เจอ-แจก-จบ คืออะไร?สปส. แจงรายละเอียดทั้งหมดอ่านที่นี่

03 มี.ค. 2565 | 05:02 น.

เจอ-แจก - จบ คืออะไร? หลัง กระทรวงสาธารณสุข ต้องการให้มีการจัดการ โควิด 19 จากโรคระบาดใหญ่ (Pandemic) เป็น "โรคประจำถิ่น" (Endemic) ดีเดย์ 1 มี.ค.ที่ผ่านมา

เจอ - แจก -จบ กระทรวงสารณสุข ต้องการให้มีการจัดการโควิด 19 จากโรคระบาดใหญ่ (Pandemic) เป็นโรคประจำถิ่น  (Endemic) คือ โรคลดความรุรนแรงลง เพื่อมีระบบการรักษาที่มีประสิทธิภาพ และ ประชาชนมีภูมิต้านทานที่เพียงพอ หรือ โรคไม่ได้มีภาวะอันตราย

 

ยังมีประชาชนยังไม่เข้าใจ เจอ - แจก- จบ คืออะไร? สำนักงานประกันสุขภาพ หรือ สปสช. ได้โพสต์ข้อความว่า เจอ-แจก-จบ เป็นนโยบายของกระทรวงสาธารณสุข เพื่อรักษาผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่ไม่มีอาการแบบผู้ป่วยนอกด้วยระบบ Tele-health โดย หลังจากผู้ที่สงสัยป่วยโควิด-19 ตรวจ ATK แล้วหากพบผลเป็นบวก

 

 (เจอ) ไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลตามสิทธิ แพทย์จะพิจารณาจ่ายยารักษาตามอาการ 3 สูตร (แจก) ได้แก่

 1.ยาฟ้าทะลายโจร

 2.ยารักษาตามอาการ เช่น ยาลดไข้ แก้ไอ ลดน้ำมูก

 

 3.ยาฟาวิพิราเวียร์ (การจ่ายยาขึ้นอยู่กับข้อบ่งชี้ของแพทย์) แพทย์จะแนะนำการดูแลรักษาต่อไป จ่ายยาแล้วให้กลับมากักตัวที่บ้าน

 

(จบ) แต่หน่วยบริการยังให้ผู้ป่วยดูแลป้องกันตนเองเหมือนเดิม และติดตามอาการ 1 ครั้งใน 48 ชั่วโมง  การดูแลผู้ป่วยโควิด 19 แบบผู้ป่วยนอก (OPD) เริ่มวันที่ 1 มี.ค.2565 โดยจะใช้การรักษาแบบผู้ป่วย (OPD) มาเสริม สำหรับผู้ป่วยที่ไม่มีอาการและไม่มีภาวะเสี่ยง สามารถรักษาแบบ OPD และแยกกักตัวเองที่บ้านได้ โดยระบบการดูแลผู้ป่วยโควิด-19 การรักษาจะมีการติดตามประเมินอาการ 48 ชั่วโมง หากอาการดีขึ้นทุกอย่าง ก็จะให้ผู้ป่วยแยกกักตัวที่บ้านต่อจนครบกำหนดระยะเวลากักตัว

 

 

เจอ แจก จบ

สำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะเสี่ยง มีโรคประจำตัว เมื่อแพทย์ตรวจมีอาการไม่รุนแรงก็ให้เข้าระบบรักษาที่บ้าน (Home Isolation หรือ HI) หรือการรักษาในระบบชุมชน (Community Isolation หรือ CI), Hospitel และ Hotel Isolation แต่หากมีอาการรุนแรงมาก มีภาวะเสี่ยงจะถูกคัดแยกไปที่โรงพยาบาล

 

สำหรับการไปรับบริการแบบผู้ป่วยนอกของแต่ละสิทธิรักษา มีดังนี้

  • สิทธิบัตรทอง 30 บาท (สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ) รักษาทุกที่ตามนโยบายยกระดับบัตรทอง สามารถเข้ารับบริการในระบบบริการปฐมภูมิที่ไหนก็ได้ทั่วประเทศ โดยที่หน่วยบริการจะไม่มีการเรียกให้กลับไปรับใบส่งตัวมาเหมือนในอดีต

ตัวอย่างหน่วยบริการปฐมภูมิ เช่น สถานีอนามัย, โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล (รพ.สต.), หน่วยบริการปฐมภูมิของโรงพยาบาล, ศูนย์สุขภาพชุมชน ศูนย์บริการสาธารณสุข รวมถึง คลินิกชุมชนอบอุ่น เป็นต้น

 

  • สิทธิประกันสังคม ไปโรงพยาบาลตามสิทธิหรือโรงพยาบาลที่ลงทะเบียนเลือกไว้ สอบถามเพิ่มเติม สายด่วน 1506

 

  •  สิทธิข้าราชการ ไปโรงพยาบาลรัฐหรือสถานพยาบาลภาครัฐได้ทุกแห่ง

 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 1330 ตลอด 24 ชม.

 

ที่มา: สปสช.