เต็ดตรา แพ้ค สร้างจิตสำนึกอนุรักษ์ป่าปลูก

10 มิ.ย. 2561 | 06:11 น.
วิกฤติโลกร้อนคือเรื่องใกล้ตัวที่ทุกภาคส่วนตระหนัก และเร่งมือช่วยกันแก้ไข เต็ดตรา แพ้ค ในฐานะผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์อาหารระดับโลก ได้ร่วมมือกับองค์การจัดการด้านป่าไม้ (Forest Stewardship Council™) หรือ FSC™ และ WWF ประเทศไทย ชวนคนไทย มองตรา ร่วมค้นหาป่า FSC ที่จังหวัดราชบุรี เน้นสร้างความเข้าใจถึงความสำคัญต่อการจัดการป่าไม้อย่างรับผิดชอบ ตามแนวทางการดำเนินธุรกิจของบริษัทที่ว่า “ปกป้องทุกคุณค่า™” (PROTECTS WHAT’S GOOD™) เพียงแค่มองหาตรา “เต็ดตรา แพ้ค” (Tetra Pak)  และฉลาก FSC บนกล่องเครื่องดื่ม ผู้บริโภคก็สามารถมั่นใจได้ว่า ได้เลือกผลิตภัณฑ์ที่ดีที่สุดต่อตนเอง คนที่รัก และสิ่งแวดล้อม

วิธีตัดต้นยูคาลิปตัส

“เจฟ ฟิลโคว”  รองประธาน บริหารฝ่ายสิ่งแวดล้อม บริษัท เต็ดตรา แพ้ค เอเชีย กล่าวว่า เต็ดตรา แพ้ค ได้ร่วมมือกับลูกค้าใน อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม, หน่วยงาน, องค์กร, ภาครัฐ, ชุมชน ริเริ่มโครงการรณรงค์ การสร้างความตระหนักถึงเรื่องการใช้วัตถุดิบในการทำกล่องเครื่องดื่มที่มาจากป่าที่ผ่านการจัดการอย่างรับผิดชอบ ไปจนถึงโครงการรีไซเคิลกล่องเครื่องดื่มที่ใช้แล้วเป็นหลังคาบ้าน มอบแก่ผู้ขาดแคลนมาอย่างต่อเนื่อง โดยตั้งแต่ปี 2550-2560 เต็ดตรา แพ้ค ส่งมอบกล่องบรรจุภัณฑ์ ที่ติดฉลาก FSC กว่า 3 แสนล้านกล่อง และในประเทศไทยช่วง 3 ปีที่ผ่านมา มีกล่องเครื่องดื่มแบรนด์ต่างๆ ที่ผลิตโดยเต็ดตรา แพ้ค ติดฉลาก FSC เพิ่มขึ้นเกือบถึง 90% โดย 8 ปีที่ผ่านมา โครงการหลังคาเขียวฯ ได้ส่งมอบหลังคาผ่านสภากาชาดไทยประมาณ 6 หมื่นแผ่น จากการรีไซเคิลกล่องเครื่องดื่มที่ใช้แล้วราว 120 ล้านกล่อง

ส่วนเป้าหมายด้านความยั่งยืน มีเป้าใน 4 เรื่อง ได้แก่ การนำกลับมาใช้ใหม่ ผ่านโครงการหลังคาเขียวฯ เป็นโครงการระยะยาว ตั้งแต่ปี 2553-2563 เพื่อสนับสนุนให้เกิดการรีไซเคิล โดยมีพาร์ตเนอร์ใหม่ คือ บริษัท ไฟเบอร์พัฒนา จำกัด ในการนำบรรจุภัณฑ์ใช้แล้ว นำกลับมาใช้ใหม่ ในรูปของหลังคา eco-roof รวมไปถึงการให้ความรู้เรื่องการนำมาใช้ ตามโรงเรียนในพื้นที่ที่ร่วมโครงการ

นอกจากนี้ กระบวนการผลิตของเต็ดตรา แพ้ค สามารถลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และยังช่วยลดการใช้ทรัพยากร ธรรมชาติ อาทิ นํ้ามันดิบลงได้ รวมถึงการลดการใช้พลังงานไฟฟ้า เปลี่ยนมาใช้พลังงานหมุนเวียน โดยคาดว่าจะบรรลุเป้าหมายในปี 2030 และลดปริมาณคาร์บอนที่ปล่อยให้ได้ 58% ภายในปี 2040

หน้า 19 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจปีที่38 ฉบับ 3372 ระหว่างวันที่ 7 - 9 มิ.ย. 2561 e-book-1-503x62-7