“ครป.” วอนรัฐทบทวนซีพีควบรวมเทสโก้โลตัส่ หวั่นผูกขาดทางการตลาด

25 พ.ย. 2563 | 09:12 น.

ครป.จี้กรรมการแข่งขันทางการค้าทบทวนมติและเปิดเผยผลการวินิจฉัยส่วนตัว เพราะขัดกับเจตนารมณ์ชองกฎหมาย ขู่ภายใน 60 วันไม่ทบทวนเดินหน้าฟ้องศาลปกครอง

นายเมธา มาสขาว เลขาธิการคณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.) กรณีที่คณะกรรมการแข่งขันทางการค้าได้มีมติอนุญาตให้กลุ่มบริษัทในเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) ในนามซี.พี.รีเทลโฮลดิ้ง เข้าควบรวมกิจการธุรกิจการค้าปลีกกับเทสโก้ โลตัส นั้น ครป.และเครือข่ายได้ตรวจสอบนโยบายทางเศรษฐกิจการค้ามาโดยตลอดรู้สึกห่วงใยอย่างยิ่ง เพราะเป็นการตอกย้ำระบบเศรษฐกิจผูกขาดของกลุ่มทุนใหญ่ที่กินรวบประเทศไทย

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

จี้กขค. สรุปคำวินิจฉัยกลาง ‘ซีพี’ควบ‘โลตัส’

ค้าปลีกเดือด “ธนินท์-เจริญ” เปิดศึก สาดสงครามราคา-โชห่วยกระอัก

บีบCPรับเงื่อนไข ควบรวมโลตัส ห้ามเก็บค่าต๋งเพิ่ม

เปิดประวัติ 7 กรรมการกขค. ใครเห็นชอบ-คัดค้านซีพีควบ "โลตัส"

 

 

การควบรวมกิจการทำให้ซีพีมีส่วนแบ่งทางการตลาดมากถึง 69.3% นั้น คณะกรรมการแข่งขันทางการค้ามีมติขัดกับเจตนารมณ์ของกฎหมายหรือไม่ ขณะที่หากเปรียบเทียบจากกรณีเยอรมนี ธุรกิจ Edeka ที่มีส่วนแบ่งการตลาดเพียง 24.9% ขอควบรวมกับ Kaiser's ที่มีส่วนแบ่งการตลาดเพียง 1.1% รวมเป็น 26% ยังทำไม่ได้เพราะรัฐไม่อนุญาตให้ผูกขาดตลาดมากไป และในทางหลักการและเจตนารมณ์ของกฎหมายแรกเริ่มแล้ว ไม่ควรให้มีการผูกขาดตลาดเกิน 1 ใน 3 ของส่วนแบ่งการตลาดทั้งหมด หรือเกินกึ่งหนึ่งในกฎหมายฉบับแก้ไขใหม่

เลขาธิการคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า ได้ออกมายอมรับเองว่า คณะกรรมการการแข่งขันทางการค้าเสียงข้างมากมีความเห็นว่าการรวมธุรกิจดังกล่าวส่งผลให้ผู้ประกอบธุรกิจที่ขออนุญาตรวมธุรกิจ ซึ่งเป็นผู้ประกอบธุรกิจที่มีอำนาจเหนือตลาดในตลาดร้านค้าปลีกสมัยใหม่สินค้าอุปโภคบริโภคประเภทร้านค้าปลีกขนาดเล็ก จะมีอำนาจตลาดเพิ่มมากขึ้น แต่การไปพิจารณาว่าไม่เป็นการผูกขาดนั้นฟังไม่ขึ้น เพราะผลทางอ้อมย่อมเกิดความเสียหายต่อเศรษฐกิจอย่างร้ายแรง เพราะทำให้โอกาสการเติบโตของธุรกิจรายย่อยที่จะมีความสามารถในกาแข่งขันเติบโตได้ยากยิ่ง

 

นอกจากนี้การประชุมของกรรมาธิการการพัฒนาเศรษฐกิจ สภาผู้แทนราษฎร ได้เชิญคณะกรรมการแข่งขันทางการค้ามาให้ข้อมูลในวันนี้นั้น การที่คณะกรรมการมีการแบ่งแยกตลาดค้าส่งและค้าปลีกออกจากกัน และแบ่งซอยการค้าปลีกออกเป็นอีก 3 ระดับแยกส่วนออกจากกันในการพิจารณาเรื่องการผูกขาดนั้น ดูเหมือนเป็นการตั้งใจที่จะหาช่องโหว่ทางกฎหมายในการสนับสนุนการควบรวมกิจการของทุนผูกขาดโดยตรงและขัดกับเจตนารมย์ของกฏหมายแข่งขันทางการค้าอย่างชัดเจน

เพราะในเมื่อการควบรวมมันทำให้ผูกขาดตลาดกว่าร้อยละ 69.3 นั้น ยิ่งทำให้กลุ่มทุนผูกขาดมีอิทธิพลเหนือตลาดมากขึ้นและประชาชนจะได้รับผลกระทบอย่างแน่นอนในฐานะผู้บริโภคที่ตกเป็นทาสในการกำหนดราคาของทุนที่ผูกขาดระบบเศรษฐกิจ

 

ทั้งนี้ ยังมีคณะกรรมการที่เห็นแย้งถึง 3:4 เสียงซึ่งต้องขอให้มีการเปิดเผยข้อวินิจฉัยส่วนตัวและมติฉบับเต็ม เพราะจะเป็นการอธิบายว่าเห็นแก่ประโยชน์ของประชาชนและผุ้บริโภคม่กน้อยเพียงใด หรือเห็นใจแต่ผลประโยชน์กลุ่มทุนเท่านั้น และมีใครแอบรับผลประโยชน์ต่างตอบแทนในการออกมติหรือไม่ ซึ่งต้องมีการตรวจสอบบัญชีทรัพย์สินด้วย

 

"ผมขอเรียกร้องให้รัฐบาลสั่งการให้ทบทวนมติดังกล่าว และมีนโยบายแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจผูกขาดในประเทศไทย โดยบังคับใช้กฎหมายการแข่งขันทางการค้า พ.ศ.2560 อย่างเคร่งครัดและอย่างมีประสิทธิภาพต่อการกระทำที่เข้าข่ายผูกขาดตลาดหรือครอบงำตลาดเกินกึ่งหนึ่งของบริษัทขนาดใหญ่ในประเทศซึ่งพบว่ายังมีอยู่จำนวนมากในระบบตลาดการค้าไทย โดยประกาศมาตรการที่ป้องกันและไม่อนุญาตให้เอกชนกลุ่มใดถือครองตลาดในด้านนั้นๆ เกินกึ่งหนึ่งของตลาดตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย โดยเฉพาะธุรกิจการค้าปลีกของกลุ่มบริษัทซีพีซึ่งเป็นผู้นำตลาดอุปโภคและบริโภคในประเทศไทย โดยไม่ต้องรอให้ภาคประชาชนในฐานะผู้บริโภคไปฟ้องศาลปกครองภายใน 60 วัน" นายเมธา กล่าว