กรมชลฯเร่งเก็บ ผักตบชวา รับมือน้ำหลาก

11 พ.ค. 2564 | 02:50 น.

พายุฤดูร้อนเดือนเม.ย.พัดพาผักตบชวา-วัชพืชกองเต็มลำน้ำเจ้าพระยากว่า 4,000 ตัน กรมชลประทานเก็บกำจัดเพื่อเปิดทางระบายน้ำสะดวก พร้อมเร่งก่อสร้างประตูระบายน้ำ-คลองส่งน้ำ รับมือหน้าฝนนี้

พายุฤดูร้อนเดือนเม.ย.พัดพาผักตบชวา-วัชพืชกองเต็มลำน้ำเจ้าพระยากว่า 4,000 ตัน กรมชลประทานเร่งส่งเครื่องจักรกลเก็บกำจัดเพื่อเปิดทางระบายน้ำสะดวก พร้อมเร่งการก่อสร้างประตูระบายน้ำ-คลองส่งน้ำ รับมือหน้าฝนนี้

นายกฤษฎา ศรีเพิ่มพันธ์ ผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 12  กรมชลประทาน เผยว่า ได้บูรณาการหลายหน่วยงาน ระดมจัดเก็บผักตบชวาต่อเนื่อง โดยเฉพาะลุ่มเจ้าพระยา ตั้งแต่จ.ชัยนาท นครสวรรค์ สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ที่ไหลมาตั้งแต่ม.ค. จนเต็มหน้าเขื่อนเจ้าพระยา ซึ่งได้จัดเก็บต่อเนื่องเช่นกัน พอเดือนเม.ย.มีพายุฤดูร้อน น้ำไหลลงมามาก นำผักตบชวาและวัชพืชตามมาด้วยจำนวนมากถึง 40,000 ตัน หรือ 500 ไร่เศษ จึงเพิ่มเครื่องจักรกลจัดเก็บแล้ว 12,000 ตัน เหลือ 28,000 ตัน ซึ่งจะแล้วเสร็จต้นเดือนพ.ค.นี้ เพื่อให้การระบายน้ำคล่องตัว 

กรมชลฯเร่งเก็บ  ผักตบชวา  รับมือน้ำหลาก

ขณะที่ นายสุรัช ธนูศิลป์ ผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 10 เผยว่า การก่อสร้างงานพนังคอนกรีตคลองส่งน้ำในพื้นที่ อ.ท่าวุ้ง จ.ลพบุรี เวลานี้คืบหน้าแล้ว 85% คาดจะแล้วเสร็จก่อนฤดูการส่งน้ำนาปี  2564 นี้  ซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาขาดแคลนน้ำที่เกิดขึ้นในช่วง 2 ปีมานี้ได้ ตามแผนป้องกันและบรรเทาอุทกภัยในฤดูน้ำหลากปีนี้

กรมชลฯเร่งเก็บ  ผักตบชวา  รับมือน้ำหลาก

ส่วนสถานการณ์น้ำทุ่งบางกุ่ม ต.บ้านขล้อ อ.บางปะหัน จ.พระนครศรีอยุธยา ซึ่งเป็นที่ลุ่มต่ำสุดในทุ่งเจ้าพระยา (สะดือ มหาราช) ปีนี้ดีกว่าปีที่แล้วมาก พายุฤดูร้อนเดือนเม.ย.ทำให้มีน้ำพอเริ่มทำนาได้แล้ว จึงให้เจ้าหน้าที่ชลประทานเก็บกักน้ำฝนไว้ในทุ่งสำหรับทำนา โดยใช้ประตูระบายน้ำบางกุ่มควบคุม และจะเร่งพิจารณาความเหมาะสม การก่อสร้างคันกั้นน้ำริมคลองระบายบางกุ่มทั้ง 2 ฝั่ง ให้สามารถเก็บกักน้ำได้เพิ่มขึ้นประมาณ 600,000ลบ.ม. ไว้เป็นน้ำต้นทุนทางการเกษตรตามข้อเสนอโดยเร็วต่อไป 

หน้า 17 ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 3,677 วันที่ 9 - 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2564

ข่าวที่เกี่ยวข้อง