เจ้าสัวธนินท์ ถือฤกษ์ดี พลิกโฉมแบรนด์ “โลตัส” สู่ Lotus’s    

15 ก.พ. 2564 | 07:12 น.

เจ้าสัวธนินท์ เจียรวนนท์  นำทัพผู้บริหาร เปิดตัวแบรนด์ใหม่ “โลตัส” สู่ Lotus’s ชูภาพลักษณ์ใหม่  SMART สู่ยุคดิจิทัล  

หลังเครือเจริญโภคภัณฑ์ หรือซีพี เข้าซื้อกิจการเทสโก้ โลตัสอย่างเป็นอย่างการ ล่าสุด เจ้าสัวธนินท์ เจียรวนน์ นำทัพผู้บริหารเปิดตัว แบรนด์ “เทสโก้ โลตัส” โฉมใหม่ ที่นอกจากหั่นชื่อเหลือเพียง “โลตัส” ยังปรับเปลี่ยนใหม่เป็น Lotus’s   โดยเปิดโฉมใหม่อย่างเป็นทางการ ณ โลตัส สาขาเลียบด่วน รามอินทรา เป็นสาขาแรกในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2564

โดย Lotus’s  ถูกออกแบบให้แตกต่างจากเดิม เน้นสี และตัวอักษรใหม่ ที่มีความสดใสมากขึ้น รวมถึงวิธีการเขียนที่เพิ่ม "s" มาอีก1 ตัว แทนคำว่า สมาร์ท (Simple, Motivate, Agile, Responsible, transformative) และ สะท้อนถึงการสร้างคุณค่าด้านความยั่งยืน (Sustainability)  นอกจากนี้ที่นี่ยังชูเทคโนโลยีอีกหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นหุ่นยนต์ชงกาแฟ การออกแบบสโตร์รูปแบบใหม่ รวมถึงการนำสินค้าชุมชนมาเปิดโอกาสทางการตลาด

พลิกโฉมแบรนด์ “โลตัส” สู่ Lotus’s    

นายศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหาร เครือเจริญโภคภัณฑ์ กล่าวว่า วันนี้เป็นวันดี เพิ่งผ่านวันตรุษจีนมา และถือเป็นการเปิดตัวแบรนด์โลตัส โดยเน้นย้ำถึงการยึดม้่นใน ค่านิยมของเครือเจริญโภคภัณฑ์ ข้อแรกคือ 3 ประโยชน์ ประเทศต้องได้ประโยชน์ กตัญญูต่อประเทศ สิ่งที่เราลงทุน สิ่งที่เราทำทั้งหมดประเทศต้องได้ประโยชน์ ต้องให้ประชาชน ลูกค้า และคู่ค้า ได้ประโยชน์ แล้วบริษัทจึงจะได้ประโยชน์ เป็นลำดับสุดท้าย

 

ประการที่ 2 คือความรวดเร็วและมีคุณภาพในเวลาเดียวกัน ซึ่งต้องให้ความสำคัญกับคุณภาพสินค้าและบริการที่ลูกค้าต้องได้รับสิ่งที่ดีที่สุด

ประการที่ 3 ทำเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่าย ซึ่งต้องอาศัยความรู้ความสามารถของคนรุ่นใหม่ ผสมผสานกับประสบการณ์ของคนทุกรุ่น

พลิกโฉมแบรนด์ “โลตัส” สู่ Lotus’s    

ประการที่ 4 เปิดรับความเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ปรับตัวให้ทันต่อความเปลี่ยนแปลง

ประการที่ 5 สร้างนวัตกรรมสิ่งที่สามารถที่จะเติมเต็มและสร้างวิถีชีวิตที่ดีขึ้นให้กับผู้บริโภคต้องการ

ประการที่ 6 คือซื่อสัตย์ยุติธรรม ซึ่งต้องรับฟังทุกภาคส่วนและมีความโปร่งใส ยกระดับสังคมไปพร้อมๆกัน

พลิกโฉมแบรนด์ “โลตัส” สู่ Lotus’s

วัฒนธรรม 3 ประโยชน์ คือการคำนึงถึงส่วนรวมเป็นที่ตั้ง คำนึงถึงผู้บริโภคประชาชนและบริษัทเกิดขึ้นได้และยั่งยืนได้ก็ด้วยคำนึงถึงประโยชน์เหล่านี้ นั่นหมายความว่า การที่เรากำลังมองถึงประเทศชาติ รัฐ ประชาชนและบริษัท จริงๆแล้วมีความทันสมัย เสมือนที่นานาประเทศทั่วโลกกำลังขับเคลื่อนกัน หรือเรียกว่า PPP (Public Private Partnership) คำว่า Partner

หรือความร่วมมือหรือการผนึกกำลัง ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะใน 3 มิติที่พูดถึง แต่เกิดขึ้นในระดับของเครือเจริญโภคภัณฑ์ด้วย ในทุกๆกลุ่มธุรกิจที่ต้องผนึกกำลังกัน และเกิดขึ้นระหว่าง Lotus’s ตลอดจนคู่ค้า ตลอดห่วงโซ่อุปทานของ Lotus’s ที่จะต้องผนึกกำลังกันและนำมาซึ่งของที่มีคุณค่าคุณประโยชน์ ของที่มีการพัฒนาให้เกิดความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ของใหม่ๆ ที่ผู้บริโภคต้องการ สร้างคุณประโยชน์ให้กับผู้บริโภค ให้กับลูกค้า ให้กับชุมชนในที่ที่ Lotus’s อยู่

พลิกโฉมแบรนด์ “โลตัส” สู่ Lotus’s

“Lotus’s ในยุคต่อไป ก็จะเป็น Lotus’s ที่ก้าวเข้าสู่ยุค o2o คือออฟไลน์ไปออนไลน์ จากจุดที่เราเป็นร้านค้าที่ผู้คนมาเดินหาซื้อของซื้ออาหาร แต่ต่อไปนี้จะไปถึงขั้นที่คนสามารถเข้าถึงระบบออนไลน์ และจะเป็นการเปิดโอกาสให้สินค้าชุมชนขึ้นมาอยู่บนแพลตฟอร์มออนไลน์ได้ ทำให้เกิดความยั่งยืนให้กับทุกภาคส่วน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เครือซีพีรับบัญชา “ธนินท์” หนุนหน้ากาก-อาหารสู้โควิดต่อเนื่อง

CPF-CPALLแจ้งตลาด ปิดดีลซื้อ เทสโก้ โลตัส

สรุปคำวินิจฉัย กขค.  “ซีพีควบโลตัส”

เปิดอาณาจักรค้าปลีก 2 เจ้าสัว “ธนินท์-เจริญ”

ค้าปลีกเดือด “ธนินท์-เจริญ” เปิดศึก สาดสงครามราคา-โชห่วยกระอัก