"สมาคมส่งเสริมเกษตรกรชาวนาอีสาน" ตั้งไข่ ปลดหนี้ชาวนาเป็นศูนย์

24 ก.ค. 2565 | 13:59 น.

สมาคมส่งเสริมเกษตรกรชาวนาอีสาน ตั้งไข่ ปลดหนี้ชาวนาเป็นศูนย์ หลุดพ้นจากหนี้สิน ยึดหลัก ศาสตร์พระราชาของพ่อหลวง แบบเศรษฐกิจพอเพียง อิงโมเดล พ.ร.บ.ประชารัฐฯ ผสมกับ พ.ร.บ.รัฐวิสาหกิจชุมชน ชี้เป็นอนาคตชาวนา มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน พ่วงวิธีปฏิบัติให้ด้วย

"สมาคมส่งเสริมเกษตรกรชาวนาอีสาน" ตั้งไข่ ปลดหนี้ชาวนาเป็นศูนย์

 

นายธีร์วริศ พรพันธวิศ นายกสมาคมส่งเสริมเกษตรกรชาวนาอีสาน เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า สมาคมมีแผนการส่งเสริมโครงการปลดหนี้ชาวนาเป็นสูญ ให้ชาวนาไทยหลุดพ้นจากการเป็นหนี้สิน ได้ยึดหลัก ศาสตร์พระราชาของพ่อหลวง แบบเศรษฐกิจพอเพียง และได้น้อมนำมาใช้ใน "โครงการปลดหนี้ชาวนาเป็นสูญ" โดยใช้คำจำกัดความว่า "ทฤษฎีเทอรัว 3+1.!  ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้ (ตาม พรบ.การจัดประชารัฐสวัสดิการเพื่อเศรษฐกิจฐานรากและสังคมเกษตรกร และ พรบ.วิสาหกิจชุมชน)

 

ข้อที่ 1.ส่งเสริมให้ชาวนารวมกลุ่มกันผู้ปลูกข้าวคุณภาพนาแปลงใหญ่ครบวงจร รวมทั้ง พืช สัตว์ ประมง และด้านอื่นๆ ในชุมชน ให้ครบวงจร เช่นเดียวกัน

 

ข้อที่ 2.ส่งเสริมให้ชาวนารวมกลุ่มกันปลูกใฝ่ เป็นพืชทางเลือก อันดับ 1 ปลูกให้ได้คุณภาพ ใฝ่แปลงใหญ่ครบวงจร รวมทั้ง พืช ผัก ผลไม้ สมุนไพรนาๆพรรณ รวมทั้งกัญชา กัญชง กระท่อม และด้านอื่นๆ ในชุมชน ให้ครบวงจร เช่นเดียวกัน

 

ข้อที่ 3.ส่งเสริมให้ชาวนารวมกลุ่มกันเปิด SMEs ชุมชนร่วมกัน และชาวนาต้องมีหุ้นส่วนใน SMEs ชุมชนด้วย หรือ ใน "ร้านค้าสวัสดิการวิสาหกิจชุมชนและเครือข่าย เพื่อเป็นศูนย์รวม แหล่งรับซื้อ-ขายสินค้า ด้านกสิกรรมของชาวนา และเกษตรกรในพื้นที่ ทั้งในด้านพืช สัตว์ ประมง และด้านอื่นๆในชุมชน ให้ครบวงจร เช่นเดียวกัน

ข้อที่ 3+1.ส่งเสริมให้ความรู้แก่ชาวนาและองค์กรเกษตรกร ได้รับรู้เรื่อง กระบวนการลงทุนในรูปแบบต่างๆ ที่เกษตรกรมีเงินเหลือใช้ หรือพอแบ่งเงินเพื่อการลงทุน ในด้านอื่นๆ หรือ "กองทุนรวมชาวนาไทย" ที่ไม่ต้องใช้แรงงาน และเพื่ออนาคตของครอบครัวในชุมชน ให้ครบวงจร เช่นเดียวกัน ซึ่งจะเป็นทางเลือก ทางรอด ของชาวนา ชาวนาบอกชาวนา สำหรับอนาคต

ชาวนา เพื่อความ มั่นคง มั่งคั่ง และยั้งยืน ของชาวนาไทยตลอดไป

 

 

ทั้งนี้ โครงการนำร่อง SmEs ชุมซน หรือ “ร้านค้าสวัสดิการวิสาหกิจชุมชนและเครือข่าย”  เพื่อปลดหนี้เกษตรกรเป็นสูญ มีแนวทาง ดังรายละเอียดต่อไปนี้

 

ข้อ 1.ใน 1 หมู่บ้านมีครอบครัวเกษตรกร จำนวน 120 ครัวเรือน

 

ข้อ 2.ใน 1 ครัวเรือนของเกษตรกร จำเป็นต้องใช้เงินซื้อกิน วันๆละ 200 บาท คือ ต้องซื้อกินซื้อใข้ในครัวเรือน ในหมู่บ้านชุมชน ทั้งหมดมี 120 ครอบครัว

 

ค่าใช้จ่าย/วันครอบครัว 200 บาท ฉะนั้น ครัวเรือนทั้งหมด x ค่าใช้จ่ายต่อวัน =120 X 200 = 24,000 บาท จากยอดขาย SmEs ชุมซน หรือ ร้านค้าฯ มีรายได้ 24,000 บาท/วัน คิดกำไรที่ 10 % = 2,400 บาท/วัน นำมาคิดบริหารจัดการแบ่งเป็น 6 ข้อ ดังต่อไปนี้

 

ข้อ 1.แบ่งไว้สำหรับบริหารจัดการ 30 % =720 บาท

 

ข้อ 2.แบ่งเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อออกพื้นที่ตรวจเยี่ยมสมาชิกฯ 10%=240 บาท

 

ข้อ 3.แบ่งปั้นผลหุ้นคืนสมาชิก 20 % = 480 บาท

 

ข้อ 4.แบ่งปลดหนี้ให้เกษตรกรที่เป็นสมาชิก 20 % = 480 บาท

 

ข้อ 5.แบ่งออมเงินเป็นสวัสดิการให้สมาชิก 10 % =240 บาท

 

ข้อ 6.แบ่งเป็นค่าภาษีของ SMEs ชุมชน หรือ ร้านค้าฯ 10% = 240 บาท รวมค่าใช้จ่าย 6 รายการ = 100 % เป็นเงินจากกำไรของSmEs ชุมชน หรือ ร้านค้าฯต่อวัน = 2,400 บาท (เฉพาะเรื่องซื้อกินซื้อใช้ของเกษตรกรในครัวเรือนต่อวันเท่านั้น)