ซีไอเอ็มบีไทยวางโรดแมปเป็นธนาคารอาเซียนชั้นนำในไทย

02 พ.ย. 2563 | 11:45 น.

ซีไอเอ็มบี ไทย ปักธง 4 ปีสร้างกำไรจากจุดแข็ง"ธุรกิจบริหารเงิน-สินเชื่อเช่าซื้อรถมือสอง-ผนึกพันธมิตรดันธุรกรรมดิจิทัล

วันนี้ 2 พ.ย. นายสุธีร์   โล้วโสภณกุล รักษาการกรรมการผู้จัดการใหญ่ และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย เปิดเผยว่า แนวโน้มหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้(เอ็นพีแอล) ของธนาคารที่ผ่านมา ส่วนใหญ่ลูกหนี้ทยอยออกจากโครงการพักชำระหนี้ แต่ยังไม่สามารถตอบได้ชัดเจนว่าจะเพิ่มหรือลด  อย่างไรก็ตามภายใต้แผนของธนาคารที่จะขายเอ็นพีแอลภายในสิ้นปีราว 3,000ล้านบาทซึ่งจะทำให้เอ็นพีแอลปรับลดลงต่ำกว่า 5%จากปัจจุบันอยู่ที่ 5.9% 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ซมโปะ รุกตลาดแบงก์แอสชัวรันส์เต็มรูปแบบ

ทุนไทยหอบเงินลงทุนนอกพุ่ง43%

CIMBT ตั้ง "สุธีร์ โล้วโสภณกุล" รักษาการเอ็มดีควบซีอีโอ มีผล 1 ก.ย.นี้

ซีไอเอ็มบีไทยตั้ง “สุธีร์โล้วโสภณกล”นั่งรักษาการเอ็มดีและซีอีโอมีผลหลัง 15ก.ย.2563

 

"กันสำรองค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญแม้จะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นแต่ด้วยฐานะเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงหรือBIS ratio เกือบ 20% สูงกว่าที่ทางการกำหนดไว้เกือบ 2 เท่า สามารถรองรับได้และ เกณฑ์ของแบงก์ชาติก็ ได้ผ่อนปรนเพิ่มขึ้นเพื่อให้ลูกหนี้สามารถฟื้นกลับขึ้นมาได้"

 สำหรับทิศทางการดำเนินธุรกิจของ ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย ระยะต่อไปจะให้ความสำคัญกับการเปลี่ยนผ่านให้ลูกค้าหันมาใช้บริการช่องทางดิจิทัลมากขึ้น โดยเฉพาะช่วง 1ปีเศษ การทำธุรกรรมผ่านแอพพลิเคชั่น CIMB THAI  DIGITAL  BANKING กว่า 30% ของฐานลูกค้าจำนวน 6-7 แสนรายแล้วซึ่งธนาคารมีแผนที่จะปล่อยสินเชื่อผ่านแอพโดยการจับมือกับพันธมิตรในระยะต่อไป

 

ส่วนด้านสินเชื่อนั้น ที่ผ่านมา 9เดือนอัตราการเติบโตของสินเชื่อติดลบ 5.2%ส่วนหนึ่งเป็นผลจากสินเชื่อรายใหญ่(โฮลเซล)ชะลอการเบิกใช้วงเงินกู้  แม้ว่าต้นปีที่ผ่านมาธนาคารได้อนุมัติสินเชื่อรายใหญ่จำนวนหนึ่ง ซึ่งเดิมคาดว่าอาจจะกลับมาเบิกใช้วงเงินในไตรมาสที่3 แต่ต้องเลื่อนออกไปอีก อย่างไรก็ตามถ้าลูกค้ารายใหญ่กลับมาเบิกใช้วงเงินดังกล่าวอาจทำให้ยอดสินเชื่อกลับมาเป็นบวกหรือเสมอตัวในปีนี้

 

ซีไอเอ็มบีไทยวางโรดแมปเป็นธนาคารอาเซียนชั้นนำในไทย

นายสุธีร์ กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับในอนาคตจะปรับโครงสร้างสินเชื่อ ซึ่งเป็นจุดแข็งของธนาคารโดยจะเน้นธุรกิจโฮลเซลและรายย่อยมากขึ้นจากปีนี้พอร์ตโฮลเซลมีอยู่ราว 7.5หมื่นล้านบาทคิดเป็นสัดส่วน 30%ของพอร์ตสินเชื่อรวมที่มีอยู่ 2.3แสนล้านบาท ส่วนธุรกิจรายย่อยประมาณกว่า 1แสนล้านบาทคิดเป็นสัดส่วนเกิน50%ของพอร์ตสินเชื่อรวม ซึ่งสามารถรักษาความเป็นผู้นำสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ใช้แล้ว  สินเชื่อบ้าน รีไฟแนนซ์ และสินเชื่อบุคคล ที่เหลือเป็นสินเชื่อเอสเอ็มอีเกือบ 20%

 

ขณะเดียวกันธนาคารวางแผนกลยุทธ์ที่สอดคล้องกับกลยุทธ์ของกลุ่มซีไอเอ็มบี โดยวาง Roadmap ที่จะก้าวไปสู่การเป็น  ‘DIGITAL-LED BANK WITH ASEAN REACH’ คือ ธนาคารอาเซียนชั้นนำในไทย ซึ่งได้พิสูจน์ให้เห็นถึงจุดแข็งของซีไอเอ็มบีในธุรกิจบริหารเงิน (Treasury) และก้าวต่อไปคือการนำข้อมูลขนาดใหญ่มาวิเคราะห์เพื่อต่อยอดธุรกิจ ธุรกิจขนาดใหญ่ ยังคงจุดยืนในเป็นธนาคารเพื่ออาเซียน เน้นธุรกิจ CLMV ด้วยการสร้าง ASEAN Platform เดินหน้าสร้างผลิตภัณฑ์และบริการที่เป็นเลิศ ใช้ความรู้ความเชี่ยวชาญในการพาลูกค้าไปเติบโตข้ามประเทศ และตั้งเป้าสร้างรายได้จากธุรกิจข้ามประเทศในสัดส่วนที่มากที่สุดของกลุ่มซีไอเอ็มบี