เปิดผลตรวจ"ตลาด"ทั่วกทม. ไม่ผ่านเกณฑ์คุมโควิด 90 แห่ง มีข้อบกพร่องอะไรบ้าง?

10 มิ.ย. 2564 | 22:00 น.

เปิดผลตรวจ"ตลาด"ทั่วกทม.ทั้งหมด 486 แห่ง ตรวจไปแล้ว 379 แห่ง พบว่า ตลาด 289 แห่งผ่านเกณฑ์มาตรฐานการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมการแพร่ระบาดโควิด-19 ไม่ผ่านเกณฑ์ 90 แห่ง มีข้อบกพร่องอะไรบ้าง?

จากกรณีที่กรมควบคุมโรค นำข้อมูลจากการสอบสวนโรคผู้ติดเชื้อทั้งประเทศ นำมาสรุปเป็น 11 พื้นที่เสี่ยงในชุมชน เพื่อนำมาสู่การเฝ้าระวัง "ตลาด"เป็น 1 ใน 11 พื้นที่เสี่ยงในชุมชน และจากการดำเนินการตรวจสอบตลาดในพื้นที่กรุงเทพมหานคร  พบว่า ไม่ผ่านเกณฑ์คุมโควิดจำนวนมาก 

พญ.อภิสมัย ศรีรังสรรค์ ผู้ช่วยโฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) เปิดเผยว่า กทม.ได้รายงานผลการตรวจสอบมาตรการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมการแพร่ระบาดโควิด-19 ตลาดทั้งหมด 486 แห่งในพื้นที่กรุงเทพฯ โดยการตรวจสอบระหว่างวันที่ 24 พ.ค. - 11 มิ.ย.2564

ข้อมูลล่าสุดวันที่ 9 มิ.ย.พบว่า ขณะนี้ดำเนินการตรวจไปแล้วทั้งสิ้น 379 แห่ง พบว่า ตลาด 289 แห่งผ่านเกณฑ์มาตรฐาน หรือคิดเป็น 76 % และ ไม่ผ่านเกณฑ์ 90 แห่งหรือ 24 %

เปิดผลตรวจ"ตลาด"ทั่วกทม. ไม่ผ่านเกณฑ์คุมโควิด 90 แห่ง มีข้อบกพร่องอะไรบ้าง?

ข้อบกพร่องที่ตรวจสอบ

  • การเว้นระยะห่าง 25%
  • การใช้แอปพลิเคชั่น การบันทึกข้อมูล 19%
  • การควบคุมทางเข้าออก การคัดกรอง 19%
  • การทำความสะอาด 9%
  • การควบคุมจำนวนลูกค้า 8%
  • การสวมหน้ากากอนามัย7%
  • จุดบริการล้างมือ 6%
  • การระบายอากาศ 4%
  • ทะเบียนผู้ค้าและลูกจ้าง 3%

เปิดผลตรวจ"ตลาด"ทั่วกทม. ไม่ผ่านเกณฑ์คุมโควิด 90 แห่ง มีข้อบกพร่องอะไรบ้าง?

พญ.อภิสมัย ยังระบุว่า อยากขอให้ประชาชน สื่อมวลชน ผู้นำชุมชน ให้ความสำคัญกับตลาดในพื้นที่ เนื่องจากหลักเกณฑ์ของ ThaiStop Covid Plus กรมอนามัย ได้มีรายละเอียดกำหนดไว้ทั้งหมด ซึ่งอยากให้ศึกษาและทำให้ถูกต้อง

ทั้งนี้ ต้องขอให้ประชาชนร่วมสังเกตและตรวจสอบข้อเท็จจริงของตลาดใกล้พื้นที่ของประชาชนเป็นอย่างไร ซึ่งจะเป็นการกระตุ้นให้กับเจ้าของตลาดที่จะดำเนินการปรับปรุงตลาดด้วย และจะทำให้ผ่านเกณฑ์ทั้งหมด 100 % 

เปิดผลตรวจ"ตลาด"ทั่วกทม. ไม่ผ่านเกณฑ์คุมโควิด 90 แห่ง มีข้อบกพร่องอะไรบ้าง?

นางศิลปสวย  ระวีแสงสูรย์  ปลัดกรุงเทพมหานคร  เปิดเผยว่า จากสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019  (โควิด-19) ที่พบผู้ติดเชื้อเป็นกลุ่มก้อนหลายแห่งในพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยตลาดเป็นสถานที่ที่มีความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดค่อนข้างสูงเนื่องจากมีผู้ค้า คนงาน และประชาชนที่มาจับจ่ายเป็นจำนวนมาก กรุงเทพมหานคร โดยสำนักอนามัย จึงได้ร่วมกับสำนักงานเขตพื้นที่ และกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ออกตรวจติดตามเพื่อให้ผู้ประกอบการตลาดดำเนินการตามมาตรการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ตามหลักเกณฑ์ 9 ข้อ ประกอบด้วย การระบายอากาศ ทะเบียนผู้ค้าและลูกจ้าง การทำความสะอาด การสวมหน้ากากอนามัย/หน้ากากผ้า จุดบริการล้างมือ การเว้นระยะห่างบุคคล การควบคุมจำนวนลูกค้า การควบคุมการเข้าออก/การคัดกรอง การใช้แอปพลิเคชัน/การบันทึกข้อมูล  

ขอบคุณภาพประกอบจาก : เพจ กรุงเทพมหานคร โดยสำนักงานประชาสัมพันธ์