คำต่อคำ 6 ข้อห่วงใย “สมคิด” แนะใช้กลไกนอกลู่ สู้ “ศึกนอก-ศึกใน”

15 พ.ค. 2565 | 12:12 น.

“สมคิด จาตุศรีพิทักษ์” ขึ้นเวทีปาฐกถาครั้งแรกในรอบ 2 ปี ระบุ 6 ข้อห่วงใยจากวิกฤติโควิด บวกกับสงครามยูครนรัสเซีย แนะเตรียมรับมือ ใช้กลไกนอกลู่แก้ไขปัญหา จี้ 4 สถาบันหลักการเงินประเทศแข็งข้อกับการเมือง

วันนี้ (15 พ.ค.65) นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ อดีตรองนายกรัฐมนตรี และประธานคณะกรรมการที่ปรึกษามูลนิธิสัมมาชีพ กล่าวปาฐกถาพิเศษ ในหัวข้อ “สัมมาชีพกับประเทศไทย หัวใจในการขับเคลื่อนประเทศ” ปิดหลักสูตรผู้นำ-นำการเปลี่ยนแปลง (LFC) รุ่นที่ 12 จัดโดยมูลนิธิสัมมาชีพ โดยใช้เวลานานกว่า 1 ชั่วโมง เนื่อหาตอนหนึ่งระบุว่า 

 

นี่เป็นครั้งแรกในรอบสองปีที่ผมมาบรรยาย ผมหยุดการบรรยายและการสอนไม่ว่าอะไรก็แล้วแต่ นับตั้งแต่พ้นภาระหน้าที่ เพราะคิดว่าออกจากหน้าที่ไปแล้วก็อยากให้พ้นไป ไม่อยากพูดอะไรกระทบกระทั่งคนที่เขาทำงานอยู่โดยไม่ตั้งใจ เราต้องให้กำลังใจคนที่เขาทำงาน

 

แต่ความตั้งใจของผมก็มาสะดุดลง มีคนมาติดต่อให้ผมมางานนี้ เพราะมีอาจารย์สมคิดคนเดียวที่ยังไม่มา และงานวันนี้เป็นงานพิเศษที่ทุกคนต้องการขอบคุณประธานสมพล จึงตัดสินใจที่จะมาในวันนี้ ไม่ได้ตั้งใจจะแสดงวิสัยทัศน์ แต่ต้องการมาเพื่อบอกเล่าสะท้อนความคิดเห็นของผมด้วยความบริสุทธิ์ใจ ความหวังดีต่อบ้านเมืองของเรา ซึ่ง 2 ปีเต็มที่ห่างไป แม้ว่าจะเป็นช่วงงเวลาที่ไม่ยาวนัก แต่มันก็มีหลายสิ่งที่ได้มีการเปลี่ยนแปลงโดยลำดับ 

คำต่อคำ 6 ข้อห่วงใย “สมคิด” แนะใช้กลไกนอกลู่ สู้ “ศึกนอก-ศึกใน”

2 ปีเต็มที่ห่างออกไป ไม่ยาวนักแต่หลายสิ่งเปลี่ยนไปทั้งภายนอกและภายใน เป็นพัฒนาการที่นำไปสู่สิ่งที่น่าห่วงใย ซึ่งผมคิดว่าพวกเราทุกคนควรจะตระหนักเอาไว้ และร่วมกันคิดว่าจะช่วยกันอย่างไรในอนาคตข้างหน้า ซึ่งผมอาจจะคิดแล้วไม่ถูกต้อง อาจจะการผิดพลาด แต่ก็ให้ถือว่ามีจิตใจบริสุทธิ์ที่หวังดีนะครับ จะขอหยิบยกบางประเด็นข้อห่วงใยมาให้ฟัง 

 

ประการแรก 

 

ผมมองว่าโลกที่เรากำลังเผชิญอยู่มันมีความเสี่ยงที่สูงขึ้นเรื่อยๆ และมีความไม่แน่นอนที่มากขึ้นเรื่อยๆ เมฆหมอกแห่งความไม่แน่นอนนั้นหนาขึ้นทุกวัน จนท่านจะจินตนาการอนาคตยากมาก เพื่อความไม่ประมาททุกคนต้องเตรียมตัว โดยเฉพาะผู้มีหน้าที่ความรับผิดชอบบ้านเมือง

 

ภาวะโควิดเราเคยคาดว่าถ้าเรามีวัคซีนที่ดี มีการบริหารจัดการที่ดี มีการฉัดวัคซีนในอัตราสูง ไม่น่านนักก็น่าจะยุติได้ แต่ปรากฏว่าถึงวันนี้จริงๆแล้วจะยุติได้อย่างสมบูรณ์ เราก็รู้ว่าภาวะโควิด กระทบหนักมาก การจ้างงาน ความเป็นอยู่ กระบวนการผลิต ฐานะการเงินการคลังของประเทศทุกประเทศตึงไปหมดเพราะต้องนำเงินมาดูแลประชาชน แต่มองไปข้างหน้ายังไม่มีวี่แววจะจบตรงไหน 

คำต่อคำ 6 ข้อห่วงใย “สมคิด” แนะใช้กลไกนอกลู่ สู้ “ศึกนอก-ศึกใน”

“เกือบทุกประเทศตัดสินใจไม่สามารถล็อกดาวน์ เราต้องอยู่กับมันแต่ต้องบริหารจัดการ ประเทศที่ประกาศว่าเราจะอยู่กับมัน เป็นโรคประจำถิ่นโดยไม่มีการบริหารจัดการแปลว่าตัวใครตัวมัน ใครอ่อนแอก็ติดแล้วก็ตาย ใครแข็งแรง ติดแล้วก็รอด สิ่งเหล่านี้ก็คือว่าต้องบริหารจัดการมันจริงๆได้ การตวจต้องเข้ม หน้ากาก การฉีดวัคซีนต้องทั่วถึง ใครหนักต้องมียา สถานพยาบาล เด็กที่ติดจากโรงเรียนแล้วมาติดที่บ้านต้องช่วยกันคิดว่าจะทำยังไง ไม่ใช่ให้แต่ละครัวอยู่เคร่งเครียด” 

 

ประเทศที่ฮึดสู้คือจีน เพราะเขามั่นใจในฐานะการเงินแข็งแรงพอ ระเบียบกฎเกณฑ์ก็สูงพอ แต่ถ้าคุมไม่ได้จะนำไปสู่ความวุ่นวายทางการเมืองทันที เขาจึงตัดสินใจสู้ แต่ประเทศอื่นยากมากๆ ซึ่งอนาคตข้างหน้า รวมทั้งไทยกำลังจะอยู่กับมัน หวังว่าการบริหารจัดการจะต้องเข้มข้น ตัวเลขประกาศต้องเชื่อถือได้ ในสิ่งเหล่านี้สำคัญมาก เพราะไม่รู้จะอยู่กับมันนานเท่าไร

 

ภาวะสงคราม รัสเซีย ยูเครน ถ้าใครติดตามประวัติศาสตร์ก็จะรู้ว่าไม่ใช่ยุติง่ายๆ เป็นสงครามที่แต่ละฝ่ายมีเป้าประสงค์ มีความตั้งใจของตนเอง ตราบใดที่เป้าประสงค์เหล่านั้นยังไม่บรรลุ ยากที่จะบอกมันจะจบเมื่อไร 

 

ภาวะสงครามบวกกับภาวะโควิด มันสร้างผลกระทบรุนแรงมาก เพราะใครก็ไม่รู้ว่าสงครามใหญ่จะเกิดขึ้นหรือไม่ เพราะยูเครนเป็นหมากการเมืองตัวแรกของภูมิรัฐศาสตร์ที่กำลังปรับตัว ต่างฝ่ายต่างหาสมัครพรรคพวก ยูเครนจึงเป็นแค่หมากเดียวเท่านั้นเอง ถ้าคุณดูทีวีจะเห็นข่าวสวีเดนขอเข้าร่วมนาโต แต่รัสเซียบอกว่าการเข้าร่วมจะเป็นการตัดสินใจที่ผิดพลาด แค่ไม่กี่ประโยคคุณก็จะรู้ว่าความไม่แน่นอนนั้นสูงมาก

 

ลักษณะเช่นนี้ ถ้าเราไม่สามารถจินตนาการมันได้ ผลกระทบในเชิงเศรษฐกิจ คุณเห็นแล้ว การเติบโตที่ชะลอตัวลงทั้งโลก ระดับราคา เงินเฟ้อทั้งโลกกำลังพุ่งทะยานอย่างน่ากลัว เรื่องราคาของอาหาร โภคภัณฑ์ พุ่งกระฉุด พลังงานแพงขึ้นอย่างไม่เคยปรากกฏ สองอย่างนี้ส่งผลกระทบมหาศาลทีเดียว ที่ไม่รู้จะจบเมื่อไร

 

ที่น่าเป็นห่วงมากๆคือผลกระทบทางสังคมและการเมือง เราได้ข่าวแล้วว่าอาเจนตินาเป็นอย่างไร และหลายประเทศมีความจราจลวุ่นวายเกิดขึ้น เมื่อไรที่ส่งกระทบทางเศรษฐกิจ เงินเฟ้อคนที่กระทบมากที่สุดคือคนที่ยากจน เมื่อเขาถูกกระทบ ถ้าดูแลไม่ทันก็จะมีการนำไปใช้ในทางการเมือง เราจะค่อยๆเห็นทีละประเทศการเมืองจะมีปัญหา

 

ผู้นำของบราซิลก็เริ่มมีประเด็นแล้ว นายกของศรีลังกาก็ลาออก ฟิลิปปินสก์ก็มีการเปลี่ยนแปลงแล้ว เรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่มากๆ ถ้าโควิดและสงครามยังไม่จบอย่าเพิ่งนับศพทหารและพลเรือน อย่าประมาทถ้าเราเป็นผู้ดูแลบ้านเมือง เราต้องคิดหนึ่งก้าวเสมอ เพราะนั่นคือหน้าที่ของเรา

คำต่อคำ 6 ข้อห่วงใย “สมคิด” แนะใช้กลไกนอกลู่ สู้ “ศึกนอก-ศึกใน”

ประการที่สอง

 

ข้อห่วงใยประการที่สองนั่นคือประเทศของเราเอง ผมคิดว่าในขณะนี้สิ่งที่ประเทศเรากำลังเผชิญอยู่เป็นสถานที่ไม่ปกติ และคุณคอนโทรลไม่ได้ 100% ดังนั้นมีความเสี่ยงสูง การบริหารจัดการต้องเข้มข้น และเอาใจใส่ ต้องคิดล่วงหน้ามากกว่าประชาชนธรรมดา โดยเฉพาะท่านที่กำกับหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เพราะเป็นหน้าที่

 

ลองนึกภาพดูก็แล้วกัน ตั้งแต่มีโควิดมาสองปี รัฐบาลมีความจำเป็นอย่างมากในการใช้จ่ายดูแลประชาชนและประคองเศรษฐกิจให้พออยู่ได้ ถ้าข้างหน้ามองไม่เห็นทางออกชัดเจน แปลว่าจากวันนี้เเป็นต้นไปเราต้องพยายายามดูว่าจะใช้ทรัพยากรที่มีใช้ประยชน์สูงสุดอย่างไร ทำอย่างไรให้เม็ดเงินทุกเม็ดฉุดประเทศไทยให้พ้นจากหลุมที่ดูดเราอยู่ ทำอย่างไรที่จะให้ธุรกิจนั้นลุกขึ้นมาเดินต่อไปได้ โดยเฉพาะธุรกิจเล็กๆที่เข้าไม่ถึงเแหล่งทุน

 

การใช้ธนาคารรัฐ ธนาคารพาณิชย์ ในภาวะปกติ มาใช้ในภาวะไม่ปกติเห็นชัดแล้วว่าไปไม่ถึง ต้องหาความคิดอ่านที่การหากลไกที่ไม่ปกติ กลไกนอกลู่แบบ คิดนอกกรอบเป็นสิ่งจำเป็นที่ท้าทายผู้ที่บริหารอยู่ในขณะนี้ ถ้าเรายังเอาเป็นเรื่องของการค้ำประกัน เรื่องของศักยภาพการเงินในขณะนี้ เป็นไปไม่ได้ทุกวงการไม่ว่าภาคไหนก็แล้วแต่ นี่เป็นสิ่งที่ท้าท้ายอย่างยิ่ง

 

การคลังเป็นเรื่องใหญ่คุณต้องใช้จ่ายเงินมหาศาล ไม่งั้นเอาไม่อยู่ เพื่อประคองผู้บริโภคอยู่ได้ แต่จะทำอย่างนี้ต่อไปเรื่อยๆไม่ได้ จะต้องทำให้มั่นใจว่าเศรษฐกิจเดินไปข้างหน้ามีเม็ดเงินกลับจุนเจือฟื้นฟูฐานะการเงินการคลังอนาคตข้างหน้า เพราะถ้านานวันไปความเปราะบางทางการเงินต้องระมัดระวัง เราเป็นประเทศเล็กมีทรัพยากรจำกัด การบริหารเงินข้างหน้าสำคัญมากๆ จะใช้การบริหารการคลังในภาวะปกติไม่ได้ 

 

คุณมีผู้แทน 4 สถาบัน มีผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ ปลัดกระทรวงการคลัง ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท. )เลขาสภาพัฒน์ ในภาวะปกติ สี่สถาบันเหล่านี้จะพยายามประณีประนอมภาคการเมืองให้แต่ละกระทรวงนำเสนองบขึ้นมา เพื่อส่งให้ครม. ตัดสินและสภาแปรญัติ แต่ในภาวะไม่ปกติ เป็นภาวะที่หนักหน่วง 4 สถาบันต้องทำหน้าที่ของตัวเองให้เต็มที่ ถ้าท่านเสียงแข็ง ใครก็เขย่าท่านไม่ได้ ทรัพยากรมีอยู่จำกัด ต่างฝ่ายต่างกระทรวงจะเสนอเหมือนเดิมไม่ได้

 

คุณจะกู้ย่อมกู้ได้ แต่เงินที่อยู่ในขณะนี้เราจะเอาไปทำอะไร อะไรสำคัญก่อนหลัง จะจัดงบอย่างไรที่สำคัญก่อนได้ อย่าสนใจงบผูกพัน ตัดได้ แช่แข็งได้ เพื่อให้อนาคตมันไปได้ แล้วภาระก็จะมากขึ้นเรื่อยๆ ดอกเบี้ยจะสูงเรื่อยๆ


4 เสาหลักเต็มไปด้วยคนเก่งมีความสามารถ ท่านต้องยืนแข็ง มีทิศทางร่วม ว่าคุณจะเอาประเทศไปทางไหน คุณตีเองคิดกล้าเสนอ จะรอให้การเมืองคิดอย่างเดียวไม่ได้ เพราะเขาฝากความหวังไว้ที่พวกคุณ ต้องคิดแล้วเสนอซะ ถ้แปรญัติคุณแข็งจริง มือที่มองไม่เห็นก็จะไม่สามารถทำอะไรได้ เพราะพลังของท่านจริงๆแล้วสี่สถาบันี้ยิ่งใหญ่มาก ไม่มีอะไรทำท่านได้

 

“ฉะนั้นทั้งฝ่ายการเมือง ข้าราชการ จัดลำดับให้ดีที่สุด เพราะข้างหน้าไม่รู้ว่าจะไปจบที่ไหน อีกเมื่อไร แต่ที่รู้ๆจากวันนั้นถึงวันนี้จะเจอภาวะเศรษฐกจถดถอยการจ้างงานจะมีน้อย ภาวะข้าวยากมากแพงเห็นชัดแล้วมันเกิดแล้ว ไม่ได้โทษรัฐบาลหรือใครทั้งนั้น แต่ระดับราคาที่กำลังขึ้นทั้งอาหารและพลังงานไม่ว่าจะสาเหตุจากอะไร แม้มาจากปัจจัยภายนอกเราต้องบริหารจัดการ ไม่มีคำว่าฟรีโฟล์วขึ้นได้ตามสะดวก เป็นไปไมได้เพราะถ้าเราไม่ดูแลมันให้ดี มันจะพันกันลำบากประเทศจะเสียหาย

 

ลักษณะของการบริหารจัดการมีคำตอบเป็นทางออก บางฝ่ายจะกระทบมาก กระทบน้อยต้องมีการพูดจา มีการเข้าไปทำความเข้าใจให้รู้ว่าบ้านเมืองต้องมาก่อน ยกตัวอย่าง เรื่องพลังาน มีตัวแปรไม่กี่ตัวเรื่องของวัตถุดิบ สูตรการผสม ค่ากลั่น ค่าการตลาด ภาษี เงินสนับสนุน ตัวแปรเหล่านี้จะปล่อยไปเรื่อยๆไม่ได้ ต้องบริหารจัดการ สิ่งที่เคยทำในภาวะอดีตจะไปใช้ในภาวะข้างหน้าไม่ได้ ทุกอย่างเป็นแบบอัตโนมัติไม่ได้ เมื่อมีการกระทบจะต้องจะดูกันอย่างไร หนทางเศรษฐกิจเรารู้ว่าน่าเป็นห่วง แต่มันยังไม่จบ

 

สมมติง่ายๆ ถ้าเกิดต้นทุนการผลิตไม่ลด ขึ้นไปแล้วไม่ยอมลง เพราะขณะนี้กระแสสวนโลกาภิวัฒน์ แนวโน้มอนาคตข้างหน้า อาจมีการดึงฐานการผลิตกลับประเทศตัวเอง ต้นทุนสูงแน่ๆ เช่น วัตถุดิบ อินเดียไม่ส่งออกข้าวสาลี อินโดไม่ส่งออกปาล์ม ทุกคนกำลังดิ้นรนเพื่อความอยู่รอดของตัวเอง แต่ที่จะรอดคือ

  1. ต้องคิดยืนด้วยขาตัวเองก่อน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อาหาร สิ่งจำเป็น โชคดีที่เราเป็นประเทศเกษตรยังมีสิ่งที่เราอุ่นใจ เราต้องปรับเปลี่ยน
  2. แหล่งพลังงานที่สำคัญราคาถูกเราหาเพิ่มได้หรือไม่ การตระเตรียมเป็นสิ่งที่จำเป็นมาก ถ้ามีระดับราคาที่สูงขึ้นเรื่อยๆ แต่คนเดือดร้อนคือคนจน การเตรียมเพื่อช่วยเหลือเขาเป็นสิ่งจำเป็นหลีกไม่พ้นไม่เช่นนั้นจะวุ่นวาย การเมืองมีปัญหา จะมีความโกรธแค้นเมื่อมีปัญหา เพื่อความรอบคอบผมคิดว่าทุกคนต้องเตรียมตัว เตรียมแนวทางเพื่อรองรับสถานการณ์อาจจะแย่ลง ไม่ว่ามันจะแย่ ภาวะไม่ปกติมันต้องมีการบริหารจัดการที่ไม่ปกติ ผมไม่อยากให่ใช้คำว่าวิกฤติ เพราะพูดแล้วขวัญมันเสีย เอาว่ามีความเข้มข้นที่ต้องเอาใจใส่ ไม่ใช่รอฟังจากข้าราชการซึ่งถูกคุมเข้มด้วยกฎและระเบียบ นี่คือข้อห่วงใยถึงความเปราะบางที่เราผชิญกับเศรษศฐกิจของเราในอนาคต
  3. สิ่งที่เคยค้ำจุนหนุนส่งเศรษฐกิจของเรา มาจากภายนอกกำลังจะอ่อนกำลังลงแล้ว และภายในประเทศค่อนข้างเปราะบาง เราอาจจะต้องปรับโหมดการขับเคลทื่อน ต้องใช้โอกาสนี้ในการเปลี่ยน เราเคยมีแผนพัฒนาฯฉบับที่ 1 - 12 เราอาศัยปัจจัยภายนอกในการเติบโต หวังว่าจะมีความมั่งคั่ง แต่ในระบบทุนนิยมที่การเมืองไม่แข็ง ความกรุณาปราณีทำให้กระจุกตัว ไปไม่ถึงข้างล่าง ยิ่งอ่อนแอ ยิ่งอาศัยภายนอก นโยบายจึงเน้นท่องเที่ยวต่างประเทศ การลงทุนต่างประเทศเพื่อส่งออก แต่ลมเหล่านั้นอ่อนแอลง เพราะเศรษฐกิจมีปัญหาเงินเฟ้อทำให้ของแพง 

 

“ในหลวง ร.9 เคยตรัสเอาไว้แล้ว ตอนนั้นเรายังเด็กเกินไปที่จะเข้าใจแต่วันนี้เหตุการณ์มาถึงแล้ว คือการระเบิดจากภายใน การสร้างความเข้มเข็งจากภายใน ยืนบนขาตัวเองได้ ซึ่งไม่ใช่ของง่ายเลย ช่วงเวลาที่ผ่านมาพอจะรู้ไม่ใช่ของง่าย ถ้าปรับโหมดได้" 

 

สิ่งแรกคือ การกระจายอำนาจ การคลัง งบประมาณ ต้องกล้ากระจายลงไป อย่าให้กจุกตามกระทรวง ส่วนกลาง เพราะเป็นการแยกส่วน ที่มองเฉพาะงานของตัวเอง ทำไม่ได้ในภาวะไม่ปกติ

 

การกระจายอำนาจบริหาร การคลังในประเทศ กฎเกณฑ์เต็มไปหมดเป็นอุปสรรคในการกระจาย ใช้โอกาสนี้ขจัดมันเสีย กฎเกณฑ์ที่ล้าสมัยที่ใช้ในยามปกติก็ยอมได้ แต่ในยามวิกฤติมันยากมากเลย

 

สองโฟกัสเศรษฐกิจต้องอยู่ที่ภายในไม่ใช่ภายนอก เวลาจะดึงดูดการลงทุนในประเทศ ไม่ใช่ลงทุนเพื่อส่งออก ให้แต่ละชุมชนแต่ละจังหวัดแข็งแรงด้วย การท่องเที่ยวไม่ใช่รอต่างชาติมาเที่ยว ในภาวะที่ทุกอย่างไม่จบต้องมีจากภายในมาจุนเจือผสม ให้มีความสมดุลขึ้นมา

 

การท่องเที่ยวต้องเน้นสร้างแหล่งท่องเที่ยวเชื่อมโยงประสานงานให้เกิดกิจกรรมเศรษฐกิจภายใน ต้องเชื่อมโยงการผลิต การพัฒนาชุมชนภายใน ไม่ใช่แค่เมืองใหญ่ต้องมีเมืองรองเมืองเล็ก ต้องนำชุมชนท้องถิ่นเป็นตัวตั้งในทุกเรื่อง เพราะนี่คือหน้าต่างของโอกาส

คำต่อคำ 6 ข้อห่วงใย “สมคิด” แนะใช้กลไกนอกลู่ สู้ “ศึกนอก-ศึกใน”

ประการที่สาม

 

ต้องเปลี่ยนทัศนคติ และการบริหารจัดการ กระทรวงที่สำคัญที่สุดเป็นอาวุธของประเทศคือ กระทรวงมหาดไทย เพราะลงลึกไม่ถึงหมู่บ้าน ครัวเรือน กำลังมีพร้อม แต่ความคิดอ่านทัศนคติเป็นเชิงปกครองไม่ใช่การพัฒนา 

 

คือไปทำงานร่วมกัน คิดร่วมกันว่าทิศทางการพัฒนาคืออะไร เชื่อมโยงอะไร ระหว่างจังหวัดกับพื้นที่ ถ้าเรายังใช้ทัศนคติอย่างเดิม เกลี่ยผู้ว่าปีละครั้งสองครั้งจะไปทำอะไร ประเทศจีนเขาใช้คนที่เก่งที่สุดไปอยู่ที่ที่จนที่สุดลงลึกหลายปี รู้ว่าแต่ละครัวเรือนมีปัญหาอะไร นั่นแหละคือการแก้ความยากจน ถ้าไม่ขจัดอุปสรรคจะไม่สามารถสร้างความเข้มแข็งบนฐานรากได้

 

“ผมไม่ได้กล่าวจากการไปท่องตำรา 30-40 ปีที่แล้วทุกคนเหมือนกันคือท่องจำจากตะวันตก คิดวิพากย์กัน ถ้าคุณใช้เวลาทั้งชีวิตใช้เวลาซึมซับความเป็นไทยคุณก็จะรู้ว่า มันไม่ง่าย และเราต้องมีกลไกของเราเอง เพื่อให้พลังลงไปถึงข้างล่างให้ได้ ถ้าเรารู้ว่าแรงลมจากข้างนอกมันอ่อน เราต้องสร้างความเข้มแข็งจากภายใน ถึงเวลาแล้วที่เราจะทำในสิ่งที่ถูกต้อง และให้ความเข้มแข็งภายนอกมีความสมดุล”


ประการที่สี่

 

ผมเห็นความสามารถการแข่งขันของประเทศที่กำลังอ่อนลงเมื่อเทียบกีบคู่แข่งของเรา เช่น อุตสากกรรม เรามีอะไรที่จะแข่งได้แบบชนะขาด ไม่มีเลย รถยนต์ที่เราเป็นศูนย์กลาง รถไฟฟ้ากำลังจะมาแทน เราทันไหมโครงสร้างพื้นฐาน วัตถุดิบ เสกลตลาด ซึ่ง อินโดกินเราขาด เพราะเขามีแบตตเตอรี่ บ้านเราก็ยังรักพี่เสียดายน้อง ไม่ยอมเข้าสู่รถไฟฟ้าเร็วพอ ซึ่งถ้าภายใน5ปียังไม่เปลี่ยนโหมดจะศูนย์เสียฐานตรงนี้แน่นอน 

 

อยากจะบอกว่าเราเคยคิดเรื่อง  S Curve เราเคยปักหมุดแห่งอนาคต วันนี้อยู่ที่ไหน จะเกิดขึ้นมาได้คุณต้องมีเบ้าหลอมคือEEC วันนี้ใครรับผิดชอบ ใครกำกับทิศทางจะอาศัยนายกคนเดียวไม่ได้ ใครดูแล สิ่งต่างๆเหล่านี้เป็นสิ่งจำเป็นมาก

 

สิ่งที่จะดึงดูดอุตสาหกรรมใหม่ ถ้าทำได้ไม่เร็วพอ ชาติอื่นก็เอาไปกิน ความสมารถการแข่งขันจะอยู่ตรงไหน ข้างในก็อ่อน ข้างนอกก็อ่อนแล้วจะมาแข่งกับเขาไม่ได้ อันนี้ผมจะบอกว่าเราต้องช่วยกันดูแลให้เข้มแข็งขึ้นมา

คำต่อคำ 6 ข้อห่วงใย “สมคิด” แนะใช้กลไกนอกลู่ สู้ “ศึกนอก-ศึกใน”

ประการที่ 5 

 

การเป็นประเทศที่มีนัยยะสำคัญในการเมืองโลกโดยเฉพาะเวทีโลก “ลีกวนยู” พูดหลายครั้งว่า ไม่ได้ขึ้นอยู่ที่ว่าประเทศเล็กหรือใหญ่ มันอยู่ที่ว่าคุณสามารถวางบทบาทความสามารถของคุณได้มีนัยยะได้แค่ไหน จึงไม่แปลกใจที่สิงค์โปร์สร้างปรากฏการณ์ใหม่ในเวทีโลก ทำไมเขาทุ่มเทงบในสิ่งที่จำเป็นในประเทศของเขา เพื่อให้เห็นว่าเขาเป็นศูนย์กลางของเอเชีย ทั้งการเงินและการเมือง

 

เราเองก็เคยอยู่ในฐานะนั้นมาก่อน อาเซียนเสียงเราดังที่สุด คนมองข้ามไม่ได้ แต่จุดยืนทางการเมือง ข้อเสนอใหม่ในภูมิภาคเราเบาบางลง เราจึงหลุดจากจอเรดาห์โลก  จากที่เราจะเป็นศูนย์กลางแล้วกระจายไปประเทศข้างๆ สร้างสิ่งเหล่านี้เพื่อเป็นศูนย์กลาง ถามว่าวันนี้เป็นอย่างไร

 

เรารู้ว่าจีนคืออำนาจใหม่ของโลก “วันเบลวันโร้ด” เขาเอาจริงเอาจังมาก แม้เส้นทางไม่ผ่านไทย แต่เราต้องเอาตัวเราไปเกาะเกี่ยว เช่น อีอีซี เพื่อเชื่อมโยงกับอาเซียน เรารู้ว่าญี่ปุ่นสำคัญ ทำอย่างไรให้ญรี่ปุ่นกับจีนอยู่ร่วมกัน และไทยก็ยังสมมดุลกับอเมริกาได้ด้วย ซึ่งเรามีความสามารถพิเศษนี้ตั้งแต่อดีตกาล

 

“ถ้าคุณไม่มีสิ่งเหล่านี้เลยคนจะไม่รู้จักไทย มองไม่เห็นความสำคัญ ถ้าเศรษฐกิจไม่ดีเขาจะเริ่มมองข้ามจากไทย แต่อย่าไปให้ไปถึงจุดนั้น ต้องเร่งช่วยกันทำให้เข้มแข็งขึ้น เราจะดีจะชั่วภาพที่เขามองเราสำคัญที่สุด และเป็นความรับผิดชอบทุกคนไม่ใช่แค่รัฐบาล”

 

ประการที่ 6 

 

เมืองไทยกำลังประสบกับ “ดิสอินดิเกรชั่น พาวเวอร์” คือ การรวมชาติอย่างมีเอกภาพเป็นพลัง ซึ่งค่อยๆสลายของพลังแห่งชาติ มันกำลังกัดกร่อนทีละเล็กทีละน้อย เราต้องหยุดมัน ความแตกแยกทางความคิด ความคิดทางการเมือง ผันมาสู่การเป็นปฏิปักษ์ทางการเมือง และแทนที่จะจางหาย กลับกลายไม่จางหายและเหมือนไฟสุมขอนที่มีเชื้อตลอดเวลาพร้อมจะลุกโชติช่วงได้ตลอดเวลา

 

ภาษาอังกฤษมีสองคำ คือ มีแพลตฟอร์มสื่อข้อมูลเยอะและเร็ว มิสอินฟอร์เมชั่น ข้อมูลที่ผิดพลาด ถ้าไม่ได้ไตร่ตรองก็เป็นไฟลุกขึ้นมา เกิดขึ้นในทุกประเทศ

 

ที่อันตรายกว่า ดิสอินฟอร์เมชั่น มีความจงใจที่จะให้ข้อมูลที่บิดเบือน ที่ให้ร้าย บั่นทอน ให้เกิดผลที่ตั้งเป้าประสงค์ไว้ ทุกวันนี้เกิดขึ้นในหลายประเทศ อเมริกาถึงกับเผาแคปปิตัลฮิลล์ เพราะข้อมูลสองฝั่งคนละโลก แม้กระทั่งเรื่องวัคซีน คนสองกลุ่มแตกกันออกมา เกิดขึ้นทุกประเทศ

 

ถ้าคนของเรามีสติ มีความยั้งคิด ไตร่ตรองสิ่งนี่จะไม่สามารถโหมกระหน่ำได้ ถ้าดูแลไม่ได้ ไม่ไตร่ตรงไม่ตรวจสอบ ตอนนี้เลือกตั้งผู้ว่ากทม. ข้อมูลเต็มไปหมดเลย บางคนอาจจะจะไม่รู้ว่าดีเลวแค่ไหน แต่โซเชียลมีเดียบอกคุณได้ 

 

ปัญหาเหล่านี้ ทำให้เกิดช่องว่างระหว่างวัย คนมีประสบการณ์มากกว่ามองว่าเด็ก  แต่จริงๆอนาคตเป็นของเขา แต่เขาประสบการณ์น้อยกว่า แต่ความรู้ไม่อ่อนกว่า การให้ความสำคัญ การรับฟัง การให้ความใส่ใจในฐานะอนาคตของประเทศ การสื่อความต้องมี เพราะเราต้องอยู่สังคมเดียวกัน ช่องว่างนี้ต้องปิด ไม่เช่นนั้นจะแบ่งแยกด้วยวัย ด้วยพวก ไม่ใช่เรื่องดีเลย

 

ความรู้สึกของประชาชนทีมีต่อธรรมาภิบาลมันค่อยๆอ่อนลง มีผลกระทบต่อ ความเชื่อมั่น ความน่าเชื่อถือ และความเชื่อใจ 3 ตัวนี้ต่างกัน โดยเฉพาะตัวสุดท้ายความเชื่อใจ ถ้าสามตัวนี้ไม่มีและเกิดขึ้นพร้อมกัน รัฐทำงานได้ยากมาก อันนี้พูดจริงๆเลย เพราะถูกตั้งคำถามตลอดเวลา

 

สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นในต่างประเทศ ถ้ามีมากถึงจุดหนึ่งการฟังก์ชั่นของรัฐจะทำอะไรก็ติดขัด ผิดไปหมดต้องรีบแก้ไข ต้องรีบสร่างสามตัวนี้ให้คืนมาได้ ถ้าทำไม่ได้ก็จะทำให้พลังในการแก้ไขปัญหาของชาติจะไม่แข็งแรงเท่าที่ควร

 

ในวันที่บ้านเมืองต้องการปฏิรูป การแก้ปัญหา บางคนเสียประโยชน์ ก็ขับเคลื่อนได้ยากมาก เพราะขาดทั้งความเชื่อมั่น เชื่อถือ และเชื่อใจ ทำให้เป็นรัฐที่อ่อนแอ ประชาชนนั่นแหละที่จะลำบาก

 

“6ข้อที่กล่าวมาไมได้ตำหนิอะไร แต่เห็นแนวโน้มตรงนี้ อนาคตอีกยาวไกลที่จะเผชิญกับมัน หมอกมันหนามันจับ ความเสี่ยงภัยมันสูง พลังของประเทศต้องแข็งแรงพอให้ฝ่าฟันไปได้ นี่เป็นความเห็นส่วนตัวนะครับ อาจจะผิดพลาด แต่ถ้ามันมีต้องรีบแก้ไขเยียวยา ไม่ใช่ให้ใครคนใดคนหนึ่งมาแบกรับไม่ได้ เปลี่ยนมากี่คนก็อาจจะแย่กว่าเดิม”


 
 

 

ขอบคุณที่มาคลิปจาก TOJO News