เดินหน้าเก็บภาษีความหวาน 1 ต.ค.นี้

09 ก.ย. 2562 | 07:24 น.

Thansettakij เว็บไซต์ข่าวฐานเศรษฐกิจ ผนวกไลฟ์สไตล์ Start up SMEs อสังหาริมทรัพย์ การเงิน การลงทุน การตลาด เศรษฐกิจ เทคโนโลยี Breaking News อัพเดตข่าวล่าสุดที่นี่

สรรพสามิตเดินหน้า เก็บภาษีความหวาน 1ต.ค.นี้ เผยผู้ประกอบการเริ่มปรับตัวลดปริมาณน้ำตาล แต่เครื่องดื่มน้ำอัดลมบางรายปรับราคาเพิ่ม อ้างต้นทุน

               นายณัฐกร อุเทนสุต ผู้อำนวยการสำนักแผนภาษี ในฐานะรองโฆษกกรมสรรพสามิตเปิดเผยว่า การจัดเก็บรายได้ปีงบประมาณ 2562 กรมสรรพสามิตคาดว่า จะสามารถจัดเก็บรายได้รวม 584,600 ล้านบาทและตั้งเป้าจัดเก็บปีงบประมาณ 2563 ทั้งสิ้น 642,600 ล้านบาท

เดินหน้าเก็บภาษีความหวาน 1 ต.ค.นี้

               สำหรับการจัดเก็บภาษีจากค่าความหวานตามพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.)ภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2560 โดยตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2562 กรณีผู้ประกอบการที่ไม่ปรับตัวหรือปรับลดปริมาณความหวาน ตามที่กำหนด ต้องรับภาระภาษีที่เพิ่มขึ้นทุก 2 ปี(ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2564 และ 1 ตุลาม 2566)เช่น ปัจจุบันเสียภาษี 50สตางค์ต่อลิตร หากไม่ปรับตัว จะเสียภาษีเพิ่ม 1 เท่าตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคมเป็นต้นไป ซึ่งปัจจุบันพบว่า มีผู้ประกอบการทยอยปรับตัวไปบ้างแล้ว ทำให้ภาระภาษีลดลง แต่บางรายปรับราคาเพิ่มตามต้นทุนที่เพิ่มด้วย

อย่างไรก็ตามในหลักการ กรมสรรพสามิตต้องการ ที่จะผลักดันให้ผู้ประกอบการลดการใช้น้ำตาลลง เพื่อสุขภาพของประชาชน โดยเฉพาะผู้สูงอายุ ซึ่ง 1 ปีเศษที่ผ่านมา ตั้งแต่ใช้มาตรการภาษีความหวาน ยังไม่เห็นปริมาณความหวานลดลงมากนัก แต่โลโก้สุขภาพหรือผลิตภัณฑ์ที่ควบคุมความหวาน ปรับเพิ่ม 200-300 รายการจากเดิมอยู่ที่ 60-70 รายการโดยเฉพาะเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นกว่า 200% ขณะเดียวกันมีค่ายน้ำดำได้ปรับลดน้ำตาลจากกว่า 10% คงเหลือ 7.5% ทำให้สินค้ายังคงรสชาติเดิม แต่ความหวานน้อยลง ซึ่งดีต่อสุขภาพ

      ทั้งนี้ กรมสรรพากรได้ร่วมกับศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจัดทำโครงการสำรวจผลจาก การเริ่มบังคับใช้มาตรการภาษีตั้งแต่วันที่ 16 กันยายน 2560 โดยกำหนดภาษีความหวาน เพื่อดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ พร้อมทั้งประเมินผลกระทบต่ออุตสาหกรรมและประชาชน โดยสรุปพบว่า มาตรการภาษีดังกล่าวจูงใจให้กับผู้ประกอบการกลุ่มเครื่องดื่มมีการปรับตัว โดยลดปริมาณความหวานลงค่อนข้างมาก ขณะเดียวกัน มีการเพิ่มเครื่องหมายเพื่อสุขภาพเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 200% นอกจากนี้ยังพบว่า ในส่วนของเครื่องมือที่ไม่ใช่มาตรการทางภาษียังขาดเรื่องการประชาสัมพันธ์และให้ความรู้กับประชาชนเกี่ยวกับมาตรการภาษีความหวาน ซึ่งต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง สำหรับผลศึกษายังพบว่า กลุ่มคนที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป และอายุต่ำกว่า 30 ปีลงมา ให้ความสนใจในมาตรการภาษีความหวาน แต่ระหว่างวัยทำงาน อายุ 30 ไปจนถึงเกือบ 60 ปียังให้ความสนใจน้อย

เดินหน้าเก็บภาษีความหวาน 1 ต.ค.นี้