อินไซด์สนามข่าว : ปฏิรูปประเทศ สะเทือนยุทธศาสตร์ชาติ

10 ม.ค. 2562 | 10:49 น.

Thansettakij เว็บไซต์ข่าวฐานเศรษฐกิจ ผนวกไลฟ์สไตล์ Start up SMEs อสังหาริมทรัพย์ การเงิน การลงทุน การตลาด เศรษฐกิจ เทคโนโลยี Breaking News อัพเดตข่าวล่าสุดที่นี่

อินไซด์ fists of socialism and or democracy ประเดิมปี 2562 ด้วยภารกิจอินไซด์งานใหญ่เรื่องใหญ่ ระดับการปฏิรูปประเทศและยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ได้ยินมาว่าวันที่  30 มกราคม - 1 กุมภาพันธ์นี้ รัฐบาลจะมีการจัดงานมหกรรมการสร้างการตระหนักรู้ต่อยุทธศาสตร์ชาติ “Big Bang อนาคตไทยอนาคตเรา” ที่เซ็นทรัลเวิลด์ หลังเจอปัญหาว่าประชาชนส่วนใหญ่ ยํ้าส่วนใหญ่ไม่รู้จัก “แผนปฏิรูปประเทศ” กับ “ยุทธศาสตร์ชาติ”

เห็นว่างานนี้จะเปิดตัวมิวสิกวิดีโอเพลงใหม่ชื่อเพลง “อนาคตเรา” บวกกับ “พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา” นายกฯ ขึ้นเวทีปาฐกถาพิเศษ คงทำให้โปรเจ็กต์โบแดงของรัฐบาลเป็นที่รู้จักมากขึ้น

แต่กว่าจะถึงงานวันนั้น กลายเป็นว่าแผนปฏิรูปกับยุทธศาสตร์ เป็นที่รู้จักและฮือฮาไปทั้งทำเนียบรัฐบาล เพราะที่ประชุมครม. วันที่ 2 มกราคม 2562 มีมติรับทราบตามที่ “สำนักงาน ก.พ.ร.” เสนอให้ทบทวนการจัดตั้งหน่วยงาน 52 หน่วยงาน ตามแผนการปฏิรูปประเทศ
IMG_20190108104452000000 ในวงครม. สำนักงานก.พ.ร. ได้รายงานว่า แม้ว่าครม. มีมติเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2561 เกี่ยวกับการจัดตั้งหน่วยงานใหม่ตามแผนการปฏิรูปประเทศ โดยให้คำนึงถึงเหตุผลความจำเป็นและคำนึงถึงค่าใช้จ่ายนั้น แต่ยังปรากฏว่ามีการเสนอร่างกฎหมายที่มีการจัดตั้งหน่วยงานคณะกรรมการและกองทุนเป็นจำนวนมาก โดยอ้างว่าเป็นไปตามแผนการปฏิรูปประเทศ

“สำนักงาน ก.พ.ร. พิจารณาแล้ว เห็นว่าข้อเสนอดังกล่าวจะสร้างปัญหาค่าใช้จ่ายภาครัฐในอนาคต และยังทำให้เกิดความซํ้าซ้อนในการดำเนินงานของหน่วยงานต่างๆ อันเป็นสิ่งไม่พึงประสงค์ นอกจากนี้ยังเห็นว่าแผนการปฏิรูปประเทศที่กำหนดให้มีหน่วยงานตั้งใหม่ รวม 52 หน่วยงาน ไม่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561-2580 ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ ที่กำหนดให้ภาครัฐมีขนาดเล็กลงและเหมาะสมกับภารกิจ”

สำนักงานก.พ.ร. จึงเห็นควรให้มีการทบทวนข้อเสนอที่ให้จัดตั้งหน่วยงานของรัฐตามแผนการปฏิรูปประเทศ ให้คณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านต่างๆ ตัดข้อเสนอเรื่องการจัดตั้งหน่วยงานต่างๆ ออกจากแผนการปฏิรูปประเทศ

[caption id="attachment_372583" align="aligncenter" width="335"] เพิ่มเพื่อน [/caption]

แต่กระนั้น ก.พ.ร.ก็ยังเผื่อทางออกเอาไว้ว่า ถ้าจะขอจัดตั้งหน่วยงานใหม่ 1. ต้องเป็นกรณีที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง 2. ให้ยุบเลิกหรือยุบรวมหน่วยงานที่มีอยู่เดิม หรือเรียกว่า One-In X-Out เพื่อไม่ให้เกิดความซํ้าซ้อนทั้งด้านภารกิจและงบประมาณ และ 3. ให้เสนอแผนการนำ Digital Technology มาใช้ในการปฏิบัติงานทุกขั้นตอน ประกอบคำขอจัดตั้งหน่วยงานใหม่ด้วย

และมีความเห็นเพิ่มเติมทิ้งท้ายไว้สั้นๆด้วยว่า “ในการจัดทำแผนแม่บทและแผนปฏิบัติการภายใต้ยุทธศาสตร์ชาตินั้น มิให้มีการกำหนดเรื่องการจัดตั้งหน่วยงานไว้เพื่อป้องกันมิให้เกิดปัญหาเช่นเดียวกับแผนการปฏิรูปประเทศอีก”
ปกรณ์
ซึ่งข้อเสนอเหล่านี้ สำนักงาน ก.พ.ร. แจ้งกับครม.ด้วยว่า เป็นข้อเสนอที่ผ่านมติที่ประชุม “คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ” ที่มีรองนายกฯ วิษณุ เครืองาม เป็นประธาน ในการประชุมครั้งที่ 5/2561 วันที่ 26 พฤศจิกายน 2561

“ปกรณ์ นิลประพันธ์ เลขาธิการสำนักงาน ก.พ.ร.” บอกว่า ในที่ประชุม ครม. พล.อ.ประยุทธ์ เห็นด้วยกับข้อเสนอ และสั่งการให้มีการทบทวน โดยมอบหมายให้ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.) คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ และคณะกรรมการปฏิรูปประเทศ รับกลับไปพิจารณาทบทวนแก้ไข

“ยืนยันว่า ก.พ.ร.ไม่ได้ขัดแย้งหรือทะเลาะกับใคร เราเพียงเสนอตามหลักการว่าควรจะเป็นอย่างนี้”

|คอลัมน์ : อินไซด์สนามข่าว
| โดย : จีรพงษ์ ประเสริฐพลกรัง/Twitter : @jeerapong_pra
| หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับ 3434 หน้า 14 ระหว่างวันที่ 10-12 ม.ค.2562
เพิ่มเพื่อน

ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว