รวมทุกช่องทางร้องทุกข์ "ดารุมะ ซูชิ" ผ่านระบบออนไลน์

20 มิ.ย. 2565 | 22:00 น.

ร้องทุกข์ "ดารุมะ ซูชิ" มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค มัดรวมช่องทางร้องทุกข์ผ่านระบบออนไลน์ด้วยตัวเอง พร้อมแนะขั้นตอนอย่างละเอียดหลังประชาชนตกเป็นเหยื่อได้รับความเสียหายจำนวนมาก

จากกรณี ดารุมะ ซูชิ ร้านอาหารญี่ปุ่นชื่อดังจัดโปรโมชันขาย Voucher ผ่านแอปพลิเคชัน ซึ่งมีลูกค้าซื้อ Voucher ล่วงหน้าไว้เป็นจำนวนมาก ต่อมาพบว่า ทั้งแฟนเพจและเว็บไซต์ของทางร้านได้หายไป ขณะที่หน้าร้านสาขาต่าง ๆก็ประกาศปิดให้บริการนั้น

 

ล่าสุด มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ออกมาเคลื่อนไหวพร้อมโพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กเพจ ให้ข้อมูลว่า ได้รวบรวมช่องทางต่าง ๆ สำหรับผู้เสียหายจาก ดารุมะ ซูชิ ในการเข้ากลุ่ม พร้อมช่องทางร้องเรียนผ่านระบบออนไลน์ซึ่งมีหลายวิธีด้วยกัน ดังต่อไปนี้ 

 

วิธีที่หนึ่ง 

  • ให้ศาลแพ่งช่วยทำคดีให้ ติดตามผลออนไลน์ได้ ปิดเพจแล้วก็แจ้งได้ใช้แค่ชื่อบัญชีที่โอนเงิน https://efiling3.coj.go.th/eFiling/

 

วิธีที่สอง

  • แจ้งความออนไลน์ คดีที่เกี่ยวกับฉ้อโกงออนไลน์ https://www.thaipoliceonline.com/ 

วิธีที่สาม

  • สคบ. https://complaint.ocpb.go.th/ คุณได้รับคำเชิญให้เข้าร่วม "ผู้เสียหาย Daruma Sushi ล่าสุด" และลงชื่อผู้เสียหาย Daruma Sushi ทั่วประเทศ จากการซื้อคูปองและร้านปิดกิจการ ได้ที่นี่

 

สำหรับการแจ้งความนั้น มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค แนะนำว่า เวลาไปแจ้งให้ระบุไปเลยว่า แจ้งความดำเนินคดีกับ บริษัท ดารุมะ ซูชิ จำกัด พร้อมปรินต์หลักฐานหน้าแอปฯไปด้วย โดยแจ้งไปเลยว่า มีการซื้อคูปองดารุมะ กับบริษัท ดารุมะ ซูชิ จำกัด แล้วไม่สามารถเข้าไปใช้บริการได้จริง ตามที่แจ้งเงื่อนไขไว้ และหน้าร้านมีการปิดตัวลงโดยไม่มีการแจ้งล่วงหน้า ทั้งที่มีผู้เสียหายจำนวนมากทำการจองไว้แล้ว แจ้งไปด้วยว่าต้องการอายัดบัญชีปลายทาง ต้องการแจ้งความดำเนินคดีเท่านั้น ไม่ลงบันทึกประจำวัน

 

สำหรับผู้ที่โอนผ่าน qr code หรือ บัญชีธนาคาร ก็ทำเช่นเดียวกัน ให้เอา qr code หรือเลขบัญชี ปรินต์เป็นหลักฐาน ไปขอธนาคารดูทรานแซ็กชันนั้น ๆ โอนไปที่บัญชีธนาคารอะไร เลขที่อะไร เพื่อแจ้งความ มาทำเรื่องอายัดบัญชีปลายทางต่อไป

สำหรับบัตรเครดิต ไม่ต้องโทรไปแคนเซิลแล้ว ให้แจ้งความแนบไปด้วย พร้อมหลักฐานทุกอย่างแล้วปรินต์เอกสารตามลิงก์ด้านล่าง (เลือกธนาคารที่ตัวเองใช้) แล้วกรอกข้อมูล พร้อมแนบใบแจ้งความที่เราแจ้งมาและหลักฐานไปที่ธนาคาร 

 

หนังสือร้องเรียนสำหรับผู้ถือบัตรเครดิตเพื่อปฏิเสธยอด

  • ธนาคารกรุงเทพ          คลิกรายละเอียดได้ ที่นี่ 
  • ธนาคารกสิกรไทย       คลิกรายละเอียดได้ ที่นี่
  • ธนาคาร ธนชาต          คลิกรายละเอียดได้ ที่นี่
  • ธนาคาร UOB             คลิกรายละเอียดได้ ที่นี่
  • ธนาคารไทยพาณิชย์   คลิกรายละเอียดได้ ที่นี่
  • ซิตี้แบงก์                    คลิกรายละเอียดได้ ที่นี่
  • เฟิร์สช้อยส์                 คลิกรายละเอียดได้ ที่นี่ 
  • บัตรเครดิตกรุงศรี         คลิกรายละเอียดได้ ที่นี่

 

ที่มา เฟซบุ๊ก มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค