แถลงประเด็นร้อน ราคา “ข้าวเหนียว” ต่ำสุดในรอบกว่า 20 ปี

12 ส.ค. 2564 | 09:11 น.

เก้าอี้ร้อน “ปราโมทย์” นายกสมาคมชาวนาและเกษตรกรไทย โต้เดือด โชว์ผลงานเพียบ อุปนายก สวนหมัดตรง โดนวงการอัดยับเป็นลูกช่างขอ เป็นหนังหน้าไฟ ทราบกันหรือไม่ เลขาสมาคม ส่งซิกอาจจะโดนปรับลดประกันรายได้ข้าว โควิดตัดตอน “เดชา” เฉ่งยับเอาแต่ได้   ไม่ดูสถานการณ์โลก

เป็นเรื่อง! ปมร้อน ประเด็นร้อน ราคา “ข้าวเหนียว” ต่ำสุดในรอบกว่า 20 ปี ชาวนาโพสต์เดือด ในกลุ่มเฟซบุ๊ห “รวมพลคนทำนา”สมาชิก 4.5 หมื่น คน  โพสต์ถึงราคาข้าวเหนียว ร้องหา สมาคมชาวนาและเกษตรกรไทย ถึง สภาเกษตรกรแห่งชาติ หายไปไหน ทราบหรือไม่ว่าข้าวราคาตกต่ำ ขณะที่ราคาปุ๋ยแพง ข้าวสารราคาแพง สวนทางกับข้าวเปลือกราคาถูก จากกรณีดังกล่าวนี้

 

ปราโมทย์ เจริญศิลป์

 

นายปราโมทย์ เจริญศิลป์ นายก สมาคมชาวนาและเกษตรกรไทย เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า ขอให้ชาวนาเข้าใจว่าวิกฤตินี้ลำบาก สมาคมเข้าใจ ซึ่งตัวเองก็ช่วยมาตลอด ประสานงานกับภาครัฐให้ตลอด ทั้งกรมการข้าว กรมการค้าภายใน กรมการค้าต่างประเทศ ทั้งท่าน จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ และ ท่านเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ล่าสุดกำลังประสานไปที่กระทรวงมหาดไทยให้ลงมาช่วย ซึ่งมีหลายที่ได้ประสานไป พร้อมกับประสานไปยังนายกรัฐมนตรีให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ดำเนินตามที่สมาคมได้ร้องขอไปถ้าต้องการอะไรจะเรียกสมาคมและผู้บริหารสมาคมเข้าพบในเร็วๆ นี้

 

 

“การแก้ปัญหาเรื่องข้าวจะหาทางไหน เราก็เปรียบเหมือนมดตัวเล็กๆ ตัวหนึ่ง ไม่ใช่จะสร้างรังให้ใหญ่ไม่ใช่ เพราะคนที่ใหญ่กว่าเรา ก็คือ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งถ้าส่งออกไม่ได้ ก็ได้คุยกับนายกสมาคมส่งออกข้าวไทย ถึงสถานการณ์ข้าวในขณะนี้เวียดนามก็ส่งข้าวได้ ผลผลิตข้าวก็ดี ที่ผ่านมาก็ได้ติดต่อไปยังกรมการค้าต่างประเทศ ให้ช่วยประสานงานว่าตลาดไหนต้องการข้าวพื้นนุ่ม ข้าวแข็งให้แจ้งมา”

 

นายปราโมทย์ กล่าวว่า การที่จะออกมาเดินขบวน ผมถามว่าได้อะไร เราต้องคำนึงถึงประเทศชาติ ซึ่งตอนนี้ประเทศชาติก็พังอยู่แล้ว จะให้พังไปถึงไหน เกษตรกร หรือชาวนา ก็ต้องเข้าใจ ไม่ใช่จะตะแบงเอาเพียงอย่างเดียวก็ไม่ได้ ต้องให้ความเป็นธรรมแล้วก็รู้ว่าเกิดอะไรขึ้นที่จะสามารถทำได้และทำไม่ได้

 

ล่าสุดทางสมาคมได้ทำหนังสือ แล้วเข้าร่วมหารือ กับท่านจุรินทร์ ฯ จนมี ประกันรายได้ รอบ3 ไม่ได้นิ่งอยู่เฉย

 

ล่าสุดทำหนังสือ เดินหน้าโครงการประกันรายได้ข้าว ปี3

 

เสนอแผนแก้ปัญหาข้าวทั้งระบบ

หลังเจรจา

 

ด้านนายสานิตย์ จิตต์นุพงศ์ อุปนายกและในฐานะประธานยุทธศาสตร์สมาคมชาวนาและเกษตรกรไทย กล่าวว่า  ทางสมาคมจะมีรูปสวยๆ กับนายกรัฐมนตีและ ชาวนากับรัฐมนตรี เบื้องหลังมีการโต้เถียงกันหนักหนาเสมอ สมาคมชาวนาและเกษตรกรไทย เป็นหนังหน้าไฟบ้าง เป็นลูกอีช่างขอ บ้าง โดนวิจารณ์ว่าการที่อุตสาหกรรมข้าวไทย ไม่พัฒนา เพราะ ไม่พัฒนาตามโลกไม่ทัน ยังดีที่สุดท้าย รัฐมนตรีเข้าใจยังดีที่ มีสมาชิกเห็นด้วยกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

 

เดชา นุตาลัย

 

ด้านนายเดชา นุตาลัย อุปนายกสมาคมชาวนาและเกษตรกรไทย  กล่าวว่า ขาดทุนตรงไหน จะเอาแต่ได้   ไม่ดูสถานการณ์โลก  มีชาวนาหลายคนในกลุ่มนี้ เป็นนักเลงคีย์บอต พวกผมทำงานกันเหนื่อย เงินเดือนไม่มี ใช้เงินตัวเองทั้งนั้น  แทนที่พวกคุณจะขอบคุณผม  แต่หลายคน ด่าพวกเราด้วยถ้อยคำเสมือนผู้ขาดการศึกษา ผมคนพุทธ  ศาสดาผมสอนว่า "ไม่รู้ ต้องถามผู้รู้”  การใช้ถ้อยคำ ด่าผู้อื่น โดยที่ไม่เป็นความจริง อาจทำให้ซวยได้

 

“ผมก็เป็นชาวนาเหมือนพวกคุณ เวลาร่วมงานกับหน่วยงานที่เชิญมา ผมก็ยอมเสียงานตัวเองไปร่วม  แต่เวลา"รบ"  ผมก็ไม่สนหรอกว่า จะเป็นนายกหรือเป็นรัฐมนตรี  หากพวกผม ซึ่งเป็นชาวนาหรือเสียผลประโยชน์ ผมก็ไม่ยอมเหมือนกัน..ถามกลับ พวกนักเลงคีย์บอต  ท่านช่วยอะไรชาวนาบ้าง? .อ่านเอกสารให้จบ  บางครั้ง เราก็ต้องรอให้เป็น  เขาได้ไม่ว่า เราคุยไม่รู้เรื่อง”

ธีรสินทร์ ธนชวโรจน์

 

ปิดท้ายนายนายธีรสินทร์ ธนชวโรจน์ เลขาธิการสมาคมชาวนาและเกษตรกรไทย กล่าวว่า ตอนนี้ราคาทุกพันธุ์ข้าวตกต่ำ และ มีปัญหาหมดก็ต้องยอมรับว่าเกษตรกรหลายคนไม่รู้จักสมาคม หลายคนก็ด่าเอามัน วิจารณ์แบบไม่รู้ จะไปปิดถนน ประท้วง เอาจริงเกษตรกรไม่มีกำลังก็ได้เก่ง และด่าในโซลเซียลแค่นั้น

 

แต่เมื่อมีปัญหาก็ต้องเป็นหน้าที่ของสมาคมที่จะลงไปช่วยเหลือ เพราะปกติที่ผ่านมาก็ไม่เคยมีรับรู้ ทุกรัฐบาล ตั้งแต่โครงการรับจำนำข้าวเปลือกทุกเมล็ด จนมาต่อประกันรายได้ข้าว ตั้งแต่นายวิเชียร พวงลำเจียก นายสุเทพ คงมาก และนายปราโมทย์ นายกคนปัจจุบัน ก็มีการขับเคลื่อนกับภาครัฐมาโดยตลอดแต่ไม่มีเกษตรกรรับรู้เลย

 

พอมาถึงปัญหาความเดือดร้อน ก็นึกถึงนายกสมาคมชาวนาฯ ขึ้นมาทันที บางทีสมาคม กรรมการก็น้อย และเครียด ไม่อยากจะมาเป็นสมาชิก ไม่อยากรับรู้อะไรเลย ซึ่งขาดการรวมกลุ่มกัน ก็เป็นอย่างนี้ จะพยายามชี้ให้เกษตรกรเห็น แม้ว่าจะไปประท้วงหรือปิดถนน ก็ทำกันไม่ได้ ไม่มีองค์กรนำ ที่สำคัญสมาคมชาวนา ไม่ได้มีสมาคมชาวนาและเกษตรกรไทย เพียงสมาคมเดียว มีหลายสมาคม แต่ความไว้วางใจของภาครัฐตกอยู่ที่สมาคมชาวนาและเกษตรกรไทย เป็นปัญหาที่จะช่วยกันอีกแล้ว ถึงแม้ว่าจะไม่ได้เป็นสมาชิกสมาคมก็ตาม

 

นายธีรสินทร์ กล่าวว่า ราคาข้าวเปลือก ขายสด 6,000- 6,800 บาท/ตัน สาเหตุเกษตรกรปลูกข้าวสะเปะสะปะ ไม่ได้ปลูกข้าวพันธุ์ที่คุณภาพตามตลาดต้องการ บางคนปลูกข้าวไม่ได้รับรองพันธุ์ พอเอาเข้ามาผสมก็เป็นข้าวด้อยคุณภาพที่ ส่งออกเคยชี้แจง ที่มีการข้าวพื้นนุ่มปนไปค่าแป้งก็ไม่ได้ ก็ทำให้สินค้าด้อยคุณภาพก็เป็นปัญหา

 

ประกอบกับตอนนี้เป็นเกษตรกรผู้สูงอายุมีการว่าจ้างกัน เลยทำให้มีต้นทุนสูง นี่เฉพาะค่าแรงงาน ยังไม่รวมต้นทุนค่าปัจจัยการผลิต ปุ๋ย ยา ต่างหาก แค่คิดเฉพาะค่าแรงงานก็ค่อนข้างสูง จ้างทุกอย่าง จนกระทั่งจ้างไปขนข้าวไปให้โรงสี จึงทำให้ต้นทุนแรงงานสูง  บวกกับต้นทุนการผลิต เมล็ดพันธุ์ ปุ๋ยเคมี ยากำจัดแมลง นำเข้าจากต่างประเทศ

 

แม้กระเมล็ดพันธุ์ที่ปลูก เกษตรกรก็ไม่ได้เก็บเอง ก็ซื้อ ทำให้ต้นทุนสูงกว่าประเทศอื่น เฉลี่ย 5,000 บาท/ตัน บวกลบ 500 บาท ส่วนชาวนาที่ยกระดับพัฒนาแล้ว ต้นทุนเฉลี่ย 3,500 บาท  แต่พอตลาดส่งออกตาย แม้กระทั่งบริโภคภายใน แค่ 10 ล้านตันข้าวสาร ก็มีปัญหาเลย แต่ก็เข้าใจเกษตรกรพยายามชี้แจง สมาคมได้พยายามขับเคลื่อนกับภาครัฐมาโดยตลอด สนับสนุนทุกรัฐบาล โครงการไหนที่มีประโยชน์กับเกษตรกร

 

"ล่าสุด ที่สมาคมได้ทำหนังสือไป นี่ถือผลงาน เป็นมติของกรรมการ ที่จะพยายามผลักดันโครงการประกันรายได้ข้าว ให้เกิดเร็วที่สุด เพราะเป็นโครงการที่จะช่วยให้เกษตรกรมีเงินรายได้เพิ่มขึ้นจากราคาที่เราขายได้ คาดว่าจะมีประชุม นบข. ประมาณ วันที่ 22 หรือ 28 สิงหาคมนี้ เมื่อผ่าน คณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าวแห่งชาติ (นบข.) นบข.จะเข้าสู่ ครม. ต่อไป”

 

นายธีรสินทร์ กล่าวว่า สมาคมพยายามต่อสู้ยืนราคาประกันรายได้ข้าวเดิมให้ได้ แต่ก็มีเสียงกระซิบแว่วมาว่าน่าจะปรับลดเพดานราคาประกันรายได้เกษตกร ประกันรายได้ข้าว 5 ชนิด  เพราะใน ก.คลัง นำเงินไปแก้ปัญหาโควิด ต้องตัดงบประมาณ แต่ถ้าปรับลดเพดานประกันรายได้จริง ตามเหตุความจำเป็นจริง

 

ทางสมาคมก็มีได้เตรียมแผนสำรองจะขอเพิ่มค่าต้นทุน ค่าเก็บเกี่ยว จาก 1,500 บาทต่อไร่ เป็น 25 ไร่ (เดิม 1,000 บาทต่อไร่ 20 ไร่)  ซึ่งตอนนี้ที่สมาคมมีการประเมิน และกังวล หากราคาข้าวตกต่ำอย่างนี้เกรงว่ารัฐบาลจะรับไม่ไหว ณ วันที่ 12 สิงหาคม 2564 ราคาข้าวเปลือกเจ้า ตันละ 6,000-6,500 บาท ขณะที่ราคาข้าวเปลือกเจ้า รัฐประกันรายได้ ตันละ 10,000 บาท

 

อนึ่ง สมาคมชาวนาและเกษตรกรไทย ปัจจุบันสมาคมมีสมาชิกกว่า 40 จังหวัด มีสมาชิกว่า 4 หมื่นคน ปัจจุบันก็มีปัญหาเรื่องโควิด ทำให้ชะลอการรับสมาชิกใหม่ชั่วคราว

 

จดทะเบียนสมาคม