วิธีลงทะเบียนทางด่วนแก้หนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทย ผ่านช่องทางออนไลน์ดูเลย

02 พ.ค. 2565 | 17:05 น.

วิธีลงทะเบียนทางด่วนแก้หนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทย ผ่านช่องทางออนไลน์ได้ตลอด 24 ชั่วโมง เช็ครายละเอียดที่นี่

จากกรณีที่ ธนาคารแห่งประเทศไทย ปรับโครงการ ทางด่วนแก้หนี้ให้สามารถช่วยเหลือ ลูกหนี้ธุรกิจ ได้ทั่วถึงและสอดคล้องกับลักษณะปัญหาที่หลากหลายได้มากขึ้น

 

ทางด่วนแก้หนี้มีอะไรใหม่?

  • “ทางด่วนแก้หนี้” เป็น “ช่องทางเสริม” ในลักษณะออนไลน์ เพื่อให้ประชาชนที่ไม่ได้รับความช่วยเหลือจากผู้ให้บริการหรือเจ้าหนี้ หรือได้รับความช่วยเหลือ แต่เงื่อนไขไม่เหมาะสมกับความสามารถในการชำระหนี้ สามารถแจ้งปัญหาและขอปรับเงื่อนไขการชำระหนี้ได้
  • เพื่อสนับสนุนให้มาตรการแก้หนี้ระยะยาว (3 กันยายน 2564) สามารถช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยและธุรกิจที่ได้รับผลกระทบ ให้เข้าถึงการปรับโครงสร้างหนี้ที่สอดคล้องกับรายได้ภายใต้สถานการณ์ที่ไม่แน่นอนสูง แบงก์ชาติจึงได้ปรับปรุงโครงการทางด่วนแก้หนี้ให้สามารถช่วยเหลือลูกหนี้ธุรกิจได้ทั่วถึงและสอดคล้องกับลักษณะปัญหาที่หลากหลายได้ดีขึ้น ดังนี้

 

ลูกหนี้ธุรกิจที่

  •  มีเจ้าหนี้หลายราย
  •  มีคุณสมบัติตามที่กำหนด เช่น วงเงินรวมตั้งแต่ 250 ล้านบาทขึ้นไป
  •  ประสบปัญหาในการเจรจาปรับโครงสร้างหนี้ทีละราย (แก้หนี้แบบเดี่ยว) เช่น ใช้เวลานาน หรือไม่สามารถทำได้ครบทุกราย
  • สามารถลงทะเบียนขอปรับโครงสร้างหนี้กับเจ้าหนี้หลายรายพร้อมกันได้ในคราวเดียว  ตั้งแต่วันนี้ถึง 31 ธันวาคม 2566
  • ลูกหนี้ธุรกิจอื่น ที่นอกเหนือจากข้อ 1 และมีปัญหาการเจรจาปรับโครงสร้างหนี้ สามารถลงทะเบียนแจ้งปัญหาผ่านทางด่วนแก้หนี้ รวมถึงสามารถแจ้งขอรับคำปรึกษาเกี่ยวกับการแก้ปัญหาหนี้ และคำแนะนำอื่น ๆ เพิ่มเติม ผ่าน “โครงการหมอหนี้เพื่อประชาชน”

 

 

วิธีลงทะเบียนทางด่วนแก้หนี้

 

วิธีลงทะเบียนทางด่วนแก้หนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทย ผ่านระบบออนไลน์ ดังนี้

  • ยื่นคำขอความช่วยเหลือในระบบทางด่วนหนี้
  • ภายใน 3-4 วัน หลังจากลงทะเบียนสำเร็จ แบงก์ชาติส่งเรื่องให้ผู้ให้บริการทางการเงินที่เข้าร่วมทางด่วนแก้หนี้
  • ภายใน 14 วัน หลังจากผู้ให้บริการทางการเงินรับคำขอจากแบงก์ชาติ รอรับโทรศัพท์จากผู้ให้บริการทางการเงิน
  • สามารถตรวจสอบสถานะผ่านระบบทางด่วนแก้หนี้ภายหลังจากลงทะเบียนที่สำเร็จ
  • สามารถโทรศัพท์แจ้ง 1213 หากไม่ได้รับการติดต่อหลังจากลงทะเบียนเกิน 18 วัน หรือ สถานะคำขอ/ ผลการพิจารณา/แนวทางความช่วยเหลือไม่ตรงกับข้อเท็จจริง.

 

ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย