8 ก.พ.รถไฟฟ้า BTS เปิด“สถานีเซนต์หลุยส์” วิ่งยาว 60 สถานี

31 ม.ค. 2564 | 15:01 น.

วันที่ 8ก.พ. รถไฟฟ้า BTS เปิด ให้บริการ “สถานีเซนต์หลุยส์” เปลี่ยนชื่อจากเดิมสถานีศึกษาวิทยา สายสีเขียว วิ่งยาว 68.25 กิโลเมตร 60สถานี

 

 

 

  นับถอยหลัง  วันที่8กุมภาพันธ์ 2564   บริษัทระบบขนส่งกรุงเทพจำกัด(มหาชน )หรือBTSCผู้ให้บริการเดินรถไฟฟ้าBTSสายสีเขียว เตรียม เปิดให้บริการสถานี เซนต์หลุยส์(S4)   หลังจากก่อสร้างแล้วเสร็จ 100% ส่งผลให้รถไฟฟ้าสายสีเขียว มีสถานีให้บริการรวม 60สถานี ระยะทาง68.25 กิโลเมตร ซึ่งถือเป็นเส้นทางรถไฟฟ้าที่ยาวที่สุดและมีสถานีให้บริการมากที่สุดในประเทศไทย ขณะค่าโดยสาร ทั้งระบบอาจจะแพงที่สุด 15-104บาทแต่เชื่อว่าคุ้มค่า

 

สำหรับ สถานีเซนต์หลุยส์ หรือชื่อเดิมศึกษาวิทยา (โรงเรียนเก่าแก่ที่ถูกยกเลิกไป) ตั้ง อยู่เหนือคลองสาทร ติดถนนสาทรเหนือและสาทรใต้ บริเวณปากซอยสาทร 11 (ซอยเซนต์หลุยส์ 3) ด้านหน้าอาคารเอไอเอ ทาวเวอร์ สาธร  อาคารหุ่นยนต์ ธนาคารยูโอบี สำนักสาทร และโรงแรมแอสคอทท์ กรุงเทพ สาทร ในพื้นที่แขวงสีลม เขตบางรัก และแขวงยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพมหานคร ห่างจากสถานีช่องนนทรี 610 เมตร และห่างจากสถานีสุรศํกดิ์ 570 เมตร

 

หรือ อยู่ กึ่งกลางระหว่างสถานี ช่องนนทรีและสถานีสุรศักดิ์ซึ่งปัจจุบันมีชุมชนขยายตึกสูงใหญ่แหล่งงาน ที่อยู่อาศัยแนวสูง เกิดขึ้น อีกทั้งยังเป็นศูนย์กลางด้านเศรษฐกิจการเงินมีธนาคารชั้นนำตั้งอยู่ ที่สำคัญยังตั้งติดกับโรงพยาบาลเซนต์หลุยส์(ซอยสาทร9)  สะดวกสบายต่อการเดินทางสำหรับผู้ใช้บริการในโรงพยาบาลซึ่งสามารถลงรถไฟฟ้าและเชื่อมเข้าสถานพยาบาลได้ทันที

 

“ฐานเศรษฐกิจ”สอบถามความพร้อมการเปิดให้บริการเดินรถไฟฟ้าสถานีเซนต์หลุยส์ นายสุรพงษ์เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือBTSC ยืนยันว่าพร้อมเปิดให้บริการวันที่8กุมภาพันธ์นี้แน่นอนและ มั่นใจว่าจะมีผู้โดยสารเข้าใช้บริการจำนวนมาก จากอาคารที่เกิดขึ้นใหม่ระหว่างสถานีสุรศักดิ์กับช่องนนทรี หากไม่ก่อสร้างเพิ่มและเปิดให้บริการ BTSอาจเสียผู้โดยสารกลุ่มนี้ไป เพราะระยะห่างของ2สถานี ดังกล่าวค่อนข้างไกล

 

 

 

 “ที่ผ่านมา BTS ตอกตอม้อ สถานีดังกล่าวทิ้งไว้ เดิมเคยจะก่อสร้างแต่มองว่า การพัฒนาตึกขนาดใหญ่ยังมีไม่มาก แต่เมื่อความต้องการพื้นที่มากขึ้น จึงก่อสร้างตัวสถานีเพิ่มสำหรับการก่อสร้างได้ รับอนุมัติจากกองทุนโครงสร้างพื้นฐานและร่วมกับ เอไอเอลงทุน สร้างความเจริญให้กับถนนสาทรเหนือและสาทรใต้ ที่ได้มีสถานีรถไฟฟ้าเพิ่มอำนวยความสะดวกประชาชน”

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ทั้งนีหากเปิดให้บริการบีทีเอสประเมินก่อนเกิดสถานการณ์โควิดว่า  เที่ยวการเดินทางเพิ่มขึ้นประมาณ 9,500 – 12,000 เที่ยว/วันในวันธรรมดา ซึ่งจะทำให้รายได้ค่าโดยสารเพิ่มขึ้นประมาณ 94ล้านบาท/ปี  รายได้ค่าโดยสารหลังหักค่าใช้จ่ายคาดว่าจะเพิ่มขึ้นประมาณ 70 ล้านบาท/ปี

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

"บีทีเอส" สร้างเพิ่ม 2 สถานีรับตึกขยาย

“สายสีทอง” สร้างเพิ่มอีก1 สถานี เอาใจคนฝั่งธนฯ

"บีทีเอส" เปลี่ยนชื่อ" สถานีศึกษาวิทยา" เป็น"เซนต์หลุยส์"

นับถอยหลัง! 6 รถไฟฟ้า ใหม่ กำลังมา

เคาะแล้ว! ค่าตั๋วรถไฟฟ้าสายสีเขียว ตลอดสาย 104 บาท เริ่มเก็บ 16 ก.พ.