ผ่าแผนฉีดวัคซีนโควิด100 ล้านโดส

07 พ.ค. 2564 | 04:44 น.

รายงานพิเศษ : อีก 1 เดือน ไทยจะเข้าสู่แผนการฉีดวัคซีนโควิดระยะที่ 2 ฐานเศรษฐกิจได้รวบรวมข้อมูลแผนฉีดวัคซีนโควิด 100 ล้านโดส เเละเปรียบเทียบวัคซีนของผู้ผลิตหลายประเทศ

นับถอยหลังอีก 1 เดือนข้างหน้า ประเทศไทยจะเข้าสู่แผนการฉีดวัคซีนโควิด-19 ระยะที่ 2 จะมีวัคซีนล็อตใหญ่ของแอสตร้าเซนเนก้า (AstraZeneca) และเริ่มให้บริการฉีดตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2564

กลุ่มเป้าหมายคือ ประชาชนกลุ่มผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 11.7 ล้านคน และผู้ที่มีโรคประจำตัว 7 กลุ่มโรค จำนวน 4.3 ล้านคน รวมทั้ง 2 กลุ่ม 16 ล้านคน ได้แก่

1.โรคทางเดินหายใจเรื้อรังรุนแรง

2.โรคหัวใจและหลอดเลือด

3.โรคไตวายเรื้อรัง

4.โรคหลอดเลือดสมอง

5.โรคมะเร็ง

6.เบาหวาน

7.โรคอ้วน

โดยแผนการฉีดวัคซีนจะเริ่มช่วงเดือนมิถุนายนนี้จะมีวัคซีนล็อตใหญ่จากแอสตร้าเซนเนก้า 6 ล้านโดส และในเดือนกรกฎาคม อีก 10 ล้านโดส ซึ่งจะฉีดภายใน 2 เดือนคือ เดือนมิถุนายน-กรกฎาคม โดยสามารถลงทะเบียนฉีดวัคซีนได้ผ่านไลน์ “หมอพร้อม”

อัพเดทยอดลงทะเบียนผ่าน “หมอพร้อม”

สำหรับจำนวนเปิดให้ประชาชนลงทะเบียนจองสิทธิฉีดวัคซีนผ่าน “หมอพร้อม” ตั้งแต่ 1 พฤษภาคมที่ผ่านมา คนไทยตื่นตัวและยอดคนจอง 

วันที่ 1 พ.ค.มีผู้จองฉีดวัคซีน 381,727 ราย

วันที่ 2 พ.ค.มีผู้จองฉีดวัคซีน 556,301 ราย

วันที่ 3 พ.ค.มีผู้จองฉีดวัคซีน 577,423 ราย

วันที่ 4 พ.ค.มีผู้จองฉีดวัคซีน 1,002,513 ราย

วันที่ 5 พ.ค.มีผู้จองฉีดวัคซีน 1,016,893 ราย

วันที่ 6 พ.ค. มีผู้จองฉีดวัคซีน 1,432,895 ราย

วันที่ 7 พ.ค. มีผู้จองฉีดวัคซีน 1,544,022 ราย

ผ่าแผนฉีดวัคซีนโควิด100 ล้านโดส
 

ถ้าดูตัวเลข 1,544,022 ราย เมื่อเทียบกับเป้าหมายแล้วค่อนข้างไกลเลยทีเดียว 

ผ่าแผนฉีดวัคซีนโควิด100 ล้านโดส

ผ่าแผนฉีดวัคซีนโควิด100 ล้านโดส 

เมื่อมาดู “แผนการฉีดวัคซีนโควิด19” ของรัฐบาลตั้งเป้าไว้ฉีดให้ครบทุกกลุ่มให้ได้ 100 ล้านโดส ครอบคลุมของวัคซีน 70 % ภายในปี 2564 คิดเป็น 50 ล้านคน ซึ่งต้องใช้วัคซีนจำนวน 100 ล้านโดส

ผ่าแผนฉีดวัคซีนโควิด100 ล้านโดส

โดยมีหลักการจัดหาจัดซื้อวัคซีนโควิด-19 ให้วัคซีนที่มีความหลากหลายทางชนิดและราคา ได้แก่ 

  • วัคซีน Pfizer Binotech จำนวน 5-20 ล้านโดส  
  • วัคซีน sputnik V จำนวน 5-10 ล้านโดส 
  • วัคซีน Johnson & Johnson จำนวน 5-10 ล้านโดส 
  • วัคซีน Sinovac จำนวน 5-10 ล้านโดส หรือวัคซีนอื่น เช่น Moderna หรือ Sinopharm หรือ Bharat หรือวัคซีนอื่นที่จะมีการขึ้นทะเบียนในอนาคต   

ขณะที่แนวทางการฉีดวัคซีนให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงในจังหวัดพื้นที่สีแดง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและ รมว.กลาโหม ได้สั่งการในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 5 พ.ค.ที่ผ่านมา โดยให้นโยบายกับกระทรวงสาธารณสุขว่า มีความจำเป็นต้องฉีดวัคซีนให้กับคนกลุ่มอื่น เช่น คนวัยทำงานด้วย ไม่เฉพาะฉีดให้กับผู้สูงอายุ หรือผู้มีโรคประจำตัว เนื่องจากมีพื้นที่เสี่ยงและประชาชนกลุ่มอื่นๆ ที่อาจมีความเสี่ยงและจำเป็นต้องได้รับวัคซีน 

ผ่าแผนฉีดวัคซีนโควิด100 ล้านโดส

ส่วนพื้นที่กรุงเทพมหานครมีประชากรที่สมควรฉีดให้ประมาณ 6 ล้านคน โดยภายใน 4 เดือน (พ.ค.-ส.ค.) จะต้องฉีดให้ได้ประมาณวันละ 6 หมื่นคน 

ผ่าแผนฉีดวัคซีนโควิด100 ล้านโดส
 

เปรียบเทียบวัคซีนของผู้ผลิตหลายประเทศทั่วโลกที่มีวางขาย 9 บริษัทในปัจจุบัน 

1.วัคซีน AstraZeneca กลุ่มบริษัทจากประเทษสวีเดนและอังกฤษ ชื่อวัคซีน ChAdOx1 nCoV-19 

มีประสิทธิภาพ ในการป้องกันได้ 70.4% มีราคาจัดจำหน่ายที่ 62-156 บาท สามารถฉีดได้ตั้งแต่อายุ 18-55 ปี ต้องฉีด 2 ครั้ง วันที่1 และที่ 4-12 สัปดาห์

ผลข้างเคียง ลิ่มเลือดเเข็งตัว และพบ 1 คนเป็นไขสันหลังอักเสบซึ่งคาดว่าเป็นผลมาจากการรับวัคซีน

2.วัคซีน Pfizer Binotech กลุ่มบริษัทจากประเทศสหรัฐอเมริกาและเยอรมัน ชื่อวัคซีน BNT162b2 ใช้เทคโนโลยี mRNA 

มีประสิทธิภาพ ในการป้องกันได้ 81.8-95% มีราคาจัดจำหน่ายที่ 570-607 บาท สามารถฉีดได้ตั้งแต่อายุ 16 ปีขึ้นไป ต้องฉีด 2 ครั้ง วันที่1 และวันที่ 21

ผลข้างเคียงพบ 0.5% เจ็บปวดบริเวณไหล่ ต่อมน้ำเหลืองรักแร้โต หัวใจห้องล่างเต้นผิดจังหวะ มีอาการชาที่ขา

3.วัคซีน sputnik V ได้รับการสนับสนุนจากกองทุน Russian Direct Investment Fund (RDIF) ของรัฐบาลรัสเซีย

มีประสิทธิภาพ 79.4% ในการป้องกันไวรัสโควิด-19 ราคา 10 ดอลลาร์ต่อ 1 โดส หรือราว 314 บาท สามารถฉีดได้ตั้งแต่อายุ 18-87 ปี ต้องฉีด 2 ครั้ง : วันที่ 1-rAd26และ วันที่ 21–rAd5

ผลข้างเคียง เจ็บจุดที่ฉีดวัคซีน ปวดหัว กล้ามเนื้อ ผื่นขึ้น และพบปัญหาลิ่มเลือดอุดตันเป็นผลข้างเคียงหาได้ยากมาก

4.วัคซีน Johnson & Johnson กลุ่มบริษัทจากประเทศสหรัฐอเมริกา ชื่อวัคซีน JNJ-78436735 

มีประสิทธิภาพ ในการป้องกันได้ 66% มีราคาจัดจำหน่ายที่ 311 บาท สามารถฉีดได้ตั้งแต่อายุ 18 ปีขึ้นไป ต้องฉีด 1 ครั้ง

ผลข้างเคียง เจ็บในจุดที่ฉีดวัคซีน ปวดหัว กล้ามเนื้อ ผื่นขึ้น และพบปัญหาลิ่มเลือดอุดตันเป็นผลข้างเคียงหาได้ยากมาก

5.วัคซีน Sinovac บริษัทซิโนเเวค กลุ่มบริษัทจากประเทษจีน ชื่อวัคซีน CoronaVac

มีประสิทธิภาพในการป้องกันได้การติดเชื้อแแบบแสดงอาการ 78.2 % มีราคาจัดจำหน่ายที่ 467-934 บาท สามารถฉีดได้ตั้งแต่อายุ 18-60 ปีขึ้นไป ต้องฉีด 2 ครั้ง

ผลข้างเคียง อ่อนเพลีย ปวดหัว ปวดกล้ามเนื้อ หนาวสั่น มีไข้

6. วัคซีน Moderna กลุ่มบริษัทจากประเทศสหรัฐอเมริกา ชื่อวัคซีน mRNA-1273 ใช้เทคโนโลยี mRNA

มีประสิทธิภาพในการป้องกันได้ 94.1% มีราคาจัดจำหน่ายที่ 996-1,152 บาท สามารถฉีดได้ตั้งแต่อายุ 18-95 ปีขึ้นไป ต้องฉีด 2 ครั้ง 

ผลข้างเคียง อ่อนเพลีย ปวดหัว ปวดกล้ามเนื้อ ปวดข้อ หนาวสั่น คลื่นไส้อาเจียน

7.วัคซีน Sinopharm กลุ่มบริษัทจากประเทศจีน ชื่อวัคซีน BBIBP CorV 

มีประสิทธิภาพในการป้องกันได้ 79.34% มีราคาจัดจำหน่ายที่ 934 บาท สามารถฉีดได้ตั้งแต่อายุ 18-60 ปี ต้องฉีด 2 ครั้ง 3-4 สัปดาห์

ผลข้างเคียง เจ็บปวดบริเวณที่ฉีดวัคซีน ปวดหัวเเละกล้ามเนื้อ ผื่นขึ้น มีไข้

8.วัคซีน Bharat บริษัท Bharat Biotech ชื่อวัคซีน Covaxin มีประสิทธิภาพมากถึง 81% หากฉีดครบ 2 เข็ม จะให้ผลลัพธ์ที่มีนัยสำคัญ

มีประสิทธิภาพในการต่อต้านไวรัสกลายพันธุ์ อย่างสายพันธุ์บราซิล และสายพันธุ์ D614G หรือสายพันธุ์ G ที่พบมากในสหรัฐอเมริกาและยุโรปอีกด้วย

9. วัคซีนโนวาแวกซ์ กลุ่มบริษัทจากประเทศสหรัฐอเมริกา ชื่อวัคซีน NVX-CoV2373

มีประสิทธิภาพ ในการป้องกันได้ 89.3-% มีราคาจัดจำหน่ายที่ 498 บาท สามารถฉีดได้ตั้งแต่อายุ 18-84 ปีขึ้นไป ต้องฉีด 2 ครั้ง

ผลข้างเคียง อ่อนเพลีย ปวดหัว ปวดกล้ามเนื้อ หนาวสั่น คลื่นไส้ อาเจียน

ภาควิชาระบาดวิทยาคลินิกและชีวสถิติ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ศึกษาและรวบรวมข้อมูลอย่างเป็นทางการของประสิทธิภาพวัคซีนยี่ห้อต่างๆ ที่ไปทดสอบขนาดใหญ่ในหลายประเทศ พบว่า 

ประสิทธิภาพของวัคซีนในการป้องกันโรค COVID-19 ที่มีอาการมีความแตกต่างกันในแต่ละผู้ผลิต โดยวัคซีนของ Moderna มีประสิทธิภาพสูงสุด ตามมาด้วย Pfizer ส่วนประสิทธิภาพของ Sinovac และ Astra/Oxford ไม่มีความแตกต่างกันมากนักโดยผลที่ได้คือ 93-94%  81.8-95% 78.2% และ 70.4% ตามลำดับ 

ถ้าสามารถให้วัคซีนแก่คนทุกๆ 1,000 คนด้วยวัคซีนของ Moderna Pfizer Sinovac และ Astra/Oxford จะสามารถป้องกันการติดเชื้อ COVID-19 ที่มีอาการได้ 12-17 8-10 10 และ12 คนตามลำดับ 

ขณะที่จำนวนผู้ป่วยอาการรุนแรง (ที่ต้องเข้ารับการรักษาใน ICU หรือเสียชีวิต)ในการศึกษามีจำนวนน้อยมาก พบราว 0-0.039% ในกลุ่มวัคซีนและ 0-0.046% ในกลุ่มเปรียบเทียบจากข้อมูลที่มีอยู่จึงเปรียบเทียบได้ยาก 

ข้อมูลในกลุ่มหญิงมีครรภ์ เด็ก และผู้สูงอายุยังมีไม่เพียงพอ ยังไม่มีข้อมูลสนับสนุนหรือต่อต้านการรับวัคซีน ผลข้างเคียงที่พบบ่อยคือ อ่อนเพลีย ปวดหัว ปวดกล้ามเนื้อ และมีไข้

ส่วนผลข้างเคียงรุนแรงพบเพียง 0.5% ในวัคซีน Pfizer (อาการบาดเจ็บของไหล่ที่เกี่ยวข้องกับวัคซีน ต่อม น้ำเหลืองที่รักแร้โต หัวใจห้องล่างเต้นผิดจังหวะและอาการชาที่ขา) และ 0.65% ในวัคซีน Astra/Oxford (รวมอาการไขสันหลังอักเสบ) 

ตารางเปรียบเทียบผลการศึกษาด้านประสิทธิภาพและความปลอดภัยของวัคซีนป้องกัน COVID-19 

ขณะที่ ศ.นพ.ยง  ภู่วรวรรณ หรือ หมอยง หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระบุว่า ตัวเลขประสิทธิภาพของวัคซีนไม่สามารถนำมาเปรียบเทียบกันได้ เพราะไม่ได้ทดลอง หรือ ศึกษาพร้อมกันในสถานที่เดียวกัน เวลาเดียวกัน จึงไม่สามารถเปรียบเทียบกันได้ตัวเลขประสิทธิภาพของวัคซีน ขึ้นอยู่กับ ปัจจัยต่างๆมากมาย 

“ในทางปฏิบัติ ในการดูวัคซีน เราจะต้องศึกษาข้อมูลทั้งหมด แต่บางครั้งเราก็ไม่ได้ข้อมูลทั้งหมด เราจึงไม่อยากเห็นการใช้ตัวเลขที่ทำการศึกษาต่างระยะเวลากัน ต่างสถานที่กัน มาเปรียบเทียบกัน ว่าวัคซีนใครดีกว่าใครอย่างไรก็ตาม จากข้อมูลการวัดระดับภูมิต้านทาน วัคซีนในกลุ่ม mRNA จะมีภูมิต้านทานสูงกว่าวัคซีนอื่นทั้งหมด สำหรับประเทศไทยเราต้องการวัคซีนทุกตัว ที่สามารถจะนำเข้ามาได้ และให้มีการใช้อย่างเร็วที่สุด” 

ท่ามกลางความไม่มั่นใจในประสิทธิภาพและความปลอดภัยของวัคซีน สังคมต่างวิพากวิจารณ์และตั้งคำถามรัฐบาลไทยอย่างหนักถึงการเดินหน้าเรื่องวัคซีนผิดพลาด ไม่ว่าจะเป็นซื้อช้าเกินไปหรือซื้อน้อยเกินไปหรือไม่ เพราะวัคซีนโควิดเป็นเรื่องสำคัญที่จะลดอัตราการป่วยและการตายเพื่อตัดวงจรการระบาดของเชื้อโรคและปกป้องระบบสุขภาพของประเทศ ที่สำคัญคือทางรอดที่จะทำให้สามารถกลับมาเปิดประเทศและกระตุ้นเศรษฐกิจได้

"เรามีแผนการกระจายและฉีดวัคซีนอย่างเป็นระบบผ่านระบบหมอพร้อมที่มีประชาชนมาลงทะเบียนจองคิวฉีดวัคซีนแล้วมากกว่า 1 ล้านคน รวมทั้งผ่านทางเครือข่ายโรงพยาบาล ทั้งรัฐและเอกชน รวมถึงโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล และเครือข่าย อสม. ทั่วประเทศ โดยใช้แผนบริการการฉีดวัคซีนตามหลักการสาธารณสุขและการสร้างสมดุลทางเศรษฐกิจและสังคม จัดลำดับกลุ่มเสี่ยง และพื้นที่เร่งด่วนและพื้นที่เศรษฐกิจ โดยได้ร่วมมือกับภาคเอกชนในการเพิ่มจุดบริการการฉีดวัคซีนให้มากขึ้น” 

นี่คือสิ่งที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม กล่าวภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วานนี้ (6 พ.ค.64) เกี่ยวกับแนวทางการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของโควิด-19 ว่า ตั้งเป้าต้องฉีดวัคซีนให้ได้เดือนละ 15 ล้านโดส เพื่อเอาชนะสงครามกับโควิดในครั้งนี้ให้ได้


ผ่าแผนฉีดวัคซีนโควิด100 ล้านโดส

ที่มา : เอกสารเปรียบเทียบผลการศึกษาด้านประสิทธิภาพและความปลอดภัยของวัคซีนป้องกัน COVID-19ที่มีขายในปัจจุบัน 

COVID-19 Vaccine Comparison Chart: Updated 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง 

“อนุทิน” เผย Pfizer พร้อมส่งวัคซีนให้ไทยก.ค.นี้

เปิดตัว “สปุตนิก ไลท์” วัคซีนโควิดเข็มเดียวเอาอยู่จากรัสเซีย

WTO จ่อเปิดเวทีเจรจายกเว้นสิทธิ IP วัคซีนโควิด ปลดล็อกการผลิตในประเทศกำลังพัฒนา

เช็กเลย! 25 จังหวัด เดินทางเข้า"ภูเก็ต" ต้องฉีดวัคซีนครบ 2 เข็ม-ตรวจหาเชื้อโควิดแล้ว