ธปท.ชั่งน้ำหนักปัจจัยเสี่ยงครึ่งปีหลัง -คาดทั้งปีเศรษฐกิจยังขยายตัว 3.3%

27 ก.ค. 2565 | 23:22 น.

ธปท.ยืนตัวเลขประมาณการจีดีพีปี2565ที่ระดับ 3.3% ชี้มาตรการคนละครึ่งเฟส5 ช่วยกระตุ้นการบริโภคตามวงเงินอัดฉีด - ครึ่งหลังชั่งน้ำหนักปัจจัยเสี่ยง “การเพิ่มขึ้นของต้นทุน-เงินเฟ้อ-โรคระบาด-ปัจจัยต่างประเทศ”

นางสาวชญาวดี ชัยอนันต์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายบริหารการสื่อสารองค์กร ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า แนวโน้มการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (จีดีพี) ในไตรมาสที่ 2ปี2565  โดยระบุว่าตัวเลขประมาณการเติบโตจีดีพียังขยายตัวกว่า 3.0%นิดๆ  

ธปท.ชั่งน้ำหนักปัจจัยเสี่ยงครึ่งปีหลัง -คาดทั้งปีเศรษฐกิจยังขยายตัว 3.3%

โดยมาจากการบริโภคเอกชนภายในประเทศ   รวมถึงแรงขับเคลื่อนจากการท่องเที่ยวที่ทยอยฟื้นตัวดีขึ้น ซึ่งมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาเที่ยวไทยจำนวน 2.8ล้านคนใน6เดือนแรกที่ผ่านมา เฉพาะเดือนมิ.ย.มีจำนวน 767,500คนซึ่งเพิ่มขึ้นจากเดือนพ.ค.อยู่ที่ 520,000คน

ธปท.ชั่งน้ำหนักปัจจัยเสี่ยงครึ่งปีหลัง -คาดทั้งปีเศรษฐกิจยังขยายตัว 3.3% “ภาพรวมเศรษฐกิจไตรมาส 2 จะมีทั้งภาพบวกและลบ โดยภาคการท่องเที่ยวจะเป็นแรงหนุนจากจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติอาจจะมีUp-Side แต่ยังมีประเด็นที่ต้องจับตา ไม่ว่าเรื่องการปรับขึ้นของต้นทุน  โดยเงินเฟ้อทั่วไปไตรมาส2อยู่ที่ 6.46% ส่วนเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ 2.27% หรือโรคระบาด และความเสี่ยงจากต่างประเทศ เหล่านี้เพื่อที่จะชั่งน้ำหนัก  ซึ่งปีนี้ยังคงประมาณการจีดีพีอยู่ที่ 3.3% แต่ต้องรอดูตัวเลขจริงที่สภาพัฒน์ฯจะประกาศในเดือนส.ค.”

ต่อข้อถามถึงผลต่อเศรษฐกิจจากมาตรการคนละครึ่งเฟส 5 นั้น  นางสาวชญาวดี กล่าวว่า  มาตรการดังกล่าวจะช่วยกระตุ้นการบริโภคได้ดีในระดับหนึ่ง แต่ขึ้นอยู่กับจำนวนวงเงินที่จะอัดฉีดเข้ามาด้วย  

ธปท.ชั่งน้ำหนักปัจจัยเสี่ยงครึ่งปีหลัง -คาดทั้งปีเศรษฐกิจยังขยายตัว 3.3%

ส่วนภาวะเศรษฐกิจเดือนมิ.ย. 2565 และไตรมาสที่ 2ปี2565 พบว่า ดัชนีชี้วัดเศรษกิจปรับตัวดีขึ้นทุกตัว   โดยการบริโภคเอกชนทรงตัวใกล้เคียงกับเดือนก่อนหน้า  ส่วนตัวเลขรายไตรมาสขยายตัว 9.8% การใช้จ่ายในหมวดบริการขยายตัวต่อเนื่อง ทั้งการเข้าพักโรงแรม ขนส่งโดยสาร สอดคล้องกับกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ดีขึ้น

ขณะที่มูลค่าการส่งออกในเดือนมิ.ย.ปรับลดลง -0.5% หลังจากเดือนพฤษภาคมเร่งตัวขึ้น 3.5% ถือว่าไปได้ดี และไตรมาส 2 ขยายตัวอยู่ที่ 4.4% โดยภาพชะลอตัวในเดือนนี้มาจากหมวดเครื่องใช้ไฟฟ้าและรถยนต์ที่มาจากปัญหาขาดแคลนชิ้นส่วน ส่วนหมวดอื่นๆ ปรับดีขึ้น ส่งผลให้การผลิตภาคอุตสาหกรรมปรับดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ 1.9% แม้ว่าภาพรวมไตรมาส 2 จะลดลง -1.1% เป็นผลมาจากขาดคลนวัตถุดิบ

 

ด้านตลาดแรงงานทยอยฟื้นตัวดีขึ้น โดยผู้ประกันตนมาตรา 33 ปรับดีขึ้น 0.5% อยู่ที่ 11.3 ล้านคน  ผู้รับสิทธิ์ว่างงานปรับลดลง  ขณะที่การลงทุนภาคเอกชนปรับเพิ่มขึ้น 1.5%  และขยายตัว 1.3% ในไตรมาส 2 ซึ่งปรับดีขึ้นทุกองค์ประกอบ ทั้งยอดจดทะเบียนรถบรรทุกเชิงพาณิชย์ เครื่องจักร ภาคการก่อสร้าง และภาพการลงทุนเอกชนที่ดีขึ้นเป็นวงกว้าง ส่งผลต่อความเชื่อมั่นด้านการลงทุนดีขึ้น

สำหรับรายจ่ายภาครัฐไม่รวมเงินโอนขยายตัวเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน จากรายจ่ายประจำที่ขยายตัว 17.5% ตามการเบิกจ่ายงบกลางเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการแก้ปัญหา COVID-19 เป็นสำคัญ 

 

นอกจากนี้ รายจ่ายลงทุนของรัฐวิสาหกิจขยายตัวสูง 41.5%ตามการเบิกจ่ายในโครงการโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงาน ขณะที่รายจ่ายลงทุนของรัฐบาลกลางหดตัว -7.7%ตามการเบิกจ่ายของหน่วยงานด้านคมนาคมเป็นสำคัญ หลังจากได้มีการทยอยเบิกจ่ายไปแล้วในช่วงก่อนหน้า

ธปท.ชั่งน้ำหนักปัจจัยเสี่ยงครึ่งปีหลัง -คาดทั้งปีเศรษฐกิจยังขยายตัว 3.3%

ในส่วนของดุลบัญชีเดินสะพัดเดือนมิ.ย.ขาดดุล 1.9 พันล้านดอลลาร์  ลดลงจาก 3.7พันล้านดอลลาร์ในเดือนก่อนหน้า  ซึ่งมาจาก ดุลรายได้ตามการส่งกลับกำไรและเงินปันผลของธุรกิจต่างชาติที่ลดลง , ดุลบริการ ตามรายรับที่เพิ่มขึ้นตามจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ

 

ขณะที่รายจ่ายลดลงตามค่าใช้จ่ายทรัพย์สินทางปัญญา (intellectual property)  ดุลการค้าเกินดุลใกล้เคียงกับเดือนก่อน ดุลการชำระเงินขาดดุล 3.3พันล้านดอลลาร์ ทั้งนี้ไตรมาส2 ขาดดุลบัญชีเดินสะพัด 8.6พันล้านดอลลาร์

 

ด้านอัตราเงินเฟ้อเดือนมิ.ย.อยู่ที่ 7.66% เพิ่มขึ้นจาก  7.10%ในเดือนก่อนหน้า  โดยมาจากราคาพลังงานที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็นสำคัญ โดยอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 2.51%จาก 2.28%ตามราคาอาหารสำเร็จรูป   ,ราคาค่าเล่าเรียนหลังมาตรการช่วยเหลือของรัฐสิ้นสุดลง และราคาค่าโดยสาร โดยไตรมาส3 เงินเฟ้อยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นและจะทยอยลดลงในไตรมาส4

 

ธปท.ชั่งน้ำหนักปัจจัยเสี่ยงครึ่งปีหลัง -คาดทั้งปีเศรษฐกิจยังขยายตัว 3.3%