ซีพีเอฟ แนะ 5 หัวใจเลี้ยงสัตว์ ช่วยเกษตรกรรับมือความท้าทาย ปลอดภัยผู้บริโภค

26 พ.ค. 2565 | 05:57 น.

ซีพีเอฟ แนะ 5 หัวใจเลี้ยงสัตว์ปลอดโรค "พันธุ์ดี-อาหารดี-โรงเรือนดี-การจัดการดี-ป้องกันโรคดี" สร้างต้นทางอาหารปลอดภัย ช่วยเกษตรกรเพิ่มผลผลิต รับมือทุกความท้าทาย ส่งต่อสุขภาพดีแก่ผู้บริโภค

 

น.สพ.ดำเนิน จตุรวิธวงศ์ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ด้านบริการวิชาการสุกร บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ เผยว่า ผู้จากที่บริโภคในปัจจุบันให้ความใส่ใจเรื่องสวัสดิภาพสัตว์ รวมถึงแหล่งที่มาที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม นอกเหนือจากคุณภาพ และความปลอดภัยของอาหาร ซีพีเอฟ จึงมุ่งมั่นยกระดับห่วงโซ่การผลิตเนื้อสัตว์อย่างต่อเนื่อง

 

ซีพีเอฟ แนะ 5 หัวใจเลี้ยงสัตว์ ช่วยเกษตรกรรับมือความท้าทาย ปลอดภัยผู้บริโภค

 

ทั้งนี้ได้ยึดหลักการ "5 หัวใจการเลี้ยงสัตว์" ที่ให้ความสำคัญกับคุณภาพ และมาตรฐานความปลอดภัยตั้งแต่ต้นทาง รวมทั้งนำระบบอัตโนมัติและเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาช่วยดำเนินงานในฟาร์มเลี้ยงสัตว์อัจฉริยะ (smart farm) เพื่อให้ได้ผลผลิตปลอดภัย ปลอดโรค ปราศจากสารตกค้าง ได้มาตรฐาน มีส่วนร่วมสนับสนุนความมั่นคงด้านอาหาร ซึ่งเกษตรกรสามารถนำไปปรับใช้ได้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ช่วยรับมือกับความท้าทายต่าง ๆได้อย่างเข้มแข็ง

 

ซีพีเอฟ แนะ 5 หัวใจเลี้ยงสัตว์ ช่วยเกษตรกรรับมือความท้าทาย ปลอดภัยผู้บริโภค

 

โดย 5 หัวใจในการเลี้ยงสัตว์ นับเป็นหลักการพื้นฐานของการเลี้ยงสัตว์ ประกอบด้วย 

1) พันธุ์ดี หรือ การใช้พันธุ์สัตว์ที่ดี แข็งแรง ไม่มีโรค เป็นต้นทางที่สำคัญของการผลิตเนื้อสัตว์คุณภาพสูง ซีพีเอฟให้ความสำคัญกับการคัดสรรพันธุ์สัตว์ที่ดี แข็งแรง ปลอดโรคที่สำคัญ ควบคู่กับการพัฒนาและปรับปรุงสายพันธุ์สัตว์ที่เหมาะสม เพื่อให้สัตว์เจริญเติบโตได้เต็มที่ตามลักษณะสายพันธุ์ เกษตรกรไม่จำเป็นต้องใช้ฮอร์โมนเร่งการเจริญเติบโต

 

 

ซีพีเอฟ แนะ 5 หัวใจเลี้ยงสัตว์ ช่วยเกษตรกรรับมือความท้าทาย ปลอดภัยผู้บริโภค

 

2) อาหารดี โดยสัตว์ต้องได้รับอาหารที่มีคุณภาพดี อย่างเพียงพอ ซีพีเอฟจึงคัดสรรวัตถุดิบชั้นดี ยังไม่หยุดวิจัยและพัฒนาสูตรอาหารที่เหมาะสมกับสัตว์ในแต่ละช่วงวัย รวมทั้งการเพิ่มมูลค่าและคุณค่าทางโภชนาการในอาหารให้กับผู้บริโภค เช่น การใช้โปรไบโอติก เพื่อเสริมระบบภูมิคุ้มกันให้สัตว์แข็งแรงช่วยให้ไม่ต้องใช้ยาปฏิชีวนะ นอกจากนี้ ยังนำวัตถุดิบที่เป็นแหล่งของโอเมก้า-3 มาเพิ่มคุณค่าโภชนาการในอาหารสัตว์ เช่น เมล็ดแฟลกซ์ (flaxseed) จนได้เป็นผลิตภัณฑ์ หมูชีวา และไก่เบญจา เสริมโอเมก้า-3

 

3) โรงเรือนดี คือการเลี้ยงสัตว์ในโรงเรือนที่เหมาะสม มีระบบการป้องกันโรคที่ดี อย่างการเลี้ยงสุกร ในโรงเรือนระบบปิด Evaporative Cooling System หรืออีแวป ใช้ระบบคอมพิวเตอร์และระบบอัจฉริยะในการควบคุมสภาพแวดล้อมในโรงเรือนที่เหมาะสม ช่วยให้สัตว์มีความเป็นอยู่สบาย กินอาหารได้เต็มที่ เจริญเติบโตดี ไม่เครียด ไม่ป่วย จึงไม่จำเป็นต้องใช้ยาปฏิชีวนะในการรักษา 

 

ซีพีเอฟ แนะ 5 หัวใจเลี้ยงสัตว์ ช่วยเกษตรกรรับมือความท้าทาย ปลอดภัยผู้บริโภค

 

4) การจัดการดี เป็นการจัดการฟาร์มและสภาพแวดล้อมที่ดี โดยยึดหลักมาตรฐานฟาร์มของกรมปศุสัตว์และกรมประมง เพื่อการผลิตสัตว์ที่มีมาตรฐาน ใส่ใจชุมชน ร่วมดูแลสิ่งแวดล้อม เช่น การติดตั้งระบบไบโอแก๊สที่ช่วยลดกลิ่นและได้ก๊าซชีวภาพที่เป็นพลังงานสะอาดมาผลิตกระแสไฟฟ้าใช้ภายในฟาร์ม และมีการนำระบบโซลาเซลล์มาใช้ควบคู่ด้วย

 

5) การป้องกันโรคดี ซีพีเอฟตระหนักดีว่า ระบบความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosecurity) เป็นกระบวนการที่จะช่วยปกป้องฟาร์มให้ปลอดจากโรคระบาดสัตว์และโรคระบาดคน ป้องกันสัตว์พาหะไม่ให้เข้าฟาร์ม บูรณาการระบบอัตโนมัติและเทคโนโลยีดิจิทัลมาช่วยยกระดับความปลอดภัย อาทิ ระบบสังเกตการณ์ทางไกลด้วยระบบกล้องวงจรปิด (CCTV) ช่วยให้สามารถดูแลสัตว์ได้ทุกที่ทุกเวลา ติดตามสุขภาพสัตว์อย่างสม่ำเสมอ ช่วยลดความเสี่ยงจากคนที่ต้องเข้าไปในโรงเรือน ช่วยติดตามการปฏิบัติงานในแต่ละพื้นที่อย่างชัดเจน รวมทั้งมีการตรวจสิ่งปนเปื้อนและเชื้อโรคในห้องปฏิบัติการที่ทันสมัย เพื่อเป็นการเฝ้าระวังและป้องกันโรคอย่างต่อเนื่อง

 

ซีพีเอฟ แนะ 5 หัวใจเลี้ยงสัตว์ ช่วยเกษตรกรรับมือความท้าทาย ปลอดภัยผู้บริโภค

 

นอกจากนี้ ทุกกระบวนการผลิตในโรงงานผลิตเนื้อสัตว์ ตั้งแต่โรงงานชำแหละ โรงตัดแต่ง โรงงานแปรรูป จนถึงศูนย์กระจายสินค้า ซีพีเอฟคำนึงถึงความปลอดภัยอาหารเป็นสำคัญ มีการตรวจเชื้อและสิ่งแปลกปลอมเพื่อให้มั่นใจว่าผลิตภัณฑ์ปลอดภัย ไม่มีการปนเปื้อน และได้รับการรับรองมาตรฐานควบคุมกระบวนการผลิต เช่น ระบบประกันคุณภาพ (GMP) และระบบการวิเคราะห์อันตรายและจุดวิกฤตที่ต้องควบคุมในการผลิตอาหาร (HACCP) จึงเป็นการสร้างความมั่นใจในการส่งมอบผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพให้กับลูกค้า ตรวจสอบย้อนกลับได้ถึงต้นทางกระบวนการผลิต