คำต่อคำ “แถลงการณ์นายกฯ” งัดพรก.ฉุกเฉิน สู้โควิด-19

25 มี.ค. 2563 | 08:53 น.

แถลงการณ์สํานักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินตามพระราชกําหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548

วันที่ 25 มีนาคม 63 พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ออกแถลงการณ์สํานักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินตามพระราชกําหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 ระบุว่า 

ตามที่นายกรัฐมนตรีด้วยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีในการประชุมเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2563 และตามคําแนะนําของผู้บริหารและนักวิชาการด้านการแพทย์และสาธารณสุข ใต้อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 5 แห่งพระราชกําหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร ตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ.2563 จนถึงวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2563 นั้น

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

"บิ๊กตู่"คลอด16กฎเหล็กรับพรก.ฉุกเฉิน

นายกฯ ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินทั่วประเทศ คุมระบาดโควิด

การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินดังกล่าวเป็นไปตามกฎหมายที่มีอยู่แล้วตั้งแต่ พ.ศ.2548 อันเนื่องจากขณะนี้ได้เกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรนา 2019 (COMD - 19) ซึ่งเป็นโรคระบาดใหญ่เพิ่งเกิดขึ้นใหม่แต่แพร่ไปทั่วโลกอย่างรวดเร็วและประเทศไทยได้รับผลกระทบ เช่นกัน ในขณะนี้ยังไม่วัดซีนป้องกันและยารักษาที่ได้ผล รัฐบาลได้ใช้มาตรการป้องกัน สกัดกัน ชะลอ และสร้างความรับรู้ความเข้าใจแก่ประชาชนมาเป็นลําดับและประเมินสถานการณ์เป็นรายวัน ตามความ คืบหน้าของสถานการณ์ ข้อมูลข่าวสาร และคําแนะนําทางการแพทย์ของบรรดาผู้เชี่ยวชาญทั้งหลาย โดยคํานึงถึงผลกระทบต่อประชาชนต้านสังคมความเป็นอยู่ เศรษฐกิจการครองชีพ ทรัพยากรของรัฐด้าน การสาธารณสุขและป้องกันการตื่นตระหนกเกินกว่าเหตุ

บัดนี้ทุกฝ่ายเห็นว่าสถานการณ์ควรยกระดับขึ้นสู่การบังคับใช้มาตรการขั้นสูงสุดได้แล้ว เพื่อว่ารัฐจะสามารถนํามาตรการอื่น ๆ มาบังคับใช้เพิ่มขึ้นจากเดิม ส่วนจะเลือกใช้มาตรการใดก่อนหลัง จะมีการออกประกาศและข้อกําหนดแจ้งให้ทราบต่อไป แต่ในเบื้องต้นจําเป็นต้องประกาศสถานการณ์ ฉกเฉินเสียก่อน ซึ่งได้ประกาศแล้วในวันนี้ ผลจากการประกาศดังกล่าวคือรัฐบาลจะมีช่องทางตาม กฎหมายเข้าควบคุมหรือบริหารสถานการณ์ใต้ เช่นจะมีการโอนอํานาจบางประการของรัฐมนตรี ตามกฎหมายบางฉบับมาเป็นของนายกรัฐมนตรีเท่าที่จําเป็นและเป็นการชั่วคราวเพื่อความรวดเร็วและ บูรณาการ จะมีการออกข้อกําหนดคือข้อห้ามหรือข้อปฏิบัติบางอย่างเช่น ห้ามเข้าออกสถานที่บางแห่ง ห้ามหรือจํากัดการเข้าออกราชอาณาจักรและการเคลื่อนย้ายประชาชนจํานวนมากข้ามเขตพื้นที่ การควบคุมการใช้ยานพาหนะ เส้นทางจราจร การควบคุมสินค้าและเวชภัณฑ์ มาตรการเหล่านี้แม้ เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน และแม้ว่าสถานการณ์จากตัวเลข จํานวนผู้ได้รับเชื้อและการเสียชีวิตในประเทศจนถึงปัจจุบันจะยังไม่สูงมากนักเมื่อเทียบกับประเทศอื่นแต่ หากยังคงมีการเคลื่อนย้ายหรือเดินทาง การรวมกลุ่มคนจํานวนมากเพื่อทํากิจกรรมร่วมกัน การติดต่อ สัมผัสหรือใกล้ชิดและการขาดความรู้ความเข้าใจความรับผิดชอบ ตลอดจนการไม่ปฏิบัติตนให้ถูกต้อง ตามมาตรการป้องกันโรคตามหลักสากลประกอบกับกําลังจะเข้าสู่ช่วงเวลาเทศกาลและการเปลี่ยนฤดูกาลตามธรรมชาติ เชื้อโรคโควิด-19 ย่อมมีโอกาสแพร่ไปได้เร็วและเพิ่มจํานวนผู้ติดเชื้อมากขึ้นจนเป็นอันตรายอย่างยิ่งเพราะจะกระทบต่อประสิทธิภาพในการให้บริการทางการแพทย์และกระทบต่อการใช้ ทรัพยากรด้านการสาธารณสุขของประเทศ เช่น แพทย์ พยาบาล โรงพยาบาล ยา และเวชภัณฑ์ต่าง ๆ จน อาจขาดแคลนเข้าวันหนึ่ง อันจะนํามาซึ่งความสูญเสียรุนแรงสุดจะประมาณได้ดังที่ปรากฏในบางประเทศในขณะนี้ 

รัฐบาลจึงจําเป็นต้องประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเสียแต่บัดนี้เพื่อความไม่ประมาท อันจะเป็นการสร้างความมั่นใจแก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติและคลายความวิตกกังวลของประชาชน การประกาศ สถานการณ์ฉุกเฉินเป็นความจําเป็นเร่งด่วนเฉพาะช่วงเวลานี้โดยรัฐบาลจะพิจารณาเลือกใช้เฉพาะ มาตรการเท่าที่จําเป็นตามคําแนะนําทางการแพทย์และสาธารณสุขเพื่อป้องกัน และระงับยับยั้งการแพร่ ระบาดของโรค โดยถือว่าการดูแลรักษาสุขภาพอนามัยและชีวิตของประชาชน การจัดสรรทรัพยากร เวชภัณฑ์ และการให้บริการทางการแพทย์ให้ทั่วถึงเพียงพอแก่ประชาชนชาวไทย มีความสําคัญเร่งด่วนเป็น ลําดับแรก ซึ่งแน่นอนว่าความสะดวกสบายของประชาชนในระหว่างนี้ย่อมลดน้อยลงกว่าเดิม เพราะทุกคน ต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรม แต่ประชาชนยังสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติโดยไม่เกิดภาวะขาดแคลน ส่วนมาตรการช่วยเหลือเยียวยาผู้เดือดร้อนจะได้ทยอยตําเนินการต่อไป 

ในยามนี้เรากําลังต่อสู้กับมหันตภัย ที่มองไม่เห็นตัวคือเชื้อโรคและอาจจู่โจมมาถึงเราทุกคนในทุกพื้นที่ได้ทุกเมื่อ จึงจําเป็นต้องควบคุม สถานการณ์และบังคับใช้มาตรการขั้นสูงสุดเพื่อความอยู่รอดร่วมกัน ซึ่งจะเป็นเช่นนี้ไประยะหนึ่งตามที่ กฎหมายให้อํานาจรัฐบาลประกาศได้เป็นคราว ๆ ไป คราวละไม่เกินสามเดือน แต่อาจประกาศขยาย เวลาต่อได้อีกตามความจําเป็นแห่งสถานการณ์ อันที่จริงการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินได้กระทํามา หลายปีแล้วในขณะนี้ในบางพื้นที่ในจังหวัดชายแดนภาคใต้แต่อาศัยเหตุแห่งการประกาศใช้ที่แตกต่างไป จากในครั้งนี้


รัฐบาลขอให้ประชาชนวางใจในระบบการสาธารณสุขของประเทศ และโปรดดูแลรักษา สุขภาพตนเองเพราะความไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐโดยแท้ ขณะเดียวกันโปรดให้ความร่วมมือกับ ทางการในการปฏิบัติตามมาตรการและคําแนะนําทางการแพทย์อย่างเคร่งครัดตลอดจนรับรู้ข้อมูล ข่าวสารที่เผยแพร่ทางช่องทางที่เป็นทางการ เช่น วิทยุ โทรทัศน์ สื่อสิ่งพิมพ์ที่ระบุแหล่งข่าวอ้างอิง เชื่อถือได้ มิใช่ข่าวลือหรือข่าวที่ไม่ปรากฏแหล่งที่มา หากมีข้อสงสัยให้สอบถามได้ที่กระทรวงสาธารณสุข หรือศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิต-19) หมายเลข โทรศัพท์ 1111 

ขณะนี้การอยู่กับบ้านตามคํากล่าวที่ว่า “อยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ” การไม่รวมกลุ่มกับ ผู้คนจํานวนมาก การใช้มาตรการป้องกันโรคเพื่อตนเองและแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม เช่น การใช้ หน้ากากอนามัย เจลล้างมือ การหมั่นล้างมือ การไม่สัมผัสหรือรับเชื้อที่มากับฝอยละอองน้ําลาย การเว้น ระยะสัมผัสห่างจากผู้อื่น การไปพบแพทย์ในกรณีต้องสงสัย เป็นที่ยอมรับทั่วโลกแล้วว่าสามารถลดความ เสียงให้ดีที่สุดเท่าที่เราจะป้องกันตนเอง คนที่ท่านรัก และประเทศชาติได้เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง รัฐบาลจะได้แถลงให้ทราบเป็นระยะ ๆ ในโอกาสต่อไป

สํานักนายกรัฐมนตรี 25 มีนาคม 2563

คำต่อคำ “แถลงการณ์นายกฯ” งัดพรก.ฉุกเฉิน สู้โควิด-19