“ผู้ป่วยติดโควิด” ทุกกลุ่ม หลัง 1 ก.ค. รักษาแบบไหน ต้องทำอย่างไร

01 ก.ค. 2565 | 02:41 น.

ดีเดย์ 1 กรกฎาคม 2565 “ผู้ป่วยติดโควิด” ทุกกุล่ม กลุ่มสีเขียว Home Isolation กลุ่มสีเหลือง กลุ่มวิกฤติ สีแดง กลุ่มใช้สิทธิ UCEP Plus รับการรักษาแบบไหน ต้องทำอย่างไรบ้าง

ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ในวันที่ 1 ก.ค.นี้  ระบบการรักษาพยาบาลของประชาชนจะกลับสู่ภาวะปกติ ส่วน เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง การยกเลิกกรณีที่มีเหตุสมควรเกี่ยวกับโรคโควิด-19 เพื่อรองรับการเป็นโรคประจำถิ่น พ.ศ. 2565 

 

 

ขณะที่รัฐบาลผ่อนคลายมาตรการต่างๆ เพื่อรองรับการเดินหน้าไปสู่โรคประจำถิ่นอย่างปลอดภัย ซึ่งที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 21 มิ.ย. 2565 ได้มอบหมายให้กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เตรียมความพร้อมในการดำเนินการรองรับการเดินหน้าไปสู่โรคประจำถิ่น หลายคนยังสงสับว่าหากติดโควิดขึ้นมาการรักษาจะต้องทำอย่างไร ยังฟรีอยู่ไหม  

“ผู้ป่วยติดโควิด” ทุกกุล่ม หลัง 1 ก.ค. รักษาแบบไหน

 

  • ยกเลิกสิทธิการรักษาแบบ Home Isolation , Hospitel

 

สิทธิ UCEP Plus

  • เดิมให้ "ผู้ป่วยโควิดอาการสีเหลือง" และ "ผู้ป่วยโควิดอาการสีแดง" เป็นผู้ป่วยฉุกเฉินที่เข้ารับการรักษาสถานพยาบาลรัฐและเอกชนใดก็ได้ ปรับให้ผู้ป่วยอาการสีเหลืองกลับมารักษาฟรีตามสิทธิ์ แนวทางการรักษาจะให้รักษาแบบผู้ป่วยนอกหรือผู้ป่วยในของ รพ.ก็ขึ้นกับดุลยพินิจและการวินิจฉัยของแพทย์ ซึ่งจะมีแนวเวชปฏิบัติอยู่

 

ผู้ป่วยอาการสีแดงที่วิกฤต

  • ยังสามารถใช้สิทธิ UCEP เข้ารักษาแห่งใดก็ได้ตามเดิม

 

ผู้ป่วยอาการ "กลุ่มสีเขียว"

  • เข้ารักษาที่แผนกผู้ป่วยนอกที่หน่วยบริการประจำตามสิทธิหรือหน่วยบริการปฐมภูมิในพื้นที่ตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ จะได้รับการดูแลรักษาตามแนวทางเจอแจกจบของกระทรวงสาธารณสุข
  • จะได้รับการดูแลรักษาตามแนวทางเจอแจกจบของกระทรวงสาธารณสุข หรือ โทร.ประสานร้านขายยาตามรายชื่อที่อยู่ในเว็บไซต์ สปสช.เพื่อรับยาตามโครงการเจอแจกจบที่ร้านขายยาได้เช่นกัน

 

กลุ่มเสี่ยง หรือกลุ่ม 608 หรือมีอาการรุนแรง

  • จะถูกพิจารณาให้พบแพทย์ เพื่อเข้ารับการรักษา หากแพทย์ให้การรักษาแบบใดตามดุลพินิจของแพทย์ สิทธิรักษาพยาบาลของแต่ละท่านก็จะดูแลครอบคลุมหมด

 

สิทธิหลักประกันสุขภาพฯ หรือบัตรทอง

  • ยังรักษาตามสิทธิ์คนไข้บัตรทอง ซึ่งไปรักษาที่ไหนก็ได้ในรพ.รัฐ  และยังคงมีการรักษาแบบ(Outpatient with Self Isolation : OPSI)  หรือ "เจอ แจก จบ" ผู้ป่วยนอกยังทำเหมือนเดิม
  • สปสช.ดูแลค่าใช้จ่ายครอบคลุมทั้งหมด หากแพทย์มีดุลพินิจให้รักษาแบบ Home Isolation หรือเป็นผู้ป่วยในต้องแอทมิทนอนโรงพยาบาล ก็อยู่ในความครอบคลุมของสิทธิประโยชน์เช่นกัน

 

สิทธิ์ประกันสังคม

  • เตรียมยกเลิกการรักษา HI  ในวันที่ 4 ก.ค.นี้ แต่ผู้ติดเชื้อโควิดสามารถเข้ารับการรักษาตามแนวทาง "เจอ แจก จบ" ได้เช่นเดิม
  • สามารถรักษาที่ไหนก็ได้ในรพ.ของประกันสังคม รวมทั้งของสิทธิยูเซปเช่นกัน โดยจะมีการประกาศแนวทางเพื่อดำเนินการตั้งแต่วันที่ 4 ก.ค.เป็นต้นไป  ส่วนฮอสปิเทลจะยกเลิกเช่นกัน

 

การตรวจหาเชื้อตามแนวทางของกรมควบคุมโรค

  • ตรวจ ATK เมื่อมีอาการ หากสงสัยอาการรุนแรงให้โทรสายด่วน 1669 เพื่อประเมินความรุนแรงและเดินทางไปยังสถานพยาบาล
  • ส่วนสายด่วน 1330 ยังให้ประชาชนที่ข้องใจสอบถามได้ หรือช่วยเหลือประสานหาเตียง
  • จะเร่งชี้แจงทำความเข้าใจกับประชาชน เนื่องจากเข้าใจว่าประชานคุ้นชินกับระบบมานานถึง 3 ปี ซึ่งตลอด 3 ปีที่ผ่านมา มีค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลรวม 150,000 ล้านบาท

 

ประชาชนมีอาการเข้าข่ายติดโควิด

  • สามารถขอรับชุดตรวจ ATK ที่ร้านขายยาใกล้บ้านที่เข้าร่วมโครงการผ่านแอปเป๋าตังหรือใช้บัตรประชาชนไปรับ เพื่อตรวจยืนยันได้ทันที
  • ผู้ป่วยสิทธิบัตรทอง 30 บาท สปสช.ดูแลค่าใช้จ่ายครอบคลุมทั้งหมด หากแพทย์มีดุลพินิจให้รักษาแบบ Home Isolation หรือเป็นผู้ป่วยในต้องแอทมิทนอนโรงพยาบาล ก็อยู่ในความครอบคลุมของสิทธิประโยชน์เช่นกัน
  • สายด่วน สปสช. 1330 หลังจากวันที่ 1 ก.ค.2565 ผู้ติดโควิด-19 ไม่จำเป็นต้อง โทร.แจ้ง แต่หากมีข้อสงสัยว่าจะต้องทำอย่างไร โทร.มาสอบถามขั้นตอนได้
  • หากมีอาการแย่ลงจะต้องทำอย่างไรต่อ หรือต้องการประสานหาเตียงเข้ารักษาในโรงพยาบาลก็โทรมาได้เช่นกัน เลขาธิการ สปสช.กล่าว
  • สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สายด่วน สปสช. 1330 หรือช่องทางระบบออนไลน์ทั้งไลน์ สปสช. ไลน์ไอดี @nhso หรือคลิก https://lin.ee/zzn3pU6 และ Facebook : สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ https://www.facebook.com/NHSO.Thailand