ข่าวดี ผู้เลี้ยงกุ้งเฮ บสย.ค้ำประกันเงินกู้ “ธ.ก.ส.” 100%

02 ก.ค. 2565 | 06:35 น.

อัพเดท โครงการลดต้นทุนการผลิตกุ้งทะเลเพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันในอุตสาหกรรมกุ้งทะเลอย่างยั่งยืน ปี 2564 “ครรชิต” แจ้งข่าวดี บสย.ค้ำประกันเงินกู้ ธ.ก.ส. 100% แบบมีเงื่อนไข วงเงิน 3 พันล้านบาท เป้าหมายเกษตรกร 1,000 คน ไม่เกินรายละ 3 ล้านบาท

อัพเดท “โครงการลดต้นทุนการผลิตกุ้งทะเลเพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันในอุตสาหกรรมกุ้งทะเลอย่างยั่งยืน ปี 2564 (คชก.64)"  ขยายระยะเวลา รับสมัครเกษตรกรเข้าร่วมโครงการตั้งแต่บัดนี้ - 31 ธันวาคม 2565 ณ ศูนย์ที่รับผิดชอบโครงการฯ ในพื้นที่  ทั้งนี้เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งทะเลที่สนใจสมัครฯเข้าร่วมโครงการฯ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่: กองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง เว็บไซต์: https://coastalaqua.fisheries.go.th/app/shrimpproject2021/index ล่าสุดมีความคืบหน้า 

 

ครรชิต เหมะรักษ์

 

นายครรชิต เหมะรักษ์ นายกสมาคมเครือข่ายผู้เลี้ยงกุ้งไทยเรื่อง การผ่อนปรนหลักประกันเงินกู้โครงการลดต้นทุนการผลิตกุ้งทะเลฯ(คชก 64) ทางกรมประมง ตัวแทนสมาคมเครือข่ายฯได้เข้าร่วมประชุมคณะอนุกรรมการฟื้นฟูและพัฒนาศักยภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ครั้งที่ 6/2565 ผ่านระบบการชุมทางไกล (27 มิ.ย.65) โดยนายประพันธ์ ลีปายะคุณ รองอธิบดีกรมประมงมอบหมาย นางสุทธินี ลิ้มธรรมมหิศร ผู้อำนวยการกองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง เป็นประธานในที่ประชุม

 

สุทธินี ลิ้มธรรมมหิศร

 

เพื่อรับทราบผลการดำเนินงานของคณะอนุกรรมการฟื้นฟูและพัฒนาศักยภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำครั้งที่ 1 - 28  และโครงการลดต้นทุนการผลิตกุ้งทะเลเพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันในอุตสาหกรรมกุ้งทะเลอย่างยั่งยืน ปี 2564(คชก64) ที่ได้ขยายเวลารับสมัครเกษตรกรเข้าร่วมโครงการฯจนถึง วันที่ 31 ธันวาคม 2565 ที่ศูนย์ประมงฯแต่ละจังหวัดนั้นๆ

 

 

 

สาระการประชุม โดยเฉพาะเรื่องหลักประกันเงินกู้โครงการ คชก 64 ในการติดตั้งโซล่าเซลล์,ระบบควบคุมการเติมอากาศอัจฉริยะและการปรับปรุงระบบฟาร์ม ปูบ่อด้วยพลาสติก PE ฯลฯ(วงเงินกู้ 3,000ล้านบาท เป้าหมาย 1,000 รายๆละไม่เกิน3ล้านบาท ดอกเบี้ย 4%ผ่อนชำระ 5 ปี)  นั้นคณะกรรมการ บอร์ด ธกส ได้มีมติเมื่อวันที่ 26 พ.ค. 65 ให้เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งสามารถใช้หลักประกันจากบรรษัทประกันสินเชื่อขนาดย่อม(บสย.)ได้เต็มวงเงินกู้100%

 

ทั้งนี้ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์เงื่อนไขเพิ่มเติมที่ ธ.ก.ส.ที่กำหนด ในการพิจารณาเงินกู้  เต็ม 100%

 

1.ให้ตรวจสอบข้อมูลเครดิตทุกราย และรายงานข้อมูลเครดิตมีสถานะปกติ กรณีเคยค้างชำระต้องได้รับการแก้ไขจนมีสถานะปกติ

 

2. กรณีเป็นนิติบุคคล ต้องมีงบการเงินที่แสดงต่อกรมสรรพากรในการยื่นรายการภาษีเงินได้ เพื่อใช้ประกอบการพิจารณาสินเชื่อ

 

3. มีผลการวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงินเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารกำหนด

 

ข่าวดี ผู้เลี้ยงกุ้งเฮ  บสย.ค้ำประกันเงินกู้ “ธ.ก.ส.” 100%

 

 

4.มีเงินทุนตนเองสมทบไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ของมูลค่าลงทุนทั้งหมด ตามหลักเกณฑ์ของธนาคาร

 

5. มีตลาดรองรับที่แน่นอนและชัดเจนให้จัดทำประกันสินเชื่อครอบคลุมวงเงินกู้และระยะเวลาคุ้มครองไม่น้อยกว่าระยะเวลาผ่อนชำระหนี้โดยให้ธนาคารเป็นผู้รับผลประโยชน์

 

7 ให้นำเงินสำหรับชำระค่าธรรมนียมค้ำประกัน บสย. ฝากเข้าบัญชีเงินฝากที่เปิดเฉพาะชำระค่าธรรมเนียมค้ำประกัน บสย. ตลอดอายุสัญญาเงินกู้เต็มจำนวนโดยไม่มีข้อผ่อนปรน

 

 

8. กำหนดเงื่อนไขการจ่ายเงินกู้ โดยให้จ่ายเงินกู้ตามความก้าวหน้าของโครงการ และให้ลูกค้าใช้เงินทุนสมทบของตนเองก่อน มี 2 รูปแบบ คือ 1. มีการควบคุม กำกับการใช้เงินกู้อย่างเคร่งครัด และ 2.  กรณีเป็นหนี้ค้างชำระ ให้ใช้เครื่องมือบริหารจัดการหนี้ตามวิธีปฏิบัติของธนาคารอย่างเคร่งครัดซึ่งกรณีที่ขอรับเงินค่าประกันชดเชยจาก บสย. ได้บางส่วนหรือไม่ไใด้ตามวงเงินค้ำประกัน ให้ดำเนินคดีตามกฎหมายโดยทันที

 

ข่าวดี ผู้เลี้ยงกุ้งเฮ  บสย.ค้ำประกันเงินกู้ “ธ.ก.ส.” 100%

 

นายครรชิต กล่าวว่า พิจารณาจากเงื่อนในการที่จะให้ บสย. ค้ำประกัน 100% เพิ่มโอกาสการเข้าถึงสินเชื่อแหล่งเงินทุนในการเลี้ยงกุ้งแก่เกษตรกรยอมรับค่อนข้างยาก ที่จะฝ่าด่าน เครดิตบูโร ธ.ก.ส.บล็อคแต่ละข้อเยอะมาก อย่างไรก็ดี โครงการลดต้นทุนการผลิตกุ้งทะเลเพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันในอุตสาหกรรมกุ้งทะเลอย่างยั่งยืน ปี 2564 (คชก.64)" 

 

ขยายระยะเวลา รับสมัครเกษตรกรเข้าร่วมโครงการตั้งแต่บัดนี้ - 31 ธันวาคม 2565 ณ ศูนย์ที่รับผิดชอบโครงการฯ ในพื้นที่  ทั้งนี้เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งทะเลที่สนใจสมัครฯเข้าร่วมโครงการฯ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่: กองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง เว็บไซต์: https://coastalaqua.fisheries.go.th/app/shrimpproject2021/index หรือ โทร. 0 2-940- 6295 และ 02-561- 3997

 

นายครรชิต กล่าวว่า ในยุคที่น้ำมันแพง ไม่ไหว ต้องใช้นวัตกรรมโซล่าเซลล์มาช่วยเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง ในขณะที่ราคาอาหารก็ปรับตัวขึ้นเช่นกัน รวมทั้งค่าไฟฟ้าอีก ตรงนี้เป็นหนทางหนึ่งที่จะช่วยเกษตรกรลดต้นทุน ก็ต้องขอบคุณ ธ.ก.ส., บสย. และ กรมประมง ที่เข้าใจเกษตรกร ได้มีมติอนุมัติโครงการดีๆ ให้เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งทั่วประเทศ