วันนี้ (10 มิถุนายน 2568) นายพรชัย ฐีระเวช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลังเปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) ตรวจพิจารณาแล้ว พร้อมทั้งรับทราบแผนในการจัดทำกฎหมายลำดับรอง กรอบระยะเวลาและกรอบสาระสำคัญของกฎหมายลำดับรอง 7 ฉบับ ตามที่กระทรวงการคลัง เสนอ
แหล่งข่าวจากกระทรวงการคลัง กล่าวว่า ร่างพ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ฉบับนี้ มีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535และที่แก้ไขเพิ่มเติม โดยเพิ่มบทบัญญัติเพื่อรองรับการออกหลักทรัพย์ โดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ และกำหนดบทกำหนดโทษกรณีฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดเกี่ยวกับหลักทรัพย์อิเล็กทรอนิกส์
ทั้งนี้เพื่อรองรับและส่งเสริมให้มีการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการออกผลิตภัณฑ์และการทำธุรกรรมในตลาดทุนรวมทั้งอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน อันจะนำไปสู่การยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนและขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศในสังคมดิจิทัลแห่งอนาคต
สำหรับร่างพ.ร.บ. หลักทรัพย์อิเล็กทรอนิกส์ ฉบับนี้ ที่ผ่ารมาได้ผ่านการตรวจพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) แล้ว โดยสาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติฯ เป็นการปรับปรุงบทบัญญัติเกี่ยวกับการออกหลักทรัพย์อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีลักษณะแตกต่างจากหลักทรัพย์ที่เป็นใบตราสารทั่วไปให้ชัดเจนและเหมาะสมยิ่งขึ้น
โดยรองรับกระบวนการออกหลักทรัพย์อิเล็กทรอนิกส์และการทำธุรกรรมต่าง ๆ ที่จะอยู่ในระบบอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมดตลอดอายุของหลักทรัพย์อิเล็กทรอนิกส์นั้น เช่น สถานะของหลักทรัพย์อิเล็กทรอนิกส์ การควบคุมกำกับดูแล กระบวนการออกหลักทรัพย์อิเล็กทรอนิกส์ การทำธุรกรรมเกี่ยวกับหลักทรัพย์อิเล็กทรอนิกส์ ผลผูกพันของหลักทรัพย์อิเล็กทรอนิกส์ การเปลี่ยนระบบหลักทรัพย์ในรูปแบบใบตราสารให้เป็นหลักทรัพย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
ทั้งนี้กระทรวงการคลัง แจ้งว่า ในการผลักดันกฎหมายเกี่ยวกับตลาดทุนนั้น ที่ผ่านมาคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2566 ได้มีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติ 4 ฉบับ ประกอบด้วย
โดยให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา ซึ่งมีสาระสำคัญเป็นการรองรับการนำเทคโนโลยีที่เหมาะสมมาใช้ในการธุรกรรมต่าง ๆ ในตลาดทุน สร้างความชัดเจนในการกำกับดูแล และเพิ่มประสิทธิภาพในการบังคับใช้กฎหมายโดยในส่วนของ ร่างพ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ซึ่งเป็นฉบับแรกได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมในประเด็นสำคัญ รวม 6 ประเด็น ได้แก่
ต่อมาในชั้นการตรวจพิจารณาร่างพ.ร.บ.รวม 4 ฉบับดังกล่าว สำนักงาน ก.ล.ต. มีความประสงค์ให้นำบทบัญญัติในส่วนที่เกี่ยวกับหลักทรัพย์อิเล็กทรอนิกส์ ตามประเด็นการเพิ่มบทบัญญัติเพื่อรองรับกระบวนการทางอิเล็กทรอนิกส์ในตลาดทุนตามข้อ 1 แยกมาตราออกมาเป็นร่างพ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (หลักทรัพย์อิเล็กทรอนิกส์) เพื่อให้ใช้บังคับได้ก่อน
ทั้งนี้เพื่อรองรับการนำเทคโนโลยีทางการเงินมาใช้ในการออกผลิตภัณฑ์และการทำธุรกรรมในตลาดทุนได้ รวมทั้งจะช่วยอำนวยความสะดวกและสร้างความมั่นใจในการดำเนินกิจกรรมในตลาดทุนได้มากยิ่ง