“Rubber Valley” ชาวสวนยางพาราได้อะไร?

07 ธันวาคม 2563

“Rubber Valley” ที่นครศรีธรรมราช หน้าตาจะเป็นอย่างไร เกษตรกรชาวสวนยางพาราจะได้ประโยชน์มากน้อยแค่ไหน อย่างไร ฟังการวิเคราะห์จากดร.อัทธ์ พิศาลวานิช ผอ.ศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ ม.หอการค้าไทย

“Rubber Valley”  ชาวสวนยางพาราได้อะไร?

 

ประเทศไทยมีการพูดถึงการตั้ง “Rubber Valley” ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นอีกหนึ่งจังหวัดภาคใต้ของไทยที่ผลิตยางพาราได้เยอะ คำว่า “Rubber Valley” จริง ๆ คืออะไร และหน้าตาจะเป็นอย่างไร และที่สำคัญที่สุดกว่าเรื่องอื่นใดทั้งหมดคือหากตั้งขึ้นมา “เกษตรกรชาวสวนยางพาราได้ประโยชน์มากน้อยแค่ไหนอย่างไร”

 

ก่อนอื่นผมอยากให้ผู้อ่านได้เข้าใจว่า “Rubber Valley” คืออะไรเสียก่อน

 

ผมขอถอดรหัส “Rubber Valley” ของประเทศจีน เมื่อประเทศจีนเป็นประเทศผู้ซื้อยางพารารายใหญ่ของโลกและมีอุตสาหกรรมการผลิตใหญ่ที่สุดของโลกทำให้เกิดจึง “หุบเขาแห่งอุตสาหกรรมยางพารา (Rubber Valley)” หรือ “ฐานการผลิตอุตสาหกรรมยางพาราของโลก (Platform of Rubber Valley)” ที่ได้ก่อตั้งเมื่อปี 2555 ซึ่งตั้งอยู่บนพื้นที่กว่า 1,200 ไร่ ในตำบลซือไป (Shibei) เมืองชิงเต่า (Qingdao) มณฑลซานตง (Shandong)

 

วัตถุประสงค์หลักเพื่อต้องการพัฒนาอุตสาหกรรมยางพาราครบวงจรและอุตสาหกรรมเคมีซึ่งประกอบด้วย 12 ฐานองค์ความรู้คือ ฐานความรู้การบ่มเพาะธุรกิจ (Enterprise Incubation Platform) ฐานความรู้ด้านการอบรม (Education Training Platform) ฐานความรู้การแลกเปลี่ยนสินค้า (Commodity Transaction Platform)  ฐานความรู้ด้านคลังสินค้าและโลจิสติกส์ (Warehousing & Logistics Platform)  ฐานความรู้ด้านพาณิชย์อิเลกทรอนิกส์ (E-Commerce Platform) ฐานความรู้การเงินและเงินทุน (Finance & Capital Platform) ฐานความรู้งานแสดงสินค้า (Exhibition& Expo Platform) ฐานความรู้การแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม (Cultural Exchange Platform) ฐานความรู้ด้านการเชื่อมโยงข้อมูลข่าวสาร (Information Network Platform) ฐานความรู้การให้บริการ (Intermediary Service Platform) ฐานความรู้การพัฒนาบุคลากร (Human Resources Platform) และ ฐานความรู้การวิจัยวิทยาศาสตร์และนวัตกรรม (Scientific Research & Innovation Platform)

 

“Rubber Valley”  ชาวสวนยางพาราได้อะไร?

โดยความร่วมมือระหว่างสมาคมอุตสาหกรรมยางพาราจีน (China Rubber Industry Association : CRIA) ที่ก่อตั้งเมื่อปี 2528 มีสมาชิกจำนวน 1,200 บริษัท ประกอบด้วยกลุ่มอุตสาหกรรมยางพาราทั้งหมด ได้แก่ Tires, middle weight tires, rubber products, latices, rubber tubes and rubber tapes, rubber shoes, carbon black, reclaimed rubber, rubber machinery, rubber materials, trade and research institutes and colleges  มีสำนักงานอยู่ที่อำเภอชาวย่าง (Chao Yang District) ปักกิ่ง ซึ่งบริษัทเหล่านี้สามารถผลิตผลิตภัณฑ์ยางพาราคิดเป็นร้อยละ 80 ของมูลค่าอุตสาหกรรมยางพาราของประเทศจีน

 

“Rubber Valley”  ชาวสวนยางพาราได้อะไร?

 

นอกจากนี้ยังมีคณะกรรมการและผู้เชี่ยวชาญ 13 คณะกรรมการดังนี้ Tire Branch, Cycle Casing Branch, Hose and Belt Branch, Rubber Shoes Branch, Rubber Products Branch, Latex Branch, Carbon Black Branch, Waste Rubber Utilization Branch, Rubber Mould Branch, Rubber Chemicals Committee, Carcass Materials Committee, Rubber Materials Committee, และ Sates Committee โดยมีบริษัทใหญ่ที่เป็นสมาชิกคือบริษัท Hangzhou Zhongce Rubber ที่ผลิตล้อรถยนต์อันดับหนึ่งของประเทศจีน และติด 1 ใน 10 ของโลก  ตั้งเมื่อปี 2501 มีพนักงาน 2 หมื่นคน ปี 2554 ผลิตล้อยางรถยนต์นั่ง 20.45 ล้านเส้น ล้อยางรถบรรทุก 15 ล้านเส้น และล้อรถมอเตอร์ไซด์และจักรยาน 80 ล้านเส้น

 

บริษัท  Cheng Shin Rubber   Industry ผลิตยางรถจักรยานใหญ่ที่สุดของโลก ส่งออกไปขาย 150 ประเทศ ก่อตั้งเมื่อ 2510  บริษัท China GITI ตั้งเมื่อปี 2536 มีโรงงานการผลิต 5 โรงงานทั่วจีน และ 1 โรงงานในอินโดนีเซีย บริษัท Shandong Triangle ตั้งเมื่อ 2519 เน้นผลิตล้อรถยนต์นั่งส่วนบุคคลและรถบรรทุกปีละ 300,000 เส้น บริษัท Double Coin มีบริษัทที่ถือหุ้นรายใหญ่คือกลุ่ม Shanghai Huayi (Group) Company ผลิตล้อรถบรรทุกสองยี่ห้อดังคือ “Double Coin” และ “Warrior” สำนักงานใหญ่ตั้งที่เซี่ยงไฮ้

 

นอกจากนี้มีบริษัท  Shandong Xingyuan Group ที่เป็นบริษัทผลิตเหล็กที่นำผลิตภัณฑ์ยางพาราเป็นส่วนประกอบ บริษัท Shandong Linglong ผลิตล้อยางเรเดียลปีละ 40 ล้านเส้น มีสำนักงานสาขาในประเทศไทย Linglong International Tire Co., Ltd.( Thailand) ตั้งอยู่ที่ระยองที่ได้เดินเครื่องการผลิตในปี 2557 บริษัท Aeolus Tire Co.ltd  ตั้งเมื่อปี 2508 ที่ Jiaozuo มณฑลเห่อนาน (Henan) บริษัท Qingdao Double Star Tire ตั้งเมื่อปี 2539 ที่เมืองชิงเต่า ผลิตยางล้อรถยนต์ยี่ห้อ  “DOUBLESTAR”,"DONGFENG","AOSEN" สามารถผลิต นอกจากนี้ยังผลิตยางเรเรียลรถบรรทุก 5 ล้านเส้น ยางกึ่งเรเดียล 6 ล้านเส้น และผลิตยางผ้าใบรถบรรทุก 2 ล้านเส้น เป็นต้น

 

และผู้ร่วมก่อตั้งอีกหนึ่งสถาบันคือ มหาวิทยาลัยชิงเต่าวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Qingdao University of Science & Technology) ขณะนี้มีการจัดตั้งวิทยาลัยยางพารากับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ หาดใหญ่ (Sino-Thai International Rubber College : STIRC) เมื่อวันที่  11 พฤศจิกายน 2558 และ บริษัท MESNAC Co., Ltd. ซึ่งเป็นบริษัทรายใหญ่ของจีนที่ทำเครื่องมือผลิตล้อรถยนต์ตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำและผลิตเครื่องมือสำหรับอุตสาหกรรมอื่น ๆ ก่อตั้งเมื่อปี 2553 ที่เมืองชิงเต่า ผลิตภัณฑ์หลัก ๆ ได้แก่ เครื่องผสมอาหาร เครื่องตัด เครื่องบดยางพารา  เครื่องผสมยางพารา เครื่องทำล้อรถยนต์ เครื่องทดสอบคุณภาพล้อรถยนต์ เครื่องทำล้อยางเรเดียล และเครื่องมือทำยางสังเคราะห์ เป็นต้น

 

สำหรับข้อเสนอแนะที่ผมคิดว่าประเทศไทยต้องเร่งดำเนินการเพื่อให้ทำให้ราคายางพาราของไทยปรับตัวสูงขึ้นคือ คำถามที่ประเทศไทยต้องช่วยกันหาคำตอบคือ 1.ไทยมีความพร้อมแค่ไหนในการตั้ง “Rubber Valley” ถ้าเราดูต้นแบบของจีน ผมตอบได้เลยว่า ”ประเทศไทยยังไม่พร้อมในทุกด้าน” ทั้งเงินทุน การเชื่อมโยงระบบโครงสร้างพื้นฐานทั้ง ท่าเรือ ทางรถไฟ และท่าเรือบก และความเข้มแข็งของห่วงอุตสาหกรรมยางพาราทั้งระบบ 2.เกษตรกรชาวสวนยางพาราจะได้ประโยชน์จากการตั้ง “Rubber Valley” มากน้อยแค่ไหนอย่างไร มันจะส่งผลทำให้ “ราคายางพาราปรับตัวสูงขึ้นให้สามารถอยู่ได้หรือไม่” เพราะหากเราไม่สามารถจัดระบบโครงสร้างตลาดใหม่ ราคาก็ยังถูกกำหนดจาก ”นักลงทุน” รวมไปถึงความยั้งยืนสวนยางและการจะเข้ามาครอบครองสวนยางพาราจากนักลงทุนต่างชาติ 3.ประเทศไทยยังไม่มีการถอดบทเรียนจาก “Rubber City” ว่า “สำเร็จหรือล้มเหลว?” รวมไปถึงจุดอ่อนจุดแข็งและสิ่งที่ต้องปรับคืออะไร

 

“Rubber Valley”  ชาวสวนยางพาราได้อะไร?