วัคซีนโควิด "แอสตร้าเซนเนก้า" ล่าช้าที่ฟิลิปปินส์ ไม่เกี่ยวกับสยามไบโอไซเอนซ์

02 มิ.ย. 2564 | 14:00 น.

ผู้อำนวยการสถาบันวัคซีนแห่งชาติ ชี้แจงสื่อ กรณีข่าวฟิลิปปินส์ ได้รับวัคซีน "แอสตร้าเซนเนก้า"  ล่าช้า ยืนยันไม่เกี่ยวกับสยามไบโอไซเอนซ์ 

วันที่ 2 มิ.ย. 64 องค์การอนามัยโลก ประจำประเทศไทย (World Health Organization Thailand) จัดเวทีให้ความรู้สื่อมวลชนในประเทศไทย ผ่านระบบ Zoom และมีการถ่ายทอดผ่านเฟซบุ๊กแฟนเพจในหัวข้อ  "การกระจายวัคซีนในประเทศไทย
ซึ่งมีสาระสำคัญเกี่ยวกับวัคซีน เพื่อสนับสนุนประชาชนและภาครัฐในการควบคุมการระบาดของโรคโควิด 19 โดยเชิญตัวแทนจากองค์การอนามัยโลกและผู้เชี่ยวชาญด้านสาธารณสุขจะมาให้ข้อมูลทางวิชาการ

วัคซีนโควิด "แอสตร้าเซนเนก้า" ล่าช้าที่ฟิลิปปินส์ ไม่เกี่ยวกับสยามไบโอไซเอนซ์

นพ.นคร เปรมศรี ผู้อำนวยการสถาบันวัคซีนแห่งชาติ ตอบคำถามของสื่อมวลชนที่ถามถึงกรณีข่าวฟิลิปปินส์จะได้รับวัคซีนแอสตราเซนเนก้าล่าช้าจะกระทบไทยหรือไม่ว่า

"อันนี้คนถามอาจจะเข้าใจผิด ฟิลิปปินส์จะได้รับวัคซีนล่าช้า ก็จะได้รับจากแอสตราเซนเนก้า ไม่ใช่เพราะสยามไบโอไซเอนซ์ ผมเข้าใจว่า ต่างประเทศก็คงสั่งซื้อจากแอสตราเซนเนก้า เพราะฉะนั้น เรื่องของการส่งล่าช้าก็จะเป็นเรื่องของแอสตราเซนเนก้ากับรัฐบาลประเทศนั้นๆ สำหรับผมคงไม่สามารถตอบแทนได้"

นายแพทย์นคร กล่าวอีกว่า แต่ส่งมอบวัคซีนแอสตราเซนเนก้าของประเทศไทยก็เริ่มตั้งแต่ปลายสัปดาห์นี้เพื่อที่จะจัดสรรวัคซีนออกไป แล้วก็การผลิตวัคซีนและการกระจายวัคซีนในสถานการณ์ตอนนี้เป็นสถานการณ์ฉุกเฉิน เราไม่ได้มีวัคซีนอยู่ในคลังผู้ผลิตวัคซีนเป็นจำนวนเยอะๆ แล้วทยอยส่งมอบ แต่เป็นการผลิตไปส่งมอบไป แล้วก็การผลิตวัคซีนมีขั้นตอนรายละเอียดเยอะมาก เพราะฉะนั้น ในทุกขั้นตอนก็จะต้องมีการตรวจสอบคุณภาพ 

"ดังนั้น ระยะเวลาการผลิตจึงต้องใช้เวลายาวนานกว่าที่คาดการณ์ไว้ ผมเข้าใจว่าหลายคนยังรู้สึกคับข้องใจว่าทำไมจึงเป็นเช่นนี้ แต่ว่าถ้าเราเข้าใจสถานการณ์ตรงกัน ก็จะรู้ว่าเป็นเช่นนี้เพราะผู้ผลิตวัคซีนไม่ได้มีวัคซีนจำนวนมากพร้อมรอส่ง ทุกอย่างต้องผลิตไปใช้ไป โดยจากการที่เรามีฐานการผลิตในประเทศไทย ส่วนหนึ่งก็ทำให้มั่นใจว่า อย่างไรเสียเราก็ยังมีวัคซีนที่ผลิตอยู่ในประเทศไทย แล้วก็กระบวนการจัดสรรก็จะอยู่ภายใต้การเจรจาร่วมกันกับสถาบันวัคซีนแห่งชาติ กรมควบคุมโรค และแอสตราเซนเนก้า ที่ทางรองนายกฯ ได้มอบหมายไว้ว่าจะเป็นผู้ที่ต้องเจรจาการจัดสรรวัคซีนต่อไป สำหรับประเทศไทยเราก็จะต้องดำเนินการในส่วนของเรา เพื่อทำให้มั่นใจว่าจะมีวัคซีนส่งออกได้" 

ผอ.สถาบันวัคซีนฯ กล่าวอีกว่า ทั้งนี้ ข้อตกลงที่เรามีกับแอสตราเซนเนก้า เราจะไม่ห้ามการส่งออกวัคซีน แต่การส่งออกวัคซีนแต่ละครั้งต้องมีการปรึกษาหารือกัน อยู่บนพื้นฐานของการปรึกษาหารือ เพราะฉะนั้นก็นี่เป็นเรื่องบริหารตามสถานการณ์ การดำเนินการแต่ที่ปัจจัยแวดล้อมต่างๆ