เพิ่ม thansettakij
ลงในหน้าจอหลักของคุณ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า. นายอนุทินชาญวีรกุล รองนายกรัฐมนตรี ว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานเปิดโครงการนำการนำยางพารามาใช้เพื่อปรับปรุงเพิ่มความปลอดภัยทางถนน (Kick Of) พร้อมด้วย นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม นางสาวมนัญญา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายทรงศักดิ์ ทองศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย นายศุภชัย โพธิสุ รอง ประธานสภาผู้แทนราษฎร ผู้ว่าราชการจังหวัดบึงกาฬ อธิบดี กรมทางหลวง อธิบดีกรมทางหลวงชนบท อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ ร่วมงาน จังหวัดบึงกาฬ
นายศักดิ์สยาม. ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า การนำโครงการนำยางพารามาใช้เพื่อปรับปรุงความปลอดภัยทางถนน ทั้งในส่วนของเครื่องกั้นถนนครอบยางพารา rubber fender berier และหลักนำทางอย่างธรรมชาติ หรือ rubber guide post เริ่ม kick off ที่จังหวัดบึงกาฬในวันนี้ ก็เนื่องจากจังหวัดบึงกาฬ ถือเป็นเมืองหลวงของการปลูกยางพาราในภาคอีสาน มีการปลูกยางพารากว่า 1 ล้านไร่ รองลงมาคือ จังหวัดนครพนม และจังหวัดเลย ซึ่งกระทรวงคมนาคมและกระทรวงเกษตรฯ ก็ได้เดินสายเริ่มต้นkick off โครงการในครั้งนี้
สำหรับการผลักดันโครงการให้เกิดขึ้นในพื้นที่จึงเป็นเรื่องจำเป็น ที่นอกจากโครงการจะมีส่วนสำคัญในการปรับปรุงความปลอดภัยบนท้องถนนแล้ว จะมีส่วนสำคัญในการนำยางพารา ซึ่งเป็นผลผลิตการเกษตรมาใช้ สร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรชาวสวน ซึ่งหลังจากเริ่มคิกออฟโครงการตั้งแต่วันที่ 25 สิงหาคม 2563 พลเอกประยุทธ์จันทร์โอชานายกรัฐมนตรี ไปคิดเอาโครงการที่จังหวัดจันทบุรี และจังหวัดสตูลก่อนหน้านี้ รวมทั้งการนำงบประมาณที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีก้อนแรก มาใช้ดำเนินโครงการในวงเงิน 2,700 ล้านบาท ก็ทำให้เกิดความเชื่อมั่นที่โครงการจะสามารถเดินหน้าต่อไปได้ในระยะยาว
หลังจากการใช้วงเงินดังกล่าวหมดลงในเดือนพฤศจิกายน 2563 กระทรวงคมนาคม และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ก็จะมีการขออนุมัติงบประมาณดำเนินโครงการต่อในวงเงินใกล้เคียงกัน ซึ่งผลของโครงการในขณะนี้ได้ส่งผลดีต่อราคายาง โดยปัจจุบันเมื่อวันที่ 25 กันยายนที่ผ่านมา ในส่วนของราคาแผ่นยางดิบธรรมชาติ มีราคาอยู่ที่กิโลกรัมละ 61 บาท ปรับราคาจาากช่วงก่อนนี้ ที่ราคากิโลกรัมละ 43 บาท หรือราคาเพิ่มขึ้นประมาณ 30% ส่วนราคายางก้อนถ้วย ซึ่งเกษตรกรชาวสวนยางในภาคอีสาน ทำเป็นผลผลิตแล้วเอาไปขายนั้น ปัจจุบันราคาอยู่ที่กิโลกรัมละ 13 บาท ปรับราคาขึ้นก่อนหน้านี้ ที่กิโลกรัมละ 20 บาท
"ยืนยันว่าในระยะยาวนั้น จะขับเคลื่อนการรับซื้อยางพารา ในพื้นที่โดยกลไกของสหกรณ์ในจังหวัด ที่กำกับโดยกรมส่งเสริมสหกรณ์ ซึ่งที่ผ่านมาทราบว่า ราคาที่รับซื้อที่กิโลกรัมละ 21 บาท ชาวสวนยางต้องขาดทุน กิโลกรัมละ 25 บาทชาวสวนยางพออยู่ได้ อย่างไรก็ตามรัฐบาลจะพยายามผลักดัน ให้มีการรับซื้ออยู่ที่ราคา 28 ถึง 30 บาทต่อกิโลกรัม รวมถึงการผลักดันโครงการนี้อย่างต่อเนื่อง จะทำให้เกษตรกรมีรายได้เพียงพออย่างยั่งยืน"
ทั้งนี้ปริมาณการใช้ยางพาราในโครงการดังกล่าว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมระบุว่า ก่อนหน้านี้ในปี 2562 มีปริมาณการใช้น้ำอย่างพาราสดในโครงการของรัฐมากกว่า 129,000 ตัน แต่เมื่อมีโครงการนำร่องการนำยางพารามาผลิตใช้อุปกรณ์ความปลอดภัยบนท้องถนนใน3เดือนนี้ พบว่า มีปริมาณการใช้ยางพารากว่า 50,000 ตัน ซึ่งถือว่า เป็นปริมาณการใช้ ที่เท่ากับปริมาณในปี 2561 ทีเดียว