วิกฤตรัสเซีย-ยูเครน "ไทย" ต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง หาคำตอบได้ที่นี้

25 ก.พ. 2565 | 08:42 น.

วิกฤต รัสเซีย-ยูเครน กระทบกับเศรษฐกิจโลกอย่างไรบ้าง  ไทยต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง หาคำตอบได้ที่นี้ ด้านรองปธ.หอการค้าชี้ เอกชนติดตามข่าวสารอย่างใกล้ชิด โดยการสั่งซื้อและการขนส่งยังเป็นไปตามปกติเนื่องจากสินค้าอาหารเป็นสินค้าจำเป็น

นายวิศิษฐ์ ลิ้มลือชา รองประธานกรรมการหอการค้าไทยและนายกกิติมศักด์สมาคมผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูป เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ”ถึงวิกฤตสงครามรัสเซีย-ยูเครนที่ส่งเค้าจะรุนแรงขึ้น หลังรัสเซียเปิดฉากโจมตียูเครน ทั้งนี้เอกชนไทยได้วิเคราะห์ถึงผลกระทบจากเหตุการณ์ดังกล่าวไว้ 2 กรณี คือ   กรณียังไม่มีสงคราม   แน่นอนว่าราคาสินค้าพลังงาน สินแร่ และสินค้าโภคภัณฑ์ จะปรับสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องจากปัจจัยอื่น

นายวิศิษฐ์ ลิ้มลือชา รองประธานกรรมการหอการค้าไทยและนายกกิติมศักด์สมาคมผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูป

แต่หากกรณีเกิดสงครามสิ่งที่จะส่งผลกระทบคือกระทบต่อ Supply ของสินค้าทุกประเภท ทั้งน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ สินแร่โลหะต่างๆ และสินค้าโภคภัณฑ์  ซึ่งมาตรการคว่ำบาตรใหม่ๆ จะยิ่งทำให้สภาวการณ์ย่ำแย่ลงประเทศต่างๆ ในโลกอาจต้องเผชิญกับภาวะที่ต้องเลือกข้าง รัสเซียหรือตะวันตก นอกจากนี้ยัง ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกทั้งด้านพลังงาน แหล่งเกษตรกรรม ความปั่นป่วนทางตลาด

 

เปิด7ข้อที่ทำให้รัสเซียเป็น1 อภิมหาอำนาจด้านพลังงานของโลก

  1. รัสเซียที่เป็นผู้ครอบครองทรัพยากรธรรมชาติเป็นจำนวน 1 ใน 3 ของทั้งโลก
  2. รัสเซียเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 5 ของยุโรป และมีเศรษฐกิจที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 11 ของโลก
  3. รัสเซียอุดมไปด้วยเชื้อเพลิงฟอสซิล สินแร่ต่างๆ และป่าไม้ ทำให้รัสเซียเป็นผู้ครอบครอง 30% ของทรัพยากรธรรมชาติที่ มีทั้งหมดในโลก ‘อภิมหาอำนาจพลังงานของโลก’
  4. รัสเซียเป็นผู้ครอบครองแหล่งสำรองก๊าซธรรมชาติรายใหญ่ที่สุดของโลก
  5. รัสเซียเป็นผู้ครอบครองแหล่งสำรองน้ำมันรายใหญ่อันดับ 8 ของโลก เป็นผู้ครอบครองแหล่งสำรองหินน้ำมันรายใหญ่ ที่สุดของยุโรป
  6. รัสเซียเป็นผู้ส่งออกน้ำมันรายสำคัญ โดยส่งออกมากที่สุดเป็นอันดับ 2 ของโลก ที่ 4.65 ล้านบาร์เรลต่อวัน คิดเป็นสัดส่วน 11% ของปริมาณการส่งออกทั้งหมด
  7. รัสเซียยังเป็นผู้ครอบครองแหล่งสำรองถ่านหินรายใหญ่อันดับ 2 ของโลก

วิกฤตรัสเซีย-ยูเครน  "ไทย" ต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง หาคำตอบได้ที่นี้

ทั้งนี้ส่งผลกระทบที่เกิดขึ้นจากสงคราม2ประเทศที่มีต่อสินค้าเกษตรและผลผลิตทางการเกษตร และราคาสินค้าเกษตรโดยเฉพาะธัญพืช นั้น ต้องบอกว่า ความเสียหายจากสงครามจะเกิดขึ้นในพื้นที่ความขัดแย้งที่ตั้งอยู่บริเวณประเทศยูเครนและพรมแดนรัสเซียทางตอนใต้ ซึ่งเป็นแหล่งเพาะปลูกสำคัญ กระทบต่อ Supply สินค้าโภคภัณฑ์ และสินค้าจะมีแพงขึ้น  อาจส่งผลกระทบต่อความมั่นคงด้านอาหารในอนาคต

ชี้ความปั่นป่วนในตลาด อัตราเงินเฟ้อ และการเลือกข้างทางการเมือง

แน่นอนว่าความไม่แน่นอนส่งผลต่อความเคลื่อนไหวของธนาคารกลางสหรัฐฯ ก็มีแนวโน้มที่จะส่งผลกระทบต่อหุ้นต่อไป ซึ่งเฟดเองส่งสัญญาณว่าจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมที่จะมีขึ้นในเดือนมีนาคมเพื่อลดอัตราเงินเฟ้อ  อาจจะส่งผลให้ตลาดที่กำลังปั่นป่วนเกี่ยวกับสถานการณ์ยูเครน ผู้คนก็เริ่มวิตกกังวลและเริ่มถ่ายโอนทรัพย์สินให้มาอยู่ในสินทรัพย์ที่มีความมั่นคง ปลอดภัย และ ได้รับการยอมรับทั่วโลกอย่างดอลลาร์และทองคำมากขึ้น ดังนั้นเราจะได้เห็นเงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นและทองคำมีราคาสูงขึ้น

“รัสเซีย” บุกยึด “ยูเครน” จะกระทบไทยอย่างไรบ้าง?

1.ราคาน้ำมันในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้น JP Morgen คาดว่าราคาน้ำมันจะปรับขึ้นไปอยู่ที่ 150 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ราคา WTI (West Texas Intermediate) เป็นน้ำมันดิบปรับตัวสูงขึ้นทั่วโลก ไทยก็ต้องใช้น้ำมันแพงขึ้นส่งผลกระทบภาวะ เงินเฟ้อ

2. ราคาสินค้าเกษตรปรับสูงขึ้น ยูเครน รัสเซีย และยุโรปเป็นประเทศผลิตข้าวโพด ข้าวสาลี สินค้าเกษตรส่วนใหญ่ของโลก จะปรับสูงขึ้น ทำให้ราคาอาหารโลกปรับสูงขึ้น รวมถึงราคา ปุ๋ย เหล็ก ทองคำเพิ่มขึ้นเช่นกัน ส่งผลทำให้เงินเฟ้อโลก เพิ่มขึ้น 7.2%

3. GDP โลกลดลง 0.9% การค้าโลกจะชะลอตัว การส่งออกไทยไปตลาดโลกได้รับผลกระทบ

4. การส่งออกไทยได้รับผลกระทบ ไทยส่งออกไปยูเครนและรัสเซียปีละ 800 ล้านเหรียญ หรือประมาณ 26,000 ล้านบาท โดยส่งออกไปยูเครนปีละ 3 พันล้านบาท ที่เหลือเป็นส่งออกไปรัสเซีย หากเกิดสงครามตัวเลขส่งออกได้รับผลกระทบแน่ และอาจกระทบไปต่อการส่งออกไปยังตลาดสหภาพยุโรปด้วย

มูลค่าการส่งออกของไทยและรัสเซียปี2565

 ภาพรวมเศรษฐกิจและรายได้จากการขายพลังงาน มีส่วนช่วยหนุนการส่งออกของไทยไปยังรัสเซียในปี 2565 คาดว่าจะ เติบโต 7-8% จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจรัสเซีย จาก ความต้องการบริโภคสินค้าเพิ่มต่อเนื่องจากปี 2564 ที่ขยายตัว 41.68% มีมูลค่า 1,027 ล้านดอลาร์สหรัฐ

โดย กลุ่มสินค้าอุตสาหกรรมครองส่วนแบ่งการส่งออกจากไทยกว่า 80% ประกอบด้วย 1.สินค้า กลุ่มรถยนต์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบเป็นสินค้าหลัก สัดส่วน 31.26% ของการส่งออกทั้งหมดของไทยไป รัสเซีย 2. ผลิตภัณฑ์ยาง 10.37% 3. เครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องจักรกล 5.26% 4. เม็ดพลาสติก 4.22% 5. เครื่องปรับอากาศ และส่วนประกอบ 4.14% 6. อัญมณีและเครื่องประดับ 2.14% เป็นต้น - กลุ่มสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร มีสัดส่วนส่งออกรวม 9.98% สินค้าที่ส่งออก ได้แก่ 1. ผลไม้กระป๋อง และแปรรูป 4.49% 2. อาหารทะเลกระป๋อง และแปรรูป 1.90% 3. กลุ่มสินค้าเกษตรกรรม มีสัดส่วน 6.90% 4. ยางพารา 3.21% 5. ผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็ง และแห้ง 0.85% 6. ข้าว 0.35

“ปัจจุบันสมาชิกผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูปมีการติดตามข่าวสารเรื่องเหตุการณ์สถานการณ์ความรุนแรงของประเทศรัสเซีย และยูเครน  การสั่งซื้อและการขนส่งยังเป็นไปตามปกติเนื่องจากสินค้าอาหารเป็นสินค้าจำเป็นที่มีความต้องการอย่าง ต่อเนื่องโดยเฉพาะอาหารสำเร็จรูปที่เก็บรักษาได้ระยะนาน เช่น ปลากระป๋อง สับปะรดกระป๋อง สมาคมผู้ผลิตอาหารส าเร็จรูป 25 กุมภาพันธ์ 2565 8 สำหรับการซื้อขายเป็นรูปแบบ FOB และ CIF ในบางรายที่ทางลูกค้าหาสายเรือไม่ได้ สำหรับค่าเงินที่ตกลงการซื้อขายอยู่ในรูป สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกา และมีการโอนมัดจำก่อนส่งของ30-70% และจากสถานการณ์ระหว่างประเทศรัสเซียและยูเครนอาจส่งผลต่อราคาน้ำมันและอัตราเงินเฟ้อของประเทศของรัสเซียและ ยูเครน ซึ่งในระยะเวลาสามเดือนสินค้าบางอย่างที่การส่งออกไปยังรัสเซียและยูเครนถูกชะลอและลดลงไปบ้าง โดยเฉพาะกลุ่มสินค้าฟุ่มเฟือยทั้งหลาย  ส่วนสินค้าจำเป็นอุปโภคบริโภคขั้นพื้นฐานโดยเฉพาะสินค้าอาหารคิดว่าไม่น่าจะมีปัญหา ยังคงส่งออกได้ตามปกติ”