กสิกรไทยชี้หนี้กลุ่มเปราะบางเพิ่มขึ้น 22.1%

10 มิ.ย. 2564 | 08:46 น.

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ลุ้นเศรษฐกิจขยายตัวเร่งขึ้นในไตรมาส 4 ถ้า 2-3เดือนข้างหน้าอัตราเร่งฉีดวัคซีน 100ล้านโดสได้ตามเป้า-ไม่เกิดคลัสเตอร์ใหญ่ในประเทศ

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยชี้หนี้รายย่อยถดถอย กลุ่มเปราะบางมีสัดส่วนเพิ่มขึ้น 22.1%คงประมาณการจีดีพีปี 2564 ที่ 1.8%บนสมมติฐานรัฐคุมโควิดระลอก3จบในเดือนก.ค.  แนะรัฐออกมาตรการเพิ่มเตรียมรับมืออีก 4 โจทย์ “ภาระทางการคลัง เงินเฟ้อ หนี้ครัวเรือน และต้นทุนธุรกิจขณะกำลังซื้ออ่อนแอ”

กสิกรไทยชี้หนี้กลุ่มเปราะบางเพิ่มขึ้น 22.1%

นางสาวธัญญลักษณ์ วัชระชัยสุรพล รองกรรมการผู้จัดการ เปิดเผยว่า ผลสำรวจหนี้ภาคครัวเรือนหลังเกิดการระบาดของโควิดรอบ 3 พบว่า สถานการณ์หนี้รายย่อยถดถอยลง โดยมีกลุ่มเปราะบางที่เผชิญทั้งปัญหารายได้ลด ค่าใช้จ่ายไม่ลด และภาระหนี้สูงเกินกว่า 50% ต่อรายได้ เพิ่มขึ้นจาก 10.8% ในโควิดรอบ 2 มาที่ 22.1% ซึ่งปัญหาหนี้ครัวเรือนที่สูงขึ้นและน่าจะแตะระดับ 90% ต่อจีดีพีภายในปีนี้ จะมีผลให้ภาคส่วนที่เกี่ยวข้องต้องกลับมาดูแลอย่างจริงจัง หลังผ่านโควิดรอบนี้

กสิกรไทยชี้หนี้กลุ่มเปราะบางเพิ่มขึ้น 22.1%

กสิกรไทยชี้หนี้กลุ่มเปราะบางเพิ่มขึ้น 22.1%

นางสาวณัฐพร ตรีรัตน์ศิริกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด ระบุ การทบทวนประมาณการเศรษฐกิจไทยไตรมาสสองของปีนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคงตัวเลขจีดีพี 1.8%โดยมองการส่งออกดีขึ้น แต่ปรับไส้ในการบริโภคภาคเอกชนและจำนวนักท่องเที่ยว โดยขึ้นอยู่กับสถานการณ์การระบาดของโควิด การเร่งกระจายฉีดวัคซีน ซึ่งในระยะข้างหน้ายังมีความไม่แน่นอน แต่ในอีก 1เดือน(มิ.ย.-ก.ค.) น่าจะเห็นความชัดเจนของจำนวนผู้ติดเชื้อรายวันผ่านจุดสูงสุดมาแล้ว  ถ้าไม่มีการแพร่ระบาดระลอกใหม่และเห็นการจจบระลอก 3ในเดือนก.ค.

ขณะที่อัตราการฉีดวัคซีน( 2วันที่ผ่านมา) ทำได้สูงกว่า 4แสนโดสต่อวัน ซึ่งเป้าหมาย 100ล้านโดสในสิ้นปีแต่ระหว่างทางยังมีความไม่แน่นอน  ถ้าการเร่งฉีควัคซีนเร่งตัวขึ้นจะส่งผลให้ภาคธุรกิจและครัวเรือนมีความเชื่อมั่นมากขึ้นซึ่งอาจจะเห็นตัวเลขเศรษฐกิจขยายตัวเร่งขึ้นในไตรมาสที่ 4 มากกว่าที่เคยประเมินไว้และเป็นปัจจัยบวกต่อเศรษฐกิจไทยในปีนี้และปีหน้า

กสิกรไทยชี้หนี้กลุ่มเปราะบางเพิ่มขึ้น 22.1%

นอกจากเรื่องวัคซีนและการควบคุมสถานการณ์การระบาดของไวรัสแล้ว ภาครัฐยังต้องเตรียมรับมือกับอีก 4 โจทย์สำคัญ ได้แก่ ภาระทางการคลัง เงินเฟ้อ หนี้ครัวเรือน และต้นทุนธุรกิจที่กำลังเพิ่มขึ้น อันทำให้การขับเคลื่อนเศรษฐกิจมีความซับซ้อนมากขึ้น

นางสาวณัฐพร มองว่า ภาระทางการคลังนั้น น่าจะเป็นโจทย์ระยะกลางและระยะยาว แต่ไม่โจทย์ระยะสั้นแม้จะขยับเพดานหนี้สาธารณะบ้าง หากจะมีการใช้เม็ดเงินจากพ.ร.ก.กู้เงิน 5แสนล้านล้านเข้ามาบางส่วน  รวมกับงบขาดดุลประจำปี2564 และพ.ร.ก.กู้เงิน 1ล้านล้านบาทในส่วนที่เหลือ  ระดับหนี้สาธารณะแม้จะเร่งตัวขึ้นน่าจะแตะระดับ  60%ในปี2565

  ถ้าสถานการณ์โควิดทั่วโลกยังไม่จบอาจทำให้ภาครัฐต้องมีภาระดูแลเศรษฐกิจ และการใช้เม็ดเงิน การขาดดุลการคลังในระดับสูงต่อเนื่องอาจจะส่งผลต่อความเชื่อมั่นต่อภาคการคลังในอนาคต   3-5ปีหรือยาวกว่านั้น  หากสถานการณ์โควิดหายไปแล้ว นักลงทุนต่างชาติต้องการเห็นการขาดดุลทางการคลังจะกลับสู่ระดับสมดุล ซึ่งจะสร้างความเชื่อมั่นในอนาคตด้วย

ด้านโจทย์เงินเฟ้อไทยที่เพิ่มขึ้นนั้น แม้จะเป็นปัจจัยชั่วคราวและคงไม่ทำให้ กนง.เปลี่ยนท่าทีนโยบายดอกเบี้ย แต่เงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นดังกล่าว มาในจังหวะที่เศรษฐกิจยังไม่ฟื้นตัว อีกทั้งหากเศรษฐกิจสหรัฐฯ เติบโตได้ดีก็จะทำให้เฟดส่งสัญญาณถอยออกจากนโยบายการเงินผ่อนคลายในปีหน้า ซึ่งสุดท้ายแล้ว จะนำมาสู่ต้นทุนทางการเงิน ผ่านอัตราผลตอบแทนตราสารหนี้ที่เพิ่มขึ้นทั่วโลกรวมถึงไทย กดดันภาคธุรกิจที่เพิ่งจะเริ่มดีขึ้น

กสิกรไทยชี้หนี้กลุ่มเปราะบางเพิ่มขึ้น 22.1%

นางสาวเกวลิน หวังพิชญสุข ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ มองว่าต้นทุนวัตถุดิบที่สูงขึ้นนั้น กระทบต่อธุรกิจค้าปลีก (ซื้อมาขายไป)ในยามไม่ปกติที่โควิดฉุดกำลังซื้อและตลาดมีการแข่งขันสูง ซึ่งผู้ประกอบการส่วนใหญ่เป็นเอสเอ็มอี โดยประเมินเบื้องต้นว่า ราคาสินค้าอุปโภคบริโภคที่เพิ่มขึ้น 1% จะกระทบค้าปลีก SMEs ประมาณ 23,600-23,800 ล้านบาท ภายใต้เงื่อนไขที่ผู้ประกอบการเผชิญข้อจำกัดในการผลักภาระไปให้กับผู้บริโภค ขณะที่มาตรการรัฐมีส่วนช่วยบรรเทาผลกระทบต่อผู้บริโภคและผู้ประกอบการ

“ภาพรวมสถานการณ์ที่ไม่ปกติท่ามกลางโควิด  การเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าอุปโภคบริโภค1%จะซ้ำเติมผู้ค้าปลีกเอสเอ็มอี 24,000ล้านบาท ซึ่งมาตรการรัฐมีส่วนเข้ามาสนับสนุนโดยช่วยลดภาระของผู้ขาย ขณะเดียวกันผู้บริโภคก็มีกำลังในการซื้อสินค้าได้ คือ ส่วนใหญ่ของผู้บริโภคจะมีมาตรการรัฐประคองให้รับผลกรทบน้อยลง  แต่ในส่วนผู้บริโภคที่เข้าไม่ถึงมาตรการ จะต้องซื้อสินค้าแพงขึ้น

กสิกรไทยชี้หนี้กลุ่มเปราะบางเพิ่มขึ้น 22.1%

สำหรับทิศทางธุรกิจค้าปลีกเอสเอ็มอีแนวโน้มอาจจะหดตัว1.8%ซึ่งเป็นการต่อเนื่องเป็นปีที่สอง แต่ 2ปัจจัยที่ต้องจับตาคือ มาตรการที่จะเข้ามาช่วยประคองธุรกิจค้าปลีก จากพ.ร.ก.กู้เงิน 5แสนล้านบาท บวกกับความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่จะผูกพันกับอัตราการฉีดวัคซีน”

 

ในทางตรงข้าม หากเศรษฐกิจดี ปัญหาหรือผลกระทบนี้ คงมีขนาดที่ลดลง ทั้งนี้ ต้องติดตามความเชื่อมั่นของผู้บริโภคหลังจากนี้ ซึ่งจะมีผลต่อเส้นทางการฟื้นตัวของธุรกิจค้าปลีกในช่วงที่เหลือของปี

กสิกรไทยชี้หนี้กลุ่มเปราะบางเพิ่มขึ้น 22.1%