5 จังหวัดอันดามันลุ้น ปั้นแผนท่าเรือสำราญ ครบวงจรดึง‘ท่องเที่ยว’

09 ก.ค. 2564 | 07:58 น.

    5 จังหวัดอันดามันลุ้นชิงท่าเรือสำราญขนาดใหญ่ “Cruise Terminal” กรมเจ้าท่ามอบกลุ่มบริษัทที่ปรึกษา เริ่มเก็บข้อมูลพื้นที่ทำแผนแม่บท พัฒนาทั้งท่าเรือต้นทาง และเมืองท่าเชื่อมโยง รองรับการท่องเที่ยวครบวงจรเชื่อมโยงเส้นทางเรือสำราญ-แหล่งท่องเที่ยวในประเทศ

นายสมเกียรติ ศรีษะเนตรผู้ว่าราชการจังหวัดระนอง เปิดเผยว่า ได้รับรายงานจาก นายคำรณ อินทร์จันทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานเจ้าท่าภูมิภาค สาขาชุมพร รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคสาขาระนอง ที่ได้ส่งหนังสือเชิญประชุมหัวหน้าส่วนราชการจังหวัดระนองผ่านระบบออนไลน์ เพื่อร่วมรับฟังนำเสนอข้อมูลโครงการศึกษาการวางแผนแม่บทเพื่อพัฒนาท่าเรือสำราญขนาดใหญ่(Cruise Terminal) และสำรวจออก แบบท่าเรือขนาดใหญ่บริเวณชายฝั่งอันดามัน    
  5 จังหวัดอันดามันลุ้น ปั้นแผนท่าเรือสำราญ ครบวงจรดึง‘ท่องเที่ยว’    

ทั้งนี้ กรมเจ้าท่าได้ว่าจ้างกลุ่มบริษัทที่ปรึกษา ประกอบด้วย บริษัทเซ้าท์อี๊สท์เอเซียเทคโนโลยี่ จํากัด บริษัท ออโรร่า เทคโนโลยี แอนด์ เอ็นจีเนียริ่ง คอนซัลแตนส์ จำกัด สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษา แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ บริษัทซี ซี ดับบลิว จำกัด และบริษัท ไพร้ซวอเตอร์เฮาส์ คูเปอร์ส เอฟเอเอส จำกัด เพื่อดำเนินการโครงการศึกษาวางแผนแม่บท เพื่อพัฒนาท่าเรือสำราญขนาดใหญ่ (Cruise Terminal) และสำรวจออกแบบท่าเรือสำราญขนาดใหญ่ บริเวณชายฝั่งอันดามัน
    

ปัจจุบันอยู่ในขั้นต้นของการศึกษาโครงการ ซึ่งจะต้องดำเนินการด้านการประชาสัมพันธ์และการมีส่วนร่วม กรมเจ้าท่าจึงกำหนดให้มีการเข้าพบผู้ว่าราชการจังหวัด และนายอำเภอในพื้นที่เป้าหมาย เพื่อแนะนำคณะทำงาน ชี้แจงลักษณะโครงการ และรับฟังนโยบายตลอดข้อคิดเห็นที่มีต่อโครงการ
    
เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 และทางจังหวัดได้มีมาตรการให้หลีกเลี่ยง หรือเลื่อนกิจกรรมที่มีการรวมตัวของประชาชนจำนวนมาก ที่อาจจะมีความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรค กรมเจ้าท่าจึงจัดการประชุมผ่าน VDO Conference ระบบ Zoom Cloud Meeting ขึ้น
   5 จังหวัดอันดามันลุ้น ปั้นแผนท่าเรือสำราญ ครบวงจรดึง‘ท่องเที่ยว’

5 จังหวัดอันดามันลุ้น ปั้นแผนท่าเรือสำราญ ครบวงจรดึง‘ท่องเที่ยว’  

โครงการนี้จะศึกษาวิเคราะห์บริเวณพื้นที่ชายฝั่งอันดามัน ประกอบด้วยพื้นที่ จ.ระนอง พังงา กระบี่ ภูเก็ตและสตูล ที่มีความเหมาะสมจะพัฒนาเป็นท่าเรือรองรับเรือสำราญขนาดใหญ่(Cruise Terminal) และจัดทำแผน แม่บท และทำการศึกษาความเหมาะสมทางเศรษฐกิจ วิศวกรรม สิ่งแวดล้อมและสังคม พร้อมทั้งประเมินผล กระทบสิ่งแวดล้อม อย่างถูกต้องตามหลักวิชาการเพื่ออำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยว ตลอดจนเป็นยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวที่ยั่งยืน
    

รวมทั้้งเพื่อเสนอแนะและสำรวจออกแบบปรับปรุง ท่าเทียบเรือนํ้าลึกภูเก็ต ให้เป็นท่าเรือที่สามารถรองรับเรือสำราญขนาดใหญ่ ได้อย่างเหมาะสมตามศักยภาพ
    

จึงต้องสำรวจออกแบบองค์ประกอบ โครงการก่อสร้างท่าเทียบเรือรองรับเรือสำราญขนาดใหญ่ ที่บริเวณ 5 จังหวัดชายฝั่งอันดามัน เพื่อรองรับการให้บริการนักท่องเที่ยวแบบครบวงจร สอดคล้องกับรูปแบบการท่องเที่ยวเดินเรือสำราญ โดยมีผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด ตลอดจนงบประมาณค่าก่อสร้าง แบบรายละเอียดเบื้องต้น
    

5 จังหวัดอันดามันลุ้น ปั้นแผนท่าเรือสำราญ ครบวงจรดึง‘ท่องเที่ยว’

เนื่องจากไทยมีที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ที่เอื้ออำนวย มีเมืองท่าหลักทั้งในอ่าวไทยและอันดามัน และจะได้รับผล กระทบจากลมมรสุมในระดับน้อยแล้วประเทศไทยตั้งอยู่ในกึ่งกลางทวีปเอเชียสามารถเชื่อมโยงการเดินทางระหว่างเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียตะวันออก กับเอเชียตะวันตก รวมทั้งเชื่อมโยงกับตลาดหลักของการท่องเที่ยวเรือสำราญในออสเตรเลีย นิวซีแลนด์และแปซิฟิคใต้เป็นอย่างดี
    

นอกจากนี้ประเทศไทยยังมีแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงระดับโลก กระจายอยู่ในทุกภูมิภาคของประเทศโดยมีความหลากหลายในแง่การท่องเที่ยว มีศักยภาพในการสนับสนุนและเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวในประเทศไทยกับ Pre & Post Cruise Tour ของเรือสำราญได้เป็นอย่างดี ซึ่งสามารถเชื่อมโยงและผสมผสานเส้นทางเดินเรือสำราญ กับการท่องเที่ยวแบบ Overland Tour โดยเชื่อมโยงการเดินทางเข้าออกจากกรุงเทพฯ ภูเก็ต เชียงใหม่ กับเมืองมรดกโลกรอบประเทศไทย เข้ากับเส้นทางเดินเรือสำราญ
    

แต่ไทยยังมีข้อจำกัดในด้านพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานท่าเทียบเรือสำราญต้นทาง Home Port และเมืองท่าเชื่อมโยงภายในประเทศที่มีอยู่การพัฒนาเมืองท่าต้นทางในพื้นที่ฝั่งอันดามัน รวมถึงเมืองท่าเชื่อมโยงภายในประเทศ โดยระยะห่างระหว่างเมืองที่เหมาะสม จะเป็นการการสร้างเสริมศักยภาพในการแข่งขันของประเทศไทย และนำข้อได้เปรียบในความสวยงามของแหล่งท่องเที่ยวภายในประเทศ มาเป็นกลไกสำคัญในการนำรายได้จากการท่องเที่ยวเรือสำราญมาสู่ประเทศไทย

หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 41 ฉบับที่ 3,695 วันที่ 11-14  กรกฎาคม  พ.ศ.2564