นายบุรินทร์ อดุลวัฒนะ กรรมการผู้จัดการ และ Chief Economist บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด กล่าวว่า การกลับมาอีกครั้งของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ได้สร้างความไม่แน่นอนขึ้นมาต่อการลงทุนและการค้าโลก
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง นโยบายการขึ้นภาษีนำเข้าที่ต้องรอความชัดเจนในต้นปีหน้าก่อให้เกิดความกังวล ว่า เศรษฐกิจโลกจะซบเซาเหมือนช่วงทศวรรษ 1930 นอกจากนั้น นโยบายอเมริกาเฟิรสต์ จะทำให้มีการเปลี่ยนระเบียบโลก (Global Order) สร้างความเสี่ยงต่อองค์กรระหว่างประเทศอย่างเช่น WTO และ NATO ได้
นางสาวณัฐพร ตรีรัตน์ศิริกุล รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด กล่าวเพิ่มเติมว่า ภาพเศรษฐกิจไทยปีหน้าคาดว่าจะขยายตัว 2.4% ซึ่งเป็นการเติบโตช้ากว่าสิ้นปีนี้อยู่ที่ 2.6%
โดยมองว่าไตรมาส4 จีดีพีน่าขยายตัวประมาณ 3.6% หลักๆ มาจากภาคการส่งออกเป็นปัจจัยหนุน และปีหน้าประมาณการณ์จีดีพีจะเติบโตช้าลงกว่าปีนี้เล็กน้อย ที่ 2.4% สาเหตุจีดีพีเติบโตช้า
เพราะประมาณการจำนวนนักท่องเที่ยว 37.5ล้านคน ตัวเลขการส่งออกขยายตัวลดลงเป็น 2.5% จากปีนี้ที่ 4.5% การอุปโภคบริโภคปีหน้ายังแผ่ว แต่การลงทุนภาครัฐเห็นการเบิกจ่ายต่อเนื่องน่าจะปรับตัวดีขึ้นจากปีนี้สอดคล้องตัวเลขการลงทุนของบีโอไอทั้งอิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์
ขณะที่ปีหน้าประมาณการจีดีพีเติบโตที่ 2.6%โดยคำนึงผลกระทบบางส่วนแล้ว ซึ่งแน่นอนสินค้าส่งออกจะถูกกระทบไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับตลาดสหรัฐพึ่งสินค้านำเข้าจากเราขนาดไหน/มีทางเลือกที่จะไปหาแหล่งสินค้าอื่น
สำหรับอุตสาหกรรมที่อาจได้รับผลกระทบทางตรงจากสงครามการค้า หลักๆ คือ สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ โซลาเซล ยางรถยนต์ ส่วนผลกระทบทางอ้อมถ้าจีนโดนภาษีนำเข้า 10% ไทยจะเจอการแข่งขันสินค้าจีนไหลเข้ามาเพิ่มเติมอีก เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า สินค้าอุปโภคบริโภค รถยนต์ เหล็ก
ทั้งนี้การไหลเข้ามาของสินค้าจากจีนมีผลกระทบต่อภาคการผลิตของไทยปิดตัวลง ทั้ง อิเล็กทรอนิกส์ เคมีภัณฑ์ เสื้อผ้า เครื่องใช้ไฟฟ้า นอกจากนี้ผลกระทบอีกทางต่อสินค้าส่งออกไทยก็ต้องไปแข่งขันกับสินค้าจีนในตลาดอื่นเช่น คอมพิวเตอร์, อุตสาหกรรมEE , แอร์ อุปกรณ์โทรทัศน์ ส่วนใหญ่อิเล็กทรอนิกส์ และยานยนต์
“ สำหรับเศรษฐกิจไทยปี68 นอกจากสงครามทางการค้าจะเป็นปัจจัยแล้วยังมีมาตรการภาครัฐที่กระทรวงการคลังมีแผนจะลดและขึ้นภาษีบางตัว ซึ่งทิศทางเศรษฐกิจหลักของโลกโดยเฉพาะจีน หากเจอสงครามทางการค้า จะโยงภาคการผลิตของไทยโดยประมาณการจีดีพีปีหน้าที่ 2.4%นั้นได้คำนึงถึงปัจจัยการค้ารอบใหม่ การชะลอตัวของเศรษฐกิจไทยปีหน้าโตไม่ถึง 5%และภาคการผลิตของไทยที่ยังไม่ฟื้นตัว”
อย่างไรก็ตาม การลงทุนภาครัฐขยายตัวดีกว่าปีที่ผ่านมาจากเม็ดเงินเบิกจ่ายงบประมาณที่ต่อเนื่อง ในขณะที่การลงทุนเอกชนปรับตัวดีขึ้นจากปี 2567 ที่หดตัว สอดคล้องไปกับ FDIs ที่เข้ามาในอุตสาหกรรมยานยนต์และอิเล็กทรอนิกส์
ทั้งนี้ ความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจไทยยังสูง จากความแน่นอนของสงครามการค้าเศรษฐกิจหลักของโลกชะลอตัวลงโดยเฉพาะจีนและภาคการผลิตของไทยที่เจอภาวะการแข่งขันสูงจากสินค้าจีนท่ามกลางขีดความสามารถที่ลดลง
นางสาวเกวลิน หวังพิชญสุข รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัดกล่าวว่า สำหรับอุตสาหกรรมของไทยในปีหน้า ภาพรวมยังไม่ดีขึ้นนัก เพราะเผชิญทั้งปัจจัยต่างประเทศและในประเทศ
สำหรับปัจจัยต่างประเทศนอกจากการชะลอตัวลงของเศรษฐกิจหลักของโลกแล้ว โดยเฉพาะเศรษฐกิจจีน ความขัดแย้งในพื้นที่ต่างๆ ประเด็นสำคัญที่จะส่งผลต่ออุตสาหกรรมของไทยหนีไม่พ้นสงครามการค้ารอบใหม่
ภายใต้นโยบายทรัมป์ 2.0 ซึ่งจะมีผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อธุรกิจไทย โดยกลุ่มSMEขนาดกลางลงล่างที่จะถูกกระทบจากสงครามการค้ารอบใหม่ โดยจะเห็นจำนวนกิจการของSMEภาคการผลิตลดลงได้อีกเป็นปีที่ 4 ต่อเนื่องในปี 2568
สำหรับกลุ่มที่มีความเสี่ยงได้แก่อิเล็กทรอนิกส์รถยนต์ เคมีภัณฑ์ โลหะ เหล็ก สินค้าแฟชั่น และสินค้าอุปโภคบริโภคที่ต้องเผชิญสินค้านำเข้า ซึ่งธุรกิจเหล่านี้จะมีความเสี่ยงด้านความสามารถในการแข่งขัน
ยังไม่นับรวม ถ้าสมมติว่าไทยถูกเจรจาต่อรองให้ต้องเปิดตลาดนำเข้าสินค้าบางรายการที่ยังไม่เคยเปิด เช่น ระบบโคว้ต้าสินค้าเกษตรซึ่งไทยมีการจัดเก็บภาษีในอัตราสูง เพื่อปกป้องสินค้าในประเทศ/ค่าเสื่อมในประเทศ ตรงนี้ถ้าถูกบังคับและอนุญาตให้นำเข้าเพิ่มเติมอาจจะกระทบสินค้าเกษตรเพิ่มเติม ซึ่งสหรัฐส่งออกทั่วโลก
เช่น ข้าวสาลี เนื้อสัตว์ ยังไม่นับรวมถ้าเศรษฐกิจจีนชะลอลงเพราะถูกกระทบจากการปรับขึ้นภาษีที่รุนแรงซึ่งจะส่งผลทางอ้อมมาที่ธุรกิจท่องเที่ยวโดยเฉพาะตลาดจีนเที่ยวไทยที่ปีหน้าจำนวนนักท่องเที่ยวอาจจะไม่ฟื้นตัวถึงก่อนโควิดที่ 17ล้านคน โดยคาดว่าจะอยู่ที่ประมาณใกล้ 8ล้านคน
ส่วนปัจจัยในประเทศคือ มาตรการภาครัฐและประเด็นเชิงโครงสร้าง โดยมาตรการภาครัฐ เรื่องปรับขึ้ค่าแรงขั้นต่ำ 400บาทที่จะต้องติดตาม รวมเรื่องการปฎิรูประบบภาษีทั้งลดภาษีนิติบุคคลและบุคคลธรรมดาเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ
ขณะเดียวกันภาครัฐจะปรับขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่ม เพื่อนำเงินช่วยกลุ่มเปราะบาง เพราะฉะนั้นต้องรอติดตามความชัดเจน เพราะผลกระทบจะมีความซับซ้อนและแตกต่างกัน ไม่ว่าผลกระทบต่อครัวเรือนหรือรายได้ธุรกิจ /รายได้ของภาครัฐ หรือการขยับฐานภาษีอาจจะถูกกระทบคนที่ไม่ได้อยู่ในระบบฐานภาษีตั้งแต่ต้น
นางสาวธัญญลักษณ์ วัชระชัยสุรพล รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัดกล่าวว่า ปี 2568คาดว่าจะยังเห็นสถานการณ์ที่แนวโน้มสินเชื่อของระบบธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในไทยเติบโตช้าและต่ำ
โดยมีอัตราการขยายตัวราว 0.6% จากปี 2567 ที่คาดว่าจะหดตัว 1.8% ท่ามกลางปัญหาหนี้ครัวเรือนสูงที่ยังจะกดดันให้สินเชื่อรายย่อยยังหดตัวต่อเนื่อง ส่วนหนี้ด้อยคุณภาพยังเป็นปัญหาที่ต้องเฝ้าระวังต่อเนื่อง
ทั้งฝั่งสินเชื่อรายย่อยรวมถึงฝั่งสินเชื่อเอสเอ็มอี โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทยได้วิเคราะห์ข้อมูลสินเชื่อธุรกิจ จากฐานข้อมูลบัญชีลูกหนี้นิติบุคคลซึ่งเป็นข้อมูลสถิติที่ไม่ระบุตัวตนของเครดิตบูโร (NCB)มีประมาณ 1.7-1.8ล้านบัญชี พบ 5 ประเด็นสำคัญ คือ
1.หนี้ธุรกิจไทยกลับมาถดถอยลงตั้งแต่ช่วงปลายปี 2566 ถึงต้นปี 2567 หลังหมดแรงส่งมาตรการช่วยเหลือทางการเงินช่วงโควิด
2.ธุรกิจยิ่งเล็ก ปัญหาหนี้เสียยิ่งรุนแรง
3.สถาบันการเงินทุกประเภทที่ปล่อยสินเชื่อเผชิญผลกระทบด้านปัญหาหนี้ด้อยคุณภาพชัดเจนขึ้น
4.การเจาะกลุ่มปัญหาหนี้เรื้อรัง คือ ธุรกิจบัญชีเดิมที่เป็นหนี้ด้อยคุณภาพในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา พบว่าธุรกิจขนาดเล็กและกลางน่าห่วงมากขึ้น
5.ประเภทธุรกิจหลักที่มีปัญหาหนี้ด้อยคุณภาพเน้นไปที่อสังหาริมทรัพย์ค้าส่งค้าปลีก ที่พักและอาหาร และภาคการผลิต ซึ่งสะท้อนปัญหาเฉพาะหน้า อาทิ ปัญหาอำนาจซื้อของผู้บริโภคที่ลดลง
การแข่งขันรุนแรงและการฟื้นตัวของธุรกิจที่ไม่กระจายทั่วถึงรวมถึงสะท้อนปัญหาเชิงโครงสร้างจากความสามารถในการแข่งขันที่ถดถอยซึ่งจากผลสำรวจความคิดเห็นของผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ณ สิ้นเดือนพฤศจิกายน 2567 ชี้ว่าการสนับสนุนเศรษฐกิจภาพรวมให้เติบโตต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดผลดีต่อรายได้ของธุรกิจ จะเป็นหนึ่งในทางออกที่ยั่งยืน
“ปัญหาเน้นธุรกิจขนาดกลางลงไป ไล่ตั้งแต่ Super Micro วงเงินสินเชื่อน้อยกว่า 5ล้านบาท ,Micro วงเงิน 5-20ล้านบาท ,Smallเจอปัญหาหนี้เพิ่มขึ้นและMedium ยอดค้างชำระ 1-30วัน แม้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจค่อยๆเติบโตดี แต่การชำระหนี้ใหม่จ่ายไม่ได้ อย่าง Super Microไม่ดีขึ้นตั้งแต่ปี 2020 โดยเฉพาะกลุ่ม Medium ไซส์ที่มีปัญหาเพิ่มขึ้น สะท้อนรายใหญ่ก็ไปไม่ไหวและอาจจะไม่ได้อานิสงก์มาตรการที่ออกมาในช่วงที่ผ่านมา โดยเฉพาะหมวดใหญ่ 5หมวดมีมาร์เก็ตแชร์ราว 70-80%ของสินเชื่อรวม เช่น อสังหาริมทรัยพย์ รับเหมา-ก่อสร้าง โรงแรม และกลุ่มค้าส่งค้าปลีก ซึ่งเชื่อว่าผลกระทบจากค่อยๆชัดขึ้นภายใน 1-2ไตรมาส”
ส่วนตัวมองว่ามาตรการที่ออกมาเป็นสิ่งที่ดี แต่ตราบใดไม่ได้แก้ไขเชิงโครสร้างเศรษฐกิจ,ปัญหาเศรษฐกิจโตช้า ซึ่งปัญหาหล่านี้จะรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ แต่ปีหน้าแม้สินเชื่อยังเติบโตช้า หนี้ด้อยคุณภาพมีสัญญาณเพิ่มขึ้น
โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทยประมาณการหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้(NPL) สิ้นปีนี้จะอยู่ที่ 2.85% ปีหน้ามีโอกาสจะเพิ่มขึ้นอยู่ในกรอบ 2.85-3.0% ทั้งนี้ การปรับโครงสร้างหนี้เรื้อรังนั้น ต้องช่วยลูกหนี้และช่วยสถาบันการเงินด้วย เพราะปัจจุบันถ้าลูกหนี้เสียสถาบันการเงินมีหน้าที่ตั้งสำรองฯตั้งแต่วันแรก