ทางออกนอกตำรา : พลิกที่ดิน ‘โยธะกา’ ขึ้นสมาร์ทซิตีแทนที่เมืองใหม่แปดริ้ว

30 ก.ย. 2561 | 12:22 น.

Thansettakij เว็บไซต์ข่าวฐานเศรษฐกิจ ผนวกไลฟ์สไตล์ Start up SMEs อสังหาริมทรัพย์ การเงิน การลงทุน การตลาด เศรษฐกิจ เทคโนโลยี Breaking News อัพเดตข่าวล่าสุดที่นี่

76 9999 ท่ามกลางคำถามดังๆ ในสังคมถึงเรื่องใหญ่ที่ไร้คนเหลียวมองคือ การขอ คืนพื้นที่ 4,000 ไร่ ในศูนย์เกษตรกรรมโยธะกาที่ครอบคลุมพื้นที่ 5-6 ตำบล ในจ.ฉะเชิงเทรา ของกองทัพเรือ ว่า รัฐบาล ทหารเรือ กรมธนารักษ์ กำลังจะทำอะไรกับพื้นที่เหล่านี้....!?!

แม้เสียงที่ดังก้องในหูชาวบ้านจะออกมาระบุว่า จะมีการนำพื้นที่ไปสร้างเมืองใหม่แปดริ้ว ที่ยึดโยงไปตามแผนการลงทุนรถไฟฟ้าความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน เพื่อรองรับการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก ที่กำลังจะเปิดให้เอกชนมาประมูลลงทุนรถไฟฟ้าและพัฒนาที่ดิน 2 ข้างทางด้วยงบลงทุน 2.3 แสนล้านบาท

แต่สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกบอกว่า ยังไม่รู้เรื่อง เป็นภารกิจของ พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี ดร.ไพรินทร์ ชูโชติถาวร รมช.คมนาคม ที่รับผิดชอบในเรื่องสมาร์ทซิตี

ไม่มีเรื่อง “เมืองใหม่แปดริ้ว” ไม่มีเรื่องเมืองใหม่ซีพี อยู่ในแผน...มวลชน ควันไฟในเรื่องเมืองใหม่ที่คุกรุ่นอยู่เริ่มจาง เลือนลางไป
ภาพทางออก1 27 กันยายน 2561 พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ ออกเปิดเผยว่า ในปี 2561-2562 จะมีการผลักดันการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ 7 จังหวัด 10 พื้นที่ ประกอบด้วย

กรุงเทพมหานคร (ศูนย์คมนาคมพหลโยธิน และปทุมวัน) ภูเก็ต เชียงใหม่ (ถนนนิมมานเหมินทร์ และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่) ชลบุรี (แหลมฉบัง และอมตะนคร) ขอนแก่น (มหาวิทยาลัยขอนแก่น) ระยอง (อำเภอเมือง) และ ฉะเชิงเทรา (แปดริ้ว 2)

ตามแผนงานอันหรูเริ่ดแล้ว กำหนดไว้ตามแผนว่า ในปี 2562-2563 มีแผนผลักดัน 8 จังหวัด 15 พื้นที่ อาทิระยอง (เมืองการบินอู่ตะเภา EECi) ชลบุรี (EECd ครอบคลุมศรีราชา พัทยา และแหลมฉบัง) ปทุมธานี (เชียงรากน้อย) ชลบุรี-ระยอง (เมืองการเงิน) และ 3) ปี 2563-2565 พัฒนาเมืองอัจฉริยะ 30 จังหวัด/พื้นที่

การพัฒนาเมืองอัจฉริยะ จะมีองค์ประกอบด้วย 7 Smart ได้แก่ Smart Economy-Smart Mobility-Smart Energy-Smart Environment-Smart Governance-Smart Living และ Smart People

ตามแผนงานที่วาดวางไว้ตามฝันของรัฐบาลนายกฯลุงตู่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นั้น รัฐบาลมอบหมายให้ พล.อ.อ.ประจิน-ไพรินทร์ รมช.คมนาคม และ พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม หรือดีอี เป็นผู้ดูแลขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ ตั้งเป้าระยะแรกจะพัฒนา 7 จังหวัด ได้แก่ ภูเก็ต เชียงใหม่ ขอนแก่น ชลบุรี ระยอง ฉะเชิงเทรา และ กรุงเทพฯ โดยมีแผนจะขยายให้ครอบคลุม 77 จังหวัดภายใน 5 ปี
090861-1927-9-335x503 เพิ่มเพื่อน นำร่องเริ่มพัฒนา Smart City ใน 3 จังหวัด ภาคใต้คือ ภูเก็ต เป็นจังหวัดแรกของโครงการ ปัจจุบันมีการขับเคลื่อน 4 ด้าน คือ ด้านการท่องเที่ยว ด้านความปลอดภัย ด้านสิ่งแวดล้อม และด้านเศรษฐกิจ ซึ่งได้มีการนำ IoT (Internet of Things) เข้ามาใช้ในการพัฒนาและส่งเสริมการทำงาน

ภาคเหนือเป็น เชียงใหม่ ได้เริ่มโครงการสมาร์ทนิมมานเหมินทร์ แบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ

ระยะที่ 1 Smart Wi-Fi มีการติดตั้ง Access point ครอบคลุมถนนนิมมานเหมินทร์เรียบร้อยแล้ว

ระยะที่ 2 จะนำแอพพลิเคชัน Chiangmai I Love U มาส่งเสริมการท่องเที่ยว

ระยะที่ 3 จะจัดทำ Data Analytic จากกล้อง CCTV ในพื้นที่ เพื่อดูความเคลื่อนไหวของประชาชนในพื้นที่ และนักท่องเที่ยวในจังหวัด เพื่อจัดทำข้อมูลด้านการตลาด

ภาคอีสานยก ขอนแก่น เป็นตัวอย่างแผนยุทธศาสตร์ขอนแก่นสมาร์ทซิตี ปี 2029 เน้นการขับเคลื่อน 3 ด้านหลัก คือ

1. การขนส่ง Logistics & Transportation หรือ Smart Mobility

2. ด้านการประชุมและเศรษฐกิจ MICE City หรือ Smart Economy

3. ด้านการแพทย์ Medical & Healthcare หรือ Smart Living

อันนี้ทำไปแล้ว ขึ้นรูปเมืองอัจฉริยะไปเรียบร้อยโรงเรียนลุงตู่ สร้างความคึกคักฮือฮาให้กับคนในพื้นที่และคนรุ่นใหม่ให้ชายตามองไปแล้ว
1_oFQLs6z-B7o1NHKjpteSjw หากแต่สำหรับ 3 จังหวัดในพื้นที่อีอีซี ที่เป็น “หัวเรือใหญ่ที่สังคมโฟกัส” เพราะนี่คือพื้นที่ที่เป็น “หัวใจ” วางแผนใหญ่จะทำใน ชลบุรี นำร่องในพื้นที่นิคมแหลมฉบัง และ 7 ชุมชนโดยรอบ โดยการติดตั้ง Smart Pole หรือเสาประชารัฐ ซึ่งเป็นเสาที่มีไฟฟ้าเลี้ยงและเชื่อมต่อกับสายสื่อสาร ติดตั้งกล้องวงจรปิด ใช้ติดตามการจราจรและดูแลเรื่องอาชญากรรมได้ ถือเป็น Digital Infrastructure ของเมือง

ระยอง จะติดตั้ง Smart Pole เช่นกันช่วงถนนสุขุมวิท ที่ผ่านใจกลางเมือง แต่บัดนี้ยังไม่มีวี่แวว

ฉะเชิงเทรา จะพัฒนาเป็น Smart Farming เพื่อยกระดับเกษตรกรรมที่เป็นอาหารของโลก ซึ่งอยู่ระหว่างการพิจารณาว่าจะใช้พื้นที่ใด โดยจะติดตั้งอุปกรณ์ที่สามารถเชื่อมต่อกับอุปกรณ์อื่น (IoT) เช่น การวัดค่าความเป็นกรดด่างของดิน การใช้โดรนในการทำนายผลผลิต หรือพ่นยาได้ เป็นต้น แต่จนบัดนี้ยังหาที่ไม่ได้

กรุงเทพมหานคร อยู่ระหว่างการหารือกับหน่วยงาน กทม. โดยจะเริ่มต้นด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (จีไอเอส) ซึ่งจะรวบรวมข้อมูลด้านต่างๆ ของเมือง เช่น กล้องวงจรปิด ข้อมูลจราจร ข้อมูลการระบายนํ้า มารวมกันไว้ในแผนที่เดียวและสามารถระบุพิกัดได้ เหมือนเป็นวอร์รูมเพื่อบริหารจัดการเมืองได้

2 ห้วงเวลาอาจดูต่างกัน แต่มาประจวบเหมาะในห้วงสถานการณ์ที่ใกล้เคียงกัน กำลังบอกอะไรในนัยแห่งการพัฒนาที่ชัดเจนได้บ้าง

ทหารหาญอาจไม่เก่งในเรื่องการพูด แต่ทหารหาญเก่งกาจอย่างมากในยุทธวิธี

ของแบบนี้ไม่ต้องบอกก็พอจะดูออกว่า พื้นที่ 4 พันไร่ใน “โยธะกา” ที่ผู้คนกำลังควันออกหู อาจไม่ได้อยู่ในเรื่องของ “เมืองใหม่แปดริ้ว” แต่อาจมีการพลิ้วไหวใน “การสร้างสมาร์ทซิตี”...เป็นเช่นนี้ใช่มั้ยครับท่าน

| คอลัมน์ : ทางออกนอกตำรา
| โดย : บากบั่น บุญเลิศ
| หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับ 3405 หน้า 6 ระหว่างวันที่ 30 ก.ย.-3 ต.ค.2561

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง......
ทางออกนอกตำรา : ‘เมืองใหม่แปดริ้ว’ มา ‘โยธะกา’ระอุ ‘ทหารเรือ-พล.อ.อ.ประจิน’ต้องเคลียร์
ทางออกนอกตำรา : จาก"มักกะสัน" ยัน "แปดริ้ว" นายทุน-ขุนศึก-ประชาชน!
“ธนารักษ์ – ซีพี” แจงปมที่ราชพัสดุโยธะกา ด้านทร.ขอตรวจสอบข้อมูล
คำถามชาว ‘โยธะกา’ 4 ปีทวงความเป็นธรรม 4 พันไร่ที่ไร้คำตอบ
โยธะกาขึ้นป้าย "เขตปลอด EEC" 8 ต.ค. เข้ากรุง ยื่น "เจ้าสัวซีพี"
ต่างชาติร่วมคณะ ทร. สำรวจที่ดินโยธะกา ชาวบ้านนัดถกด่วน 19 ก.ย.
'คณิศ' ปัดเอี่ยว 'ซีพี' เช่าที่รัฐตั้งเมืองใหม่!!
'ซีพี' ยึดที่รัฐ 4 พันไร่! ฮือต้านธนารักษ์ประเคนที่ดินบางน้ำเปรี้ยวขึ้นเมืองใหม่
เป้าหมาย "ซีพี"ผุดเมืองใหม่อ่วมโดนน้ำท่วม
โยธาฯเฟ้นหาที่เมืองใหม่ดัน 4 พันไร่บางน้ำเปรี้ยว


595959859