคล

ทั้งยังตั้ง “คณะอนุกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐประจำจังหวัด” (คอจ.) ขึ้นอีก 77 ชุด ทำหน้าที่แต่งตั้ง กำกับดูแล กำหนดแนวทางการปฏิบัติงาน และการลงพื้นที่ของคณะทำงานพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐประจำอำเภอ หรือทีม ปรจ. ทั้งหมด 878 ชุด รวมถึงมอบหมาย ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการพัฒนาคุณภาพชีวิตรายบุคคลและติด ตามผลการดำเนินงานของหน่วยงานที่ได้รับมอบหมาย แล้วรายงานความคืบหน้าและผลการพัฒนาคุณภาพชีวิตรายบุคคลให้ คอต.ทราบ

สำหรับทีม ปรจ.ส่วนใหญ่ เป็นเจ้าหน้าที่ของ ธ.ก.ส. และธนาคารออมสินในพื้นที่ซึ่งเป็นผู้ดูแลใกล้ชิดผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ (Account Officer: AO) ทำหน้าที่ให้คำแนะนำแก่ผู้มีบัตรตามความจำเป็นของแต่ละบุคคล โดยการสัมภาษณ์เป็นรายบุคคลเพื่อวิเคราะห์สภาพปัญหา สอบ ถามความต้องการ เช่น การทำ งานและการฝึกอบรม เป็นต้น โดยการสัมภาษณ์ของ AO จะมีเจ้าหน้าที่ของ ธ.ก.ส. หรือธนาคารออมสินอย่างน้อย 1 คน ร่วมสัมภาษณ์ด้วย ขณะที่ AO 1 คนจะรับผิดชอบดูแลผู้มีบัตรสวัสดิ การฯอย่างน้อย 30 คน

ขั้นตอนหลังจากนี้กระทรวงการคลังจะส่งข้อมูลให้กับทางจังหวัด จากนั้นจะมีคณะทำงานพัฒนาคุณภาพชีวิตฯประจำอำเภอ หรือ ทีม ปรจ. ซึ่งประกอบด้วย คณะทำงานระดับอำเภอและผู้ดูแลผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ (AO) ลงไปให้คำแนะนำแก่ผู้มีบัตรสวัสดิการฯทุกหมู่บ้าน ซึ่งจะเริ่มลงพื้นที่ในเดือนกุมภาพันธ์นี้

[caption id="attachment_249647" align="aligncenter" width="503"] ดร.เดชรัต สุขกำเนิด ดร.เดชรัต สุขกำเนิด[/caption]

++แนะจัดกลุ่มปัญหา-ความต้องการ
ดร.เดชรัต สุขกำเนิด หัวหน้าภาควิชาเศรษฐศาสตร์เกษตรและทรัพยากร คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สะท้อนความเห็นต่อเรื่องนี้กับ “ฐานเศรษฐกิจ” ไว้โดยตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับมาตรการของรัฐครั้งนี้ว่า รัฐบาลพยายามอัดฉีดเงินเพิ่มขึ้นให้กับกลุ่มที่มีรายได้น้อย โดยเฉพาะกลุ่มที่มีรายได้ตํ่ากว่า 30,000 บาทต่อปี ซึ่งจะมีความหมายมากขึ้น เพราะมีความจำเป็นในการดำรงชีพของคนกลุ่มนี้ แต่คำถามสำคัญ คือ แล้วจะมีความยั่งยืนมากน้อยเพียงใด

ผมกังวลเกี่ยวกับทีมซึ่งถือเป็น “หัวใจ” ที่จะลงไปในพื้นที่มากกว่า ทั้งนี้ ก็ยังไม่เห็นโครงสร้างและองค์ประกอบ แนวทางเบื้องต้นของรัฐ คือ ลงไปวิเคราะห์ ไปจับปัญหาเป็นรายตัว รายบุคคล ไปจับด้านล่างแต่ละคน ซึ่งมีทั้งเงื่อนไข เหตุ และปัจจัยที่ทำให้การแก้ไขปัญหาอาจจะไม่ง่ายนักที่จะพาให้หลุดพ้นจาก “กับดัก” ความยากจนได้ เนื่องจากมีความหลากหลายในเรื่องของปัญหา เช่น บางคนขาดพื้นที่ทำกิน ขาดโอกาส บางคนขาดเงินลงทุน และขาดการศึกษา ฯลฯ เรื่องเหล่านี้อาจจะไม่สามารถแก้ไขได้ในระยะเวลาเร่งด่วน 2-3 ปี บางเรื่องอาจติดขัด การประสานจากด้านล่าง กับการแก้ไขกฎหมายที่ต้องสอดคล้องต้องกันดีเพียงใดด้วย เช่น รัฐส่งเสริมให้ปลูกพืชชนิดหนึ่งในขณะที่ราคาของพืชประเภทนั้นตกตํ่า หรือกรณีไม่มีที่ดินทำกินแต่กฎหมายปฏิรูปที่ดินก็ยังมีปัญหา

728x90-03 ลงไปปลดล็อกด้านล่าง แต่รัฐบาลไม่ได้ปลดล็อกจากด้านบนเลย สุดท้ายบางเรื่องก็ไม่สามารถแก้ไขได้ ครั้งนี้ลงไปทำทีละคน ทำให้ปัญหากระจัดกระจายไปแต่ละจังหวัด แต่ละอำเภอ สุดท้ายหากมีสัก 11 ล้านคนก็ 11 ล้านเคส จึงยากที่จะแก้ไขปัญหาได้

หากวิเคราะห์ในเชิงภูมิศาสตร์ค่อนข้างเป็นห่วง เนื่องจากแต่ละคำตอบจะซํ้ากัน แต่ถ้าวิเคราะห์ภาวะเศรษฐกิจและสังคม จัดกรุ๊ปหรือจำแนกเป็นกลุ่มๆ อาทิ ประเภทของปัญหา ประเภทของอาชีพ หรือความต้องการ น่าจะดีกว่า อาทิ อาชีพหาบเร่แผงลอย เราจะไปเพิ่มหรือเสริมรายได้ให้ได้อย่างไร ขาดทักษะ ขาดมาตรฐานตรงไหน เป็นต้น

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 38 ฉบับที่ 3,331 วันที่ 14 - 17 มกราคม พ.ศ. 2561
ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว-9