ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) รายงานภาวะเศรษฐกิจและการเงิน เดือนมีนาคม และไตรมาสที่ 1 ปี 2568 ผ่านเอกสารเผยแพร่ โดยระบุว่า เศรษฐกิจไทยในเดือนมีนาคม2568 ชะลอตัวจากเดือนก่อนจากภาคบริการ การบริโภค-0.5% จากเดือนก่อนอยู่ที่ 0.9% และการลงทุนภาคเอกชน-1.0%จากเดือนก่อนหดตัว-1.5%
สำหรับความเชื่อมั่นด้านการลงทุนปรับลดลงจากภาคที่มิใช่การผลิต ส่วนความเชื่อมั่นผู้บริโภคลดลงต่อเนื่องจากความกังวลเรื่องผลกระทบนโยบายการค้าของสหรัฐฯ ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ และค่าครองชีพที่ยังอยู่ในระดับสูง ขณะที่การผลิตภาคอุตสาหกรรมปรับดีขึ้น-0.7% จากเดือนก่อน -3.9% โดยเฉพาะหมวดยานยนต์และหมวดฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์
ทั้งนี้ ภาคท่องเที่ยวลดลง 9.0%ตามจำนวนนักท่องเที่ยวกลุ่มมุสลิมเป็นสำคัญ จากการเข้าสู่เดือนรอมฎอนเร็วกว่าปีก่อนโดยเฉพาะนักท่องเที่ยวมาเลเซียและกลุ่มตะวันออกกลาง ขณะที่นักท่องเที่ยวจีนยังหดตัว แต่น้อยลงกว่าเดือนก่อน (ตั้งแต่ 1 ม.ค.-27 เม.ย. 68มีจำนวนนักท่องเที่ยวรวม 11.8 ล้านคน)
สำหรับรายรับจากนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ขจัดปัจจัยฤดูกาลแล้วทรงตัวจากเดือนก่อน ตามค่าใช้จ่ายต่อคนต่อทริปที่เพิ่มขึ้นส่วนหนึ่งจากนักท่องเที่ยวระยะไกล (long-haul) ในบางสัญชาติ ที่เพิ่มขึ้น อาทิ รัสเซีย และออสเตรเลีย
ส่วนมูลค่าส่งออกสินค้าไม่รวมทองคำปรับลดลง 2.0% (จากเดือนก่อนหน้าขยายตัว 5.2%)ตามหมวดโลหะมีค่า หลังเร่งส่งออกไปในช่วงก่อนหน้า มูลค่าการส่งออกสินค้าไม่รวมทองคำที่ขจัดปัจจัยฤดูกาลแล้ว ลดลงจากเดือนก่อน ตามการส่งออก
(1) หมวดโลหะมีค่า จากการส่งออกทองคำขาวไปอินเดีย หลังศุลกากรอินเดียปรับเงื่อนไขการนำเข้าให้เข้มงวดมากขึ้น
(2) หมวดเกษตรแปรรูป ตามการส่งออกน้ำตาลไปอินโดนีเซีย หลังเร่งไปแล้วในเดือนก่อน และ
(3) หมวดเครื่องใช้ไฟฟ้า ตามการส่งออกเครื่องปรับอากาศไป สหรัฐฯ และออสเตรเลีย อย่างไรก็ดี การส่งออกในบางหมวดปรับเพิ่มขึ้นมาก อาทิ หมวดอิเล็กทรอนิกส์ โดยเฉพาะอุปกรณ์สื่อสารโทรคมนาคม คอมพิวเตอร์ และฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ ตามการเร่ง ส่งออกไปสหรัฐฯ จากความกังวลต่อการขึ้นภาษีนำเข้าของสหรัฐฯ และหมวดโลหะ ตามการส่งออกโลหะอื่น ๆ ไปนอร์เวย์
อย่างไรก็ตามการใช้จ่ายภาครัฐที่่ไม่รวมเงินโอนขยายตัวเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน จากทั้งรายจ่ายประจำและรายจ่ายลงทุนของรัฐบาลกลาง โดยรายจ่ายประจำขยายตัว 31.4% ตามการเบิกจ่ายของหน่วยงานด้านการศึกษาที่เหลื่อมมาในเดือนนี้
รวมถึงเงินบำนาญ ค่าตอบแทนบุคลากร และค่ารักษาพยาบาลข้าราชการ สำหรับรายจ่ายลงทุน ขยายตัว129.6% ตามการเบิกจ่ายของหน่วยงานด้าน สาธารณูปโภคและคมนาคม ขณะที่รายจ่ายลงทุนของรัฐวิสาหกิจหดตัวจากการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่งทางรางและสาธารณูปโภค
อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทเทียบกับดอลลาร์เดือนมีนาคม 2568 เงินบาทเฉลี่ยทรงตัวใกล้เคียงกับเดือนก่อน หลังธนาคารกลางสหรัฐ มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ประกอบกับนโยบายการค้าของสหรัฐเป็นไปตามที่ตลาดคาด อย่างไรก็ดี ในเดือนเมษายน 2568 (ข้อมูลถึง 25 เมษายน 2568) เงินบาทเคลื่อนไหวผันผวน โดยช่วงแรกเงินบาทปรับอ่อนค่าหลังสหรัฐ ประกาศจัดเก็บอัตราภาษีนำเข้าจากประเทศต่าง ๆ สูงกว่าที่ตลาดคาด
อย่างไรก็ดี เงินบาทปรับแข็งค่าขึ้นหลังสหรัฐ ประกาศเลื่อนการจัดเก็บภาษี ในอัตราสูงสุดกับประเทศต่าง ๆ ออกไป 90 วัน ประกอบกับเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่า ตามความกังวลต่อการชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐ ด้านดัชนีค่าเงินบาท (NEER) เฉลี่ยปรับอ่อนลงตามเงินบาทที่เคลื่อนไหวอ่อนค่านำสกุลเงินภูมิภาค ส่วนหนึ่งจากการที่ไทยมีแนวโน้มได้รับผลกระทบจากนโยบายจัดเก็บภาษีนำเข้าตอบโต้ของสหรัฐค่อนข้างมาก
เสถียรภาพเศรษฐกิจ: อัตราเงินเฟ้อทั่วไป0.84%ลดลงจากเดือนก่อน1.08%ตามหมวดพลังงานเป็นสำคัญ จากราคาน้ำมันขายปลีก กลุ่มเบนซินที่ลดลงตามราคาน้ำมันในตลาดโลก และค่าไฟฟ้าที่ลดลงตามมาตรการช่วยเหลือกลุ่มเปราะบางของภาครัฐ
ด้านอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน0.86%จากเดือนก่อนอยู่ที่ 0.99% ลดลงตามราคาอาหารสำเร็จรูป รวมถึงค่าของใช้ส่วนตัวและอุปกรณ์ซักล้าง สำหรับดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 2,300ล้านดอลลาร์ลดลงจากเดือนก่อน5,500ล้านดอลลาร์ จากดุลบริการ รายได้ และเงินโอนที่กลับมาขาดดุลเป็นสำคัญ ด้านตลาดแรงงาน โดยรวมปรับดีขึ้นเล็กน้อยจากทั้งภาคการผลิตและภาคบริการ
ทั้งนี้ ตลาดแรงงานปรับดีขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อน แต่ต้องติดตามผลกระทบจากนโยบายการค้าของสหรัฐฯ และการชะลอตัวของภาคท่องเที่ยวต่อตลาดแรงงาน โดยจำนวนผู้ประกันตนมาตรา33 ในระบบประกันสังคม 12.09ล้านคนจากเดือนก่อนหน้าอยู่ที่ 12.05ล้านคน ผู้ขอรับสิทธิกรณีว่างงานรวม2.28แสนคน และผู้ขอรับสิทธิกรณีว่างงานรายใหม่ 4.5แสนคนต่อเดือนจากเดือนก่อนอยู่ที่ 5.5แสนคน
“เดือนมี.ค.เศรษฐกิจไทยชะลอลงจากเดือนก่อน จากภาคบริการที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยวโดยจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติลดลง ด้านการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนชะลอลง ประกอบกับ การส่งออกสินค้าปรับลดลง แต่ยังอยู่ในระดับสูงจากการเร่งส่งออกสินค้าบางหมวดไปสหรัฐฯ อย่างไรก็ดี การผลิตภาคอุตสาหกรรมปรับเพิ่มขึ้นในหลายหมวด สำหรับการใช้จ่ายภาครัฐยังขยายตัวต่อเนื่อง
ส่วนไตรมาสที่ 1 ปี 2568 เศรษฐกิจไทยขยายตัวจากไตรมาสก่อน ตามการเร่งส่งออกสินค้าที่เพิ่มขึ้นสอดคล้องกับการผลิตภาคอุตสาหกรรม จากความกังวลต่อมาตรการทางการค้าของสหรัฐฯ ประกอบกับการบริโภคภาคเอกชนปรับดีขึ้น
อย่างไรก็ตาม กิจกรรมภาคท่องเที่ยวปรับลดลงตามจำนวนและรายรับนักท่องเที่ยวต่างชาติโดยเฉพาะจีนที่กังวลด้านความปลอดภัย และการลงทุนภาคเอกชนลดลง สำหรับการใช้จ่ายภาครัฐยังคงขยายตัวได้ต่อเนื่องจากทั้งรายจ่ายประจำและรายจ่ายลงทุน”
ภาคอสังหาริมทรัพย์ ไตรมาสที่ 1 ปี 2568
ตลาดอสังหาริมทรัพย์โดยรวมชะลอลงจากไตรมาสก่อน โดยอุปสงค์ที่อยู่อาศัยทั่วประเทศลดลงจากที่อยู่อาศัยแนวราบและ อาคารชุด สะท้อนจากการอนุมัติสินเชื่อปล่อยใหม่ที่ยังหดตัวต่อเนื่อง สอดคล้องกับอุปทานที่อยู่อาศัยที่ลดลงตามจำนวนที่อยู่อาศัยอาคารชุดเปิดขายใหม่ สำหรับราคาที่อยู่อาศัยในภาพรวมสูงขึ้้นจากไตรมาสก่อนโดยเฉพาะที่อยู่อาศัยแนวราบ ส่วนหนึ่งจากต้นทุนวัสดุก่อสร้างที่เพิ่มขึ้น
สรุปเศรษฐกิจไทยรายไตรมาส
ไตรมาสที่ 1 ปี 2568: เสถียรภาพเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเพิ่มขึ้้นเล็กน้อยเทียบกับไตรมาสก่อน ตามราคาหมวดอาหารสดที่ปรับเพิ่มขึ้นและอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานที่เพิ่มขึ้้นจากหมวดอาหารตามราคาเครื่่องประกอบอาหารและอาหารสำเร็จรูป ขณะที่หมวด พลังงานปรับลดลงตามราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก ด้านตลาดแรงงานโดยรวมปรับดีขึ้้นเล็กน้อยตามการจ้างงานในภาคบริการ ขณะที่การจ้างงานในภาคการผลิตลดลง
สำหรับดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน จากดุลบริการ รายได้ และเงินโอน ตามรายรับภาคการท่องเที่่ยวที่่เพิ่มขึ้้น ประกอบกับดุลการค้าเกินดุลเพิ่มขึ้นตามการส่งออกที่เร่งขึ้น เศรษฐกิจไทยโดยรวมในไตรมาสที่ 1 ขยายตัวจากไตรมาสก่อน ตามการเร่งส่งออกสินค้าสอดคล้องกับการผลิต ภาคอุตสาหกรรม จากความกังวลต่อมาตรการทางการค้าของสหรัฐฯ
ประกอบกับการบริโภคภาคเอกชนปรับดีขึ้น อย่างไรก็ตาม กิจกรรมภาคท่องเที่่ยวปรับลดลงตามจำนวนและรายรับนักท่องเที่ยวต่างชาติโดยเฉพาะจีนที่กังวลด้านความปลอดภัยและการลงทุนภาคเอกชนลดลง สำหรับการใช้จ่ายภาครัฐยังคงขยายตัวได้ต่อเนื่องจากทั้้งรายจ่ายประจำและรายจ่ายลงทุน