นายกรัฐมนตรี สั่ง พลังงาน รับซื้อไฟฟ้าจากวัสดุปาล์ม

16 พ.ย. 2564 | 10:50 น.

นายกรัฐมนตรี สั่ง “พลังงาน-มหาดไทย” เร่งกําหนดนโยบายการรับซื้อไฟฟ้าจากวัสดุเหลือใช้จากโรงสกัดน้ํามันปาล์มมาเป็นพลังงานทางเลือกเป็นการเฉพาะเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า ไม่ให้เป็นภาระค่าไฟฟ้าโดยรวมของประเทศ

ในการประชุมคณะรัฐมนตรีนอกสถานที่อย่างเป็นทางการ ณ จังหวัดกระบี่ ระหว่างวันที่ 15-16 พฤศจิกายน 2564 มีรายงานด้วยในการประชุมครั้งนี้ เลขาฯสภาพัฒน์ ได้มีหนังสือที่นร. 1114/22564 ถึงเลขาธิการคณะรัฐมนตรี แจ้งผลการประชุมและข้อสั่งการนายกฯ ระหว่างประชุมกับผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้แทนภาคเอกชน และผู้บริหารท้องถิ่น เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน (ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง สตูล) เมื่อวันที่ 16 พ.ย. 2564 ระหว่างเวลา 09.15-10.15 น. ห้องประชุมโภคีธรา แกรนด์ บอลรูม โรงแรมโภคีธรา กอล์ฟ แอนด์ สปา รีสอร์ท อำเภอเมืองกระบี่ จังหวัดกระบี่

โดยทางด้านการเกษตรนั้นขอรับการสนับสนุนเรื่องการพัฒนาอุตสาหกรรมปาล์มน้ํามันและยางพารากลุ่มจังหวัด ภาคใต้ฝั่งอันดามันทั้งระบบแบบยั่งยืน โดยให้สํานักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กําหนดนโยบายการรับซื้อไฟฟ้า โดยให้มีการรับซื้อไฟฟ้าจากวัสดุเหลือใช้จากโรงสกัดน้ํามันปาล์มมาเป็นพลังงานทางเลือกเป็นการเฉพาะ เช่น ทะลายปาล์ม กะลาปาล์ม ก๊าซชีวภาพจากน้ําเสีย เป็นต้น มาผลิตกระแสไฟฟ้า ซึ่งพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี มีข้อสั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการ ดังต่อไป

1.ให้กระทรวงพลังงานร่วมกับกระทรวงมหาดไทย และหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องรับไปพิจารณาในรายละเอียดการกําหนดนโยบายการรับซื้อไฟฟ้าจากวัสดุเหลือใช้จากโรงสกัด น้ํามันปาล์มมาเป็นพลังงานทางเลือกเป็นการเฉพาะ เช่น ทะลายปาล์ม กะลาปาล์ม ก๊าซชีวภาพจากน้ําเสีย เป็นต้น มาผลิตกระแสไฟฟ้า

โดยดําเนินการให้สอดคล้องกับสถานการณ์ต้นทุนและเทคโนโลยีการผลิตไฟฟ้า จากเชื้อเพลิงพลังงานทดแทนแต่ละประเภท เพื่อไม่ให้เป็นภาระค่าไฟฟ้าโดยรวมและเสนอคณะกรรมการกํากับกิจการพลังงาน (กกพ.) พิจารณาตามขั้นตอนต่อไป

2.ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สถาบันการศึกษาในพื้นที่ ภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องรับไปพิจารณาในรายละเอียดการพัฒนาการประมงในอ่าวพังงาอย่างยั่งยืน (พ.ศ. 2566 - 2570) (Andaman Sustainable Fisheries Development Project, 2023 - 2027) หากมีแผนงาน/โครงการ/กิจกรรมที่มีความจําเป็นเร่งด่วนและพร้อมดําเนินการ ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ประสานสํานักงบประมาณเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณตามขั้นตอนต่อไป

3.ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สถาบันการศึกษาในพื้นที่ ภาครัฐและเอกชน ที่เกี่ยวข้องรับไปพิจารณาในรายละเอียดการส่งเสริมการเลี้ยงแพะและแปรรูปผลิตภัณฑ์แบบครบวงจร ตามมาตรฐานอาหารฮาลาล โดยให้สอดคล้องกับแนวทางการส่งเสริมการปรับโครงสร้างอาชีพเกษตรกร สวนยางและปาล์มน้ํามัน (ส่งเสริมการเลี้ยงแพะ) ที่นําอาชีพด้านการเลี้ยงแพะมาเป็นอาชีพเสริมเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงทางอาหาร และสร้างรายได้ให้กับเกษตรกร รวมทั้งให้พิจารณาจัดตั้งธนาคารแพะ หากมีแผนงาน/โครงการ/กิจกรรมที่มีความจําเป็นเร่งด่วนและพร้อมดําเนินการ ให้กระทรวงเกษตรและ สหกรณ์ประสานสํานักงบประมาณเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณตามขั้นตอนต่อไป