สรุปยังไง!โมนูพิราเวียร์ไม่ต่างจากยาหลอกในการนอน รพ. ตายจากโควิด

12 ธ.ค. 2565 | 02:27 น.

สรุปยังไง!โมนูพิราเวียร์ไม่ต่างจากยาหลอกในการนอน รพ. ตายจากโควิด หมอเฉลิมชัยการศึกษาจากมหาวิทยาลัย Oxford โดย Professor Butler และคณะ

น.พ.เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ (หมอเฉลิมชัย) รองประธานกรรมาธิการการสาธารณสุข วุฒิสภา โพสต์ blockdit ส่วนตัว "ร้อยแปดพันเก้ากับหมอเฉลิมชัย" โดยมีข้อความว่า

 

สับสน !! มหาวิทยาลัย Oxford ชี้ว่า ยาโมโนพิราเวียร์ (Molnupiravir) ไม่ได้แตกต่างกับยาหลอก ในเรื่องการนอนโรงพยาบาลและการเสียชีวิตจากโควิด-19

 

มีรายงานการศึกษาจากมหาวิทยาลัย Oxford โดย Professor Butler และคณะ 
ได้รายงานการศึกษาเบื้องต้น (Preliminary) ที่ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารที่มีการกลั่นกรอง (Peer Review)

 

โดยเป็นการศึกษาในช่วง 8 ธันวาคม 2564 ถึง 27 เมษายน 2565 จำนวนผู้เข้าร่วมการศึกษา 25,783 ราย

 

เป็นกลุ่มที่ได้รับยาโมโนพิราเวียร์ 12,821 ราย และกลุ่มที่ไม่ได้รับยาโมโนพิราเวียร์ 12,962 ราย

 

กลุ่มตัวอย่างมีอายุเฉลี่ย 56.6 ปี อายุตั้งแต่ 18-99 ปี และ 99% ได้รับวัคซีนอย่างน้อยหนึ่งเข็มขึ้นไป

 

โดยมีอาการมาแล้วเฉลี่ย 2 วัน และเริ่มยาในวันที่สาม 87% ได้รับยาจนครบห้าวัน 95.4%

ผลการศึกษาที่น่าตื่นเต้นคือ เมื่อดูการต้องเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลหรือการเสียชีวิตใน 28 วันแรก

 

กลุ่มที่ได้รับยาและไม่ได้รับยา มีผลของการเข้านอนโรงพยาบาลหรือเสียชีวิตเท่ากันคือ 0.8% (103 จาก 12,516 ในกลุ่มได้รับยา และ 96 จาก 12,484 ในกลุ่มไม่ได้รับยา)

 

แต่ผลที่ต่างกันคือ ในกลุ่มที่ได้รับยาจะมีอาการดีขึ้นและหายใน 9 วัน 

 

โมนูพิราเวียร์ไม่ต่างจากยาหลอกในการนอน รพ.  ตายจากโควิด

ในขณะที่กลุ่มไม่ได้รับยาจะต้องใช้เวลานานกว่า 6 วันคือ 15 วัน

 

นอกจากนั้นจากการตรวจปริมาณไวรัสในวันที่ 7 พบว่ากลุ่มที่ได้รับยา 21% ไม่พบไวรัส 

 

ในขณะที่กลุ่มไม่ได้รับยามีเพียง 3% ที่ไม่พบไวรัส และเมื่อติดตามต่อไป ก็จะพบว่ากลุ่มที่ได้รับยาจะมีปริมาณไวรัสน้อยกว่า

 

งานวิจัยดังกล่าวเป็นการศึกษาต่อเนื่องมาจากการวิจัยขนาดเล็กของทางบริษัท 

 

ซึ่งมีกลุ่มตัวอย่าง 762 คน พบว่าสามารถลดการนอนโรงพยาบาลได้ 50%
คือในกลุ่มได้รับยานอน 7.3% และไม่ได้รับยา 14.1%

แต่เมื่อศึกษาไปจนครบจำนวน 1433 คน ความแตกต่างได้ลดลงเหลือ 6.8 กับ 9.7%

 

จึงทำให้มีการวิพากษ์วิจารณ์ในอังกฤษกันมาก ถึงความคุ้มค่าที่อังกฤษสั่งยาเข้ามาเป็นจำนวนมาก

 

เนื่องจากอังกฤษเป็นประเทศแรกที่อนุมัติการใช้ยาโมโนพิราเวียของบริษัท MSD ตั้งแต่พฤศจิกายน 2564

 

โดยมีข้อบ่งชี้ให้ใช้ในผู้ที่มีอาการน้อยถึงปานกลาง และมีปัจจัยเสี่ยง

 

ทางการอังกฤษได้มีการสั่งซื้อยาไปไปกว่า 2,000,000 โดส และในแต่ละโดสมีมูลค่าสูงถึงประมาณ 600 ปอนด์