จาก “แหลมเกตุ” ถึง “ดารุมะซูชิ” ถอดบทเรียน "คูปองบุฟเฟ่ต์ทิพย์"

23 มิ.ย. 2565 | 07:00 น.

ถอดบทเรียน "คูปองบุฟเฟ่ต์ทิพย์" จาก “แหลมเกตุซีฟู๊ด” หลอกขายคูปองเเล้วเทลูกค้า เจอคุก 1,446 ปี ถึง “ดารุมะซูชิ” ที่มีพฤติกรรมการขาคูปองบุฟเฟ่ต์ทิพย์ 199 บาท

“ดารุมะซูชิ" (Daruma Sushi) ร้านบุฟเฟต์แซลมอนชื่อดัง เปิดจำหน่ายวอชเชอร์ (Voucher) 199 บาท มีเงื่อนไขต้องซื้อ 5 ใบขึ้นไป แต่กลายเป็น “คูปองทิพย์” ปิดหน้าร้านทุกสาขาแบบไม่มีกำหนด ไม่มีคำชี้แจง โดยวานนี้ (22 มิ.ย.2565) ตำรวจควบคุมตัว "เจ้าของดารุมะ" นายเมธา ชลิงสุข หรือ บอลนี่ และส่งตัวฝากขังวันนี้ ในข้อหาฉ้อโกงประชาชนและพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์

วินาทีตำรวจเข้าควบคุมตัว "เจ้าของดารุมะ" นายเมธา ชลิงสุข หรือ บอลนี่

 

ประเด็นที่เกิดขึ้นสร้างความเสียหายให้กับประชาชนจำนวนมาก อีกทั้งมูลค่าความเสียหายค่อนข้างสูง ทำให้ย้อนไปถึงดคี “แหลมเกต” ร้านซีฟู้ดชื่อดังจากจังหวักชลบุรีมีชื่อเสียงยาวนานกว่า 30 ปี เมื่อปี 2562 แหลมเกต เปิดขาย Voucher ในราคาหลักร้อยจากราคาปกติ 888 บาท แต่เมื่อนำบัตรไปใช้ บางเมนูอาจต้องจ่ายเพิ่ม ต้องจองคิวโต๊ะล่วงหน้านานนับเดือน ทำให้คูปองหมดอายุ

ควบคุมตัว "เจ้าของดารุมะ" นายเมธา ชลิงสุข หรือ บอลนี่

วันที่ 22 มีนาคม 2562 ร้านประกาศยกเลิก งดให้บริการทุกโปรโมชั่น ให้ลูกค้าที่ซื้อบัตรนำมาขอเงินคืน เพราะได้รับการตอบรับอย่างล้นหลาม  จนทำให้วัตถุดิบจากแหล่งผลิตไม่เพียงพอ ต่อมาไม่นานร้านขออนุญาตปิดกิจการชั่วคราว เนื่องจากลูกค้าน้อยลง เรื่องการ Refund Voucher เเละจะดำเนินการตรวจสอบประสานงานในขั้นตอนปกติ

 

กระแสข่าวหนาหูว่าร้านปิดถาวรทุกสาขา และขนของออกไปจนหมด ลูกค้าจึงรวมตัวเข้าแจ้งความ ตำรวจพบว่าแหลมเกตมีพฤติการณ์ว่าจ้างคอลเซ็นเตอร์ ให้โฆษณาขายคูปอง มีผู้ซื้อกว่า 22,067 ราย กว่า 3 แสนที่นั่ง รวมคนที่ยังไม่แจ้งความอีก 50 ล้านบาท นอกจากนี้เมื่อตรวจสอบเส้นทางการเงินพบว่ามีการนำเงินไปผ่อนรถยนต์ คอนโดมิเนียม และค่าบ้าน จนเหลือเพียง 90 บาท

 

เมื่อวันที่ 10 มิ.ย.63 ศาลอาญา พิพากษาให้ บริษัท แหลมเกตุ อินฟินิท จำกัด  นายอพิชาต บวรบัญชารักษ์ หรือโจม พารุณจุลกะ ,น.ส.ประภัสสร บวรบัญชา ผิดฐานร่วมกันก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในแหล่งกำเนิด คุณภาพ ปริมาณ ในสินค้าหรือบริการด้วยการโฆษณาข้อความอันเป็นเท็จ ตามพ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภคร่วมกันฉ้อโกงประชาชน ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341, 343

 

พรบ.คอมฯจำเลยทั้ง 3 ร่วมกันกระทำความผิดรวม 723 กระทงให้จำคุกจำเลยที่ 2,3 ทุกกระทง กระทงละ 2ปี รวมจำคุกคนละ 1,446 ปี ปรับรวม 3.6 ล้านบาท และบริษัทต้องชดใช้ด้วยการคืนเงินผู้เสียหายร่วม 2.5 ล้านบาท

 

“ดารุมะซูชิ” หลอกขายคูปองทิพย์ในราคา 199  นอกจากจะกระทบกับผู้บริโภคจำนวนมากยังส่งผลถึงผู้ลงทุนในธุรกิจแฟรนไชส์ร้านอาหารที่ร่วมเป็นหุ้นส่วนเปิดสาขาต่างๆ มากมาย ถึง 2.5 ล้านต่อสาขา ขณะที่ในส่วนของพนักงานร้านอาหารก็ได้รับข่าวร้าย โดนลอยแพ ตกงานกันระนาว

 

ทนายเกิดผล แก้วเกิด ระบุว่า เป็นไปไม่ได้ เจ้าของย่อมรู้อยู่แล้วว่ากิจการนั้น ไม่มีทางรอดแน่นอน เพราะการซื้อปลาแซลมอนมาในราคากิโลกรัมละ 380 - 850 บาทมาขาย (ไม่รวมอาหารอย่างอื่น) แต่มาขายเป็นคูปองใบละ 199 บาท ไม่ว่าจะอย่างไรก็มีแต่ขาดทุน  ทั้งยังเป็นหนี้ในส่วนแม่ค้าปลาอีก 30 ล้าน ย่อมรู้อยู่แล้วว่ากิจการนั้น ไม่มีทางรอดแน่นอน แต่ก็ยังนำคูปองมาขายเพื่อล่อลวงให้คนหลงเชื่อจำนวนมากมายว่ามีสินค้าในราคา 199 มาจำหน่าย

 

ลักษณะนี้จึงถือเป็นการหลอกลวง หรือ ปกปิดข้อความจริงที่ควรบอกให้แจ้ง การกระทำแบบนี้ เข้าข่ายฉ้อโกงประชาชนตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 341 , 343 และความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน เป็นมูลฐานหนึ่งของความผิดฐานฟอกเงินด้วย

 

 (มาตรา 341 ผู้ใดโดยทุจริต หลอกลวงผู้อื่นด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้ง และโดยการหลอกลวงดังว่านั้นได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สาม หรือทำให้ผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สาม ทำ ถอน หรือทำลายเอกสารสิทธิ ผู้นั้นกระทำความผิดฐานฉ้อโกง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

 

มาตรา 343 ถ้าการกระทำความผิดตามมาตรา 341 ได้กระทำด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จต่อประชาชน หรือด้วยการปกปิดความจริง ซึ่งควรบอกให้แจ้งแก่ประชาชน ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ)

 

อย่างไรก็ตาม แม้จะคดีแหลมเกตจะเคยสร้างแรงสั่นสะเทือนให้กับวงการอาหารแบบบุฟเฟ่ต์มาแล้วแต่ก็ยังเกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้นอีกหลังจากนี้เชื่อว่าก็น่าเป็นบทเรียนให้ทั้งผู้บริโภค นักลงทุน