ปั้น"น่าน"ขึ้นชั้น"เมืองสร้างสรรค์"ยูเนสโกปี 2564

11 ก.ค. 2563 | 11:41 น.

ชาวน่านตื่นตัว เข้าร่วมเป็นเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ ขององค์การยูเนสโก หวังสร้างรายได้จากการท่องเที่ยววัฒนธรรม อย่างยั่งยืน

"น่าน"มุ่งหน้าเป็นเครือข่าย"เมืองสร้างสรรค์" ของยูเนสโก ด้านหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้าน ในปี 2564   อพท.6 เดินสายสร้างความเข้าใจทุกภาคส่วนในพื้นที่ 15 อำเภอของน่าน ใช้มรดกวัฒนธรรมต่อยอดด้วยเทคโนโลยี สร้างสินค้าและบริการที่มีเอกลักษณ์เชิงสร้างสรรค์     
    

องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท. 6  ร่วมกับองค์การบริหารส่วนจังหวัด(อบจ.)น่าน และภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง  เดินสายจัดเวทีสร้างความรับรู้ ความเข้าใจ และประโยชน์จากการเป็นสมาชิกเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ ของยูเนสโก (UNESCO)   กับหน่วยงานภาครัฐ  เอกชน  ผู้ประกอบการ และชุมชนต่างๆ ใน  15 อำเภอของจังหวัดน่าน    มุ่งหมายจะพัฒนาและผลักดันเมืองน่านสู่ เครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ (Creative City)  ด้านหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้าน  ขององค์การยูเนสโก 
     

นายสุขสันต์ เพ็งดิษฐ์  ผู้จัดการสำนักงานพื้นที่พิเศษ 6  เปิดเผยว่า  ปัจจุบันมี 246 เมือง จาก 84 ประเทศ ที่เป็นสมาชิกเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์  และประเทศไทย มี 4 จังหวัด ที่ได้เป็นสมาชิกแล้ว คือ จังหวัดภูเก็ต  เมืองสร้างสรรค์ด้านอาหาร   จังหวัดเชียงใหม่ เมืองสร้างสรรค์ด้านหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้าน  จังหวัดกรุงเทพฯ เมืองสร้างสรรค์ด้านการออกแบบ และจังหวัดสุโขทัย เมืองสร้างสรรค์ด้านหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้าน    
  ปั้น"น่าน"ขึ้นชั้น"เมืองสร้างสรรค์"ยูเนสโกปี 2564    

โดยจังหวัดน่านนั้นจะสมัครเข้าชิงด้านหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้าน ในปี 2564    และจากการจัดเวทีสร้างความรับรู้และความเข้าใจ  พบว่าทั้งชุมชน  ภาคประชาสังคม ประชาชน และผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยว ต่างให้ความสนใจเข้าร่วมรับฟัง  และสอบถามถึงประโยชน์ที่จะได้ หลังเป็นเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์   และต้องทำอย่างไรถึงได้เป็นเครือข่าย   รวมทั้งขอคำแนะนำด้านการพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชน  และสินค้างานหัตถกรรมท้องถิ่น  เพื่อพัฒนาให้มีมาตรฐานและคุณภาพ  สนองความต้องการของนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติ 
     

ทั้งนี้ เส้นทางแห่งการเป็นเมืองในเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ของยูเนสโก    สำหรับจังหวัดน่านนับว่ามีอนาคตสดใส เพราะจังหวัดน่านมีประวัติศาสตร์ที่ยาวนาน  มีมรดกทางวัฒนธรรมเก่าแก่มากมาย ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ร่วมกับเทคโนโลยีและความรู้สมัยใหม่  สามารถนำมาต่อยอดให้เป็นสินค้าและบริการที่มีลักษณะเฉพาะตัวเชิงสร้างสรรค์   สนองความต้องการของตลาดโลกได้ดี    และเชื่อมั่นว่าด้วยความร่วมมือและศักยภาพทั้งหมดนี้  จะทำให้จังหวัดน่านสามารถยกระดับเป็นสถานะสมาชิกเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ ด้านหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้าน ของยูเนสโก (UNESCO)  ได้

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

“อพท.” ผนึก “สศส.” ลุยสร้างเมืองสร้างสรรค์ตามกรอบ “ยูเนสโก” 

ชวนไทยเที่ยวไทย น่านจัดมหกรรม"วิถีถิ่นสืบสานศิลป์"ท่องเที่ยวยั่งยืน

“เที่ยวไหนดี” 7 อุทยานฯน่าน เปิดรับนักท่องเที่ยว 1 ก.ค.นี้
  ปั้น"น่าน"ขึ้นชั้น"เมืองสร้างสรรค์"ยูเนสโกปี 2564      

ปั้น"น่าน"ขึ้นชั้น"เมืองสร้างสรรค์"ยูเนสโกปี 2564

แต่อย่างไรก็ตาม การขับเคลื่อนต้องอาศัยความร่วมมือจากจังหวัด และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของทุกภาคส่วนเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน ให้การขับเคลื่อนเป็นไปตามเป้าหมายของการเป็นเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์   ซึ่งจุดมุ่งหมายของยูเนสโก  ต้องการให้การเป็นเมืองสร้างสรรค์นี้ประโยชน์อยู่กับคนในพื้นที่  เกิดการท่องเที่ยว เกิดเม็ดเงินที่หมุนเวียน คุณภาพชีวิตของคนในพื้นที่ได้รับการยกระดับ

ปั้น"น่าน"ขึ้นชั้น"เมืองสร้างสรรค์"ยูเนสโกปี 2564

ที่มา สำนักงานประชาสัมพันธ์ จังหวัดน่าน