คืนชีพลุ่มน้ำเจ้าพระยา

26 พ.ค. 2560 | 02:00 น.

Thansettakij เว็บไซต์ข่าวฐานเศรษฐกิจ ผนวกไลฟ์สไตล์ Start up SMEs อสังหาริมทรัพย์ การเงิน การลงทุน การตลาด เศรษฐกิจ เทคโนโลยี Breaking News อัพเดตข่าวล่าสุดที่นี่

จากโครงการด้านสังคมของ "ไอคอนสยาม" มูลนิธิชัยพัฒนา และองค์กรพันธมิตรทั้งภาครัฐและเอกชน ได้แก่ กองทัพเรือ, กรุงเทพมหานคร, มูลนิธิอุทกพัฒน์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย, กรมเจ้าท่า, สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา, สมาคมการค้าธุรกิจในแม่น้ำเจ้าพระยา และชุมชนต่างๆ ที่อาศัยอยู่ริมสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ได้เปิดตัวโครงการ "รักษ์ลุ่มน้ำเจ้าพระยา ร่วมกันพัฒนาและจัดการน้ำอย่างยั่งยืน" โดยน้อมนำศาสตร์พระราชาด้านแนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาน้ำเน่าเสีย มุ่งเน้นการให้ความรู้และการมีส่วนร่วมของประชาชนผู้อาศัยในพื้นที่ได้ร่วมฟื้นฟูและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อนำไปสู่การใช้ชีวิตริมสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาอย่างยั่งยืน

[caption id="attachment_153438" align="aligncenter" width="503"] พล.ร.ท. รัษฎางค์ ธีรเนตร, ดร. รอยล จิตรดอน, นรินทร์ ทิจะยัง พล.ร.ท. รัษฎางค์ ธีรเนตร, ดร. รอยล จิตรดอน, นรินทร์ ทิจะยัง[/caption]

"สุพจน์ ชัยวัฒน์ศิริกุล" กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไอคอนสยาม จำกัด กล่าวว่า โครงการฯ ได้รับเกียรติจากมูลนิธิชัยพัฒนาในการถ่ายทอดองค์ความรู้ แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาน้ำเน่าเสีย ตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช นำมาปฏิบัติและประยุกต์ใช้ในการจัดการกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

[caption id="attachment_153439" align="aligncenter" width="503"] จักรพันธุ์ ผิวงาม, สุพจน์ ชัยวัฒน์ศิริกุล, ศ.ดร.เกษมจันทร์แก้ว ทำพิธีเปิดโครงการ จักรพันธุ์ ผิวงาม, สุพจน์ ชัยวัฒน์ศิริกุล, ศ.ดร.เกษมจันทร์แก้ว ทำพิธีเปิดโครงการ[/caption]

"ศ.ดร.เกษม จันทร์แก้ว" ผู้เชี่ยวชาญด้านสิ่งแวดล้อม มูลนิธิชัยพัฒนา และผู้อำนวยการโครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ยอันเนื่องมาจากพระราชดำริ อธิบายว่า วิธีการที่นำมาชใช้ คือ ให้ใช้ธรรมชาติช่วยธรรมชาติ เป็นเทคโนโลยีอย่างง่าย ใครๆ ก็สามารถทำได้ และมีวัสดุหาได้ในท้องที่...การใช้เทคโนโลยีการบำบัดน้ำเสียที่เรียบง่ายและใช้ธรรมชาตินี้ แบ่งเป็น 2 ระบบ ได้แก่ วิธีการพึ่งพาธรรมชาติ โดยใช้สาหร่ายสังเคราะห์แสงเพื่อเติมออกซิเจนให้จุลินทรีย์หายใจและย่อยสลายสารอินทรีย์ในน้ำเสีย และ ระบบที่ 2 คือ ระบบพืชและหญ้ากรองน้ำเสีย โดยใช้พืชและหญ้าที่มีคุณสมบัติกรองและดูดซับของเสียที่อยู่ในน้ำ

[caption id="attachment_153436" align="aligncenter" width="503"] จักรพันธุ์ ผิวงาม, สุพจน์ ก.ก.ผจก.บริษัท ไอคอนสยาม จำกัดกับทูตน้อยไอคอนสยาม จักรพันธุ์ ผิวงาม, สุพจน์ ก.ก.ผจก.บริษัท ไอคอนสยาม จำกัดกับทูตน้อยไอคอนสยาม[/caption]

น้ำเสีย สามารถบำบัดได้ โดยการประยุกต์ใช้แนวการบำบัดน้ำเสียตามแนวพระราชดำริ โดยอาศัยแสงแดด และสายลม เพื่อเพิ่มปริมาณออกซิเจนในน้ำให้มีความเหมาะสม จุลินทรีย์ และสาหร่ายสีเขียวในน้ำ ช่วยในการย่อยสลายสารอินทรีย์ เพื่อปรับปรุงคุณภาพน้ำ และป้องกันไม่ให้เกิดก๊าซที่มีกลิ่นเหม็น ซึ่งเป็นผลจากการย่อยสลายสารอินทรีย์ด้วยจุลินทรีย์ที่ไม่ใช้ออกซิเจน

[caption id="attachment_153437" align="aligncenter" width="503"] ทูตน้อยไอคอนสยามแจกต้นไม้ ทูตน้อยไอคอนสยามแจกต้นไม้[/caption]

รูปแบบของการดำเนินโครงการอย่างบูรณาการ เริ่มจากการลงพื้นที่สำรวจสภาพแวดล้อมแหล่งน้ำที่แท้จริง และวิเคราะห์สภาพค่าความสกปรกของน้ำ ได้แก่ ค่าบีโอดี ซึ่งจะสัมพันธ์กับการเลือกวิธีบำบัดน้ำเน่าเสียได้อย่างเหมาะสมกับปัญหาของพื้นที่นั้นๆ วิธีการปรับปรุงคุณภาพน้ำเสียในเชิงอนุรักษ์มีหลากหลายวิธี เช่น การจัดเก็บเศษขยะต่างๆ ในคลอง, การขุดลอกคลอง, การตกแต่งกิ่งไม้เพื่อเปิดให้แสงลงสู่แหล่งน้ำ, การใช้วัชพืชหรือพืชบำบัดน้ำเสีย,การติดตั้งถังดักไขมันในบ้านเรือน, การติดตั้งเครื่องกังหันชัยพัฒนาหรือ การติดตั้งเครื่องกลเติมอากาศ เป็นต้น

[caption id="attachment_153440" align="aligncenter" width="503"] การใช้ผักตบชวาบำบัดน้ำเสียในคลองสมเด็จเจ้าพระยา การใช้ผักตบชวาบำบัดน้ำเสียในคลองสมเด็จเจ้าพระยา[/caption]

โครงการ "รักษ์ลุ่มน้ำเจ้าพระยา ร่วมกันพัฒนาและจัดการน้ำอย่างยั่งยืน" ของไอคอนสยามปีแรก ดำเนินการในช่วงเดือนมีนาคม – ธันวาคม มีเป้าหมายพัฒนาพื้นที่คลองจำนวน 7 แห่ง ครอบคลุมพื้นที่ใน 3 เขตของกรุงเทพมหานคร ได้แก่ เขตคลองสาน เขตตลิ่งชัน และเขตบางกอกน้อย ซึ่งขณะนี้เริ่มดำเนินการแล้ว ตั้งแต่มีนาคมที่ผ่านมา โดยคณะทำงานได้ลงพื้นที่สำรวจในเขตคลองสาน คลองวัดทองเพลง เป็นแห่งแรก และคลองสมเด็จเจ้าพระยา เป็นแห่งที่ 2 และมีคลองเป้าหมายอีก 5 แห่ง อาทิ คลองวัดสุวรรณ และคลองสาน เขตคลองสาน, คลองวัดทอง เขตบางกอกน้อย, คลองลัดมะยม และคลองมหาสวัสดิ์ เขตตลิ่งชัน เป้าหมายการดำเนินงานจะให้แล้วเสร็จทุกพื้นที่ ภายในปี 2560

[caption id="attachment_153433" align="aligncenter" width="503"] กังหันชัยพัฒนาจำลอง กังหันชัยพัฒนาจำลอง[/caption]

โครงการเน้นการมีส่วนร่วมจากประชาชนผู้อาศัยในพื้นที่ จึงมีการใหความรู้และแนวทางปฏิบัติในการฟื้นฟูและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อสร้างเป็นโครงการต้นแบบการพัฒนาพื้นที่ในชุมชนริมน้ำเจ้าพระยาในพื้นที่อื่นๆ โดยทั้งหมดนี้ คือ แนวทางการคืนชีพให้กับลุ่มเจ้าพระยา

[caption id="attachment_153435" align="aligncenter" width="503"] ประชาชนเรียนรู้วิธีการทำถังดักไขมัน ประชาชนเรียนรู้วิธีการทำถังดักไขมัน[/caption]

[caption id="attachment_153434" align="aligncenter" width="503"] ถังดักไขมัน ถังดักไขมัน[/caption]

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,264 วันที่ 25 - 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2560