ธปท.เตรียมเพิ่มผู้ใช้ Wholesale CBDC Retail CBDC”เป็นโครงการเพื่อเรียนรู้

29 ต.ค. 2565 | 23:22 น.

ธปท.ชูWholesale CBDC เป็น “Game Changer” Cross Border ธุรกรรมโอนเงินต่างประเทศ เผยขั้นตอนต่อไปเพิ่มผู้ใช้เพื่อทำความเข้าใจโครงการพื้นฐานและนวัตกรรมบนอินโนเวชั่นแทรค ระบุ “ Retail CBDC”เป็นโครงการเพื่อเรียนรู้ ไม่ใช่เพื่อบริการ

ดร.เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวถึงความคืบหน้าการนำสกุลเงินดิจิทัลที่ออกโดยธนาคารกลาง (CBDC)ในระดับสถาบันการเงิน (Wholesale CBDC) สำหรับการโอนเงินระหว่างประเทศนั้น 

 

“ ผมมีความหวังว่า Whole  CBDCตัวนี้จะป็น Game  Changer Cross border-ขั้นตอนต่อไปคือจะเพิ่มผู้ใช้ ซึ่งเดิม 10 ธนาคารกลางทำใน 3โครงการเป็นไพลอต”

ในระยะต่อไปจะเป็นการเพิ่มผู้ใช้( Use Case) เพื่อให้เกิดการใช้จริง และการเชื่อมระบบปัจจุบันมี 10ธนาคารกลางที่ทำเรื่อง CBDC โดยมีการทดสอบ Protocol อยู่ 3 โปรเจ็กต์ ได้แก่ Dunbar ที่มีธนาคารกลางสิงคโปร์  มาเลเซีย ออสเตรเลีย และแอฟริกาใต้ และโครงการ Jura ที่มีธนาคารกลางฝรั่งเศสและสวิตเซอร์แลนด์

 

ทั้งนี้ เราเป็น 1 ใน 10 ธนาคารกลางที่ทำเรื่องนี้อยู่ ซึ่งเรามีการเซ็ทไกด์ไลน์ คืออยากให้ระบบสามารถเชื่อมต่อกันได้ โดยเป็นระบบเพย์เมนต์อีกอันที่นอกเหนือจากระบบการโอนผ่าน SWIFT ซึ่งจะเป็นการสร้างโครงสร้างพื้นฐาน แต่การจะไปถึงจุดนั้นอาจจะไม่ง่าย เพราะอาจจะมีปัญหาระหว่างทาง ซึ่งปัญหาเชิงเทคนิคแก้ได้

แต่เรื่อง Governance หรือกฎเกณฑ์ของแต่ละที่มีความแตกต่างกัน เช่น พวก FX หรือ Regulator Frame Work ซึ่งจะทำให้เข้ากันอาจจะยาก แต่ก็มีหลายธนาคารที่ให้ความสนใจเข้ามาดู โดยคาดว่าจะสามารถเปิดให้บริการให้ภาคธุรกิจใช้จริงเป็นการทั่วไปได้ภายใน 5 ปีข้างหน้า

 

อย่างไรก็ตาม Whole  CBDC ภายใต้โครงการ “Multiple Central Bank Digital Currency Bridge (mBridge)” ที่พัฒนาต่อยอดจากโครงการ Inthanon-LionRock ระยะที่ 2 ในปี 2564

 

 

โครงการ “mBridge” เป็นความพยายามที่จะสร้างแพลตฟอร์มที่มี CBDC แลกเปลี่ยนกัน ใช่เพียงทำเพื่อลดต้นทุนและเวลาในการทำธุรกรรมโอนเงินระหว่างประเทศ แต่ท้ายที่สุดจะเชื่อมกันได้เป็นระบบPaymentที่เชื่อมกันและสร้างIntranet

ล่าสุดมีธนาคารพาณิชย์เข้าร่วมทดสอบ 20 แห่งจาก 4 ประเทศ ได้แก่ ธนาคารกลางฮ่องกง (Hong Kong Monetary Authority: HKMA) ธนาคารกลางแห่งสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (Central Bank of the United Arab Emirates: CBUAE) และสถาบันศึกษาสกุลเงินดิจิทัลของธนาคารกลางแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน (Digital Currency Institute of the People’s Bank of China: PBC DCI) ภายใต้การทดสอบในธุรกรรม 3 ประเภท

ทั้งนี้ หากพิจารณาดู Wholesale CBDC พบว่า ตอบโจทย์ในเรื่องของการโอนเงินระหว่างประเทศ หรือ Cross Border ชัดเจน ส่วนผลข้างเคียงมีน้อย  ขณะที่ Retail CBDC ธปท.ยังคงเดินหน้าเต็มที่  แต่เป็นโครงการเพื่อการเรียนรู้ไม่ใช่โปรเจ็กต์เพื่อการให้บริการ (Project to Launch) เพราะผลข้างเคียงจะมีผู้เกี่ยวข้องค่อนข้างมาก แต่ภายในสิ้นปีจะมีการทดสอบ โดยมี 2ธนาคารเข้าร่วม ได้แก่ ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารกรุงศรีอยุธยาและผู้ประกอบการที่ไม่ใช่ธนาคารพาณิชย์ (Non Bank) อีก 1 แห่ง ได้แก่ บริษัท ทูซีทูพี (2C2P) และพนักงานและคนทั่วไปอีกรวมจำนวน 1 หมื่นคน

 

เบื้องต้นจะดูในเรื่องการใช้งานพื้นฐานก่อน  เช่น เทคนิค ประสบการณ์คนใช้  ซึ่งทดสอบในวงจำกัด (Foundation track) และพัฒนาทางด้านนวัตกรรม (Innovation track) ต่อยอดบริการไปสู่ การโอน  จ่าย  ถอน   เช่น การใส่เงื่อนไข หรือนวัตกรรมเพิ่มเติม

 

ยกตัวอย่าง ภาครัฐโอนเงินให้ แต่เงินนั้นสามารถใช้ได้เฉพาะสินค้าประเภทนี้ และห้ามซื้อสินค้าประเภทอื่น หรือ การสั่งของและโอนเงินหลังจากของได้ส่งเรียบร้อยแล้ว หรือการใส่ Smart Contact เข้าไป เพราะหากทำแค่เฉพาะการโอนเงิน หรือ payment เท่านั้น จะไม่เป็น Game Changer