ทางออกนอกตำรา : ทุกขลาภ ‘ไฮสปีด3สนามบิน’ กลุ่มซีพีแบกดอกเบี้ยบานตะไท

09 เม.ย. 2562 | 13:36 น.

มาคุยกับฐาน ทันทุกข่าวสาร แค่เพิ่มเราเป็นเพื่อน คลิกเลย!!!!! LINE : @THANSETTAKIJ 
ทางออกนอกตำรา : ทุกขลาภ ‘ไฮสปีด3สนามบิน’  กลุ่มซีพีแบกดอกเบี้ยบานตะไท
ทางออกนอกตำรา : ทุกขลาภ ‘ไฮสปีด3สนามบิน’  กลุ่มซีพีแบกดอกเบี้ยบานตะไท
ทางออกนอกตำรา : ทุกขลาภ ‘ไฮสปีด3สนามบิน’  กลุ่มซีพีแบกดอกเบี้ยบานตะไท
นับตั้งแต่วันที่ 12 พฤศจิกายน 2561 ถึงตอนนี้เป็นเวลาร่วม 4 เดือน ที่มีการเปิดซองประมูลโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน เพื่อรองรับการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (อีอีซี) ที่รัฐบาลภายใต้การนำของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกฯ ได้สร้าง “Golden Gate” ในการลงทุนเพื่อสร้างศักยภาพของประเทศไทย ถึงตอนนี้ต้องบอกว่า “จบเกมมหากาพย์การประมูลเค้กการลงทุนก้อนโต 2.24 แสนล้านบาท” ก็คงจะไม่ผิดพลาดเท่าใดนัก

กลุ่มกิจการร่วมค้าซีพี อันประกอบด้วย บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้งฯ, บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ฯถือหุ้น 5% บริษัท ไชน่า เรลเวย์ คอนสตรัคชั่น คอร์ปอเรชั่นฯ จากประเทศจีน ถือหุ้น 10% บริษัท ช.การช่างฯ และ บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพฯ (BEM) ถือหุ้น 15% เป็นผู้ชนะการประมูลไป แต่ข้อมูลภายในบอกว่า ซีพี ได้ไฮสปีดไปแล้วแต่แลกไปด้วยความยากลำบากเกินกว่าที่หุ้นส่วนพันธมิตรจะคาดคิด


ข้อมูลที่เปิดออกมา คือ กลุ่มซีพี เสนอให้รัฐสนับสนุนเงินลงทุนน้อยที่สุดแค่ 117,227 ล้านบาท ตํ่าจากกรอบที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติไว้ว่าจะรับผิดชอบ 119,425 ล้านบาท ถึง 2,198 ล้านบาท และได้ถอนข้อเสนออื่นๆ 12 ข้อ ที่อยู่เหนือกรอบทีโออาร์ และมติครม.ออกไป ซึ่งทำให้การเจรจายาวนานกว่าจะได้ข้อสรุปในวันที่ 4 เมษายน 2562
ทางออกนอกตำรา : ทุกขลาภ ‘ไฮสปีด3สนามบิน’  กลุ่มซีพีแบกดอกเบี้ยบานตะไท
ข้อมูลที่เก็บเอาไว้และกำลังกลายเป็นเรื่องจุกอก“ซีพี และพันธมิตร” คือ โครงการนี้อาจต้องเผชิญปัญหาการขาดทุนอย่างแน่นอน แม้ว่าจะได้รับเงินกู้ดอกเบี้ยผ่อนปรนพิเศษแค่ 3% และการเสนอราคาสินค้าที่เป็น  “Special Supply Loan” จากพันธมิตร

อันประกอบด้วย 1.องค์กรความร่วมมือการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคม และการพัฒนาเมืองในต่างประเทศแห่งประเทศญี่ปุ่น (JOIN) 2. บริษัท ซิติกกรุ๊ป จากประเทศจีน 3.บริษัท ไชน่า รีเสิร์ช (โฮลดิงส์) จากจีน 4.บริษัท.ซีเมนส์ จากเยอรมนี 5.บริษัท ฮุนได จากเกาหลี, 6.บริษัท Ferrovie dello Stato Italiane (FS) จากอิตาลี 7. บริษัท CRRC Sifang จากจีน 8. องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น JBIC ซึ่งว่ากันว่ากว่าจะได้ “เงื่อนไขพิเศษ” ทั้ง “เจ้าสัวธนินท์ เจียรวนนท์-ศุภชัย เจียรวนนท์” ต้องใช้ศิลปะการเจรจาอย่างหนักหน่วงทีเดียว

หลายคนอาจจะบอกว่า ในที่สุดรัฐบาลลุงตู่ก็ประเคนโครงการรถไฟไฮสปีดเทรนให้กับทุนใหญ่ซีพีตามที่คาด... ใครจะว่าอย่างไร ผมไม่รู้ แต่ผมรู้มาว่า การคว้าชัยการประมูลรถไฟไฮสปีดเทรนครั้งนี้ อาจกลายเป็นทุกขลาภของกลุ่มซีพี ไปอย่างน้อย 20-30 ปี เสียแล้ว...


มาคุยกับฐาน ทันทุกข่าวสาร แค่เพิ่มเราเป็นเพื่อน คลิกเลย!!!!! LINE : @THANSETTAKIJ 
ทางออกนอกตำรา : ทุกขลาภ ‘ไฮสปีด3สนามบิน’  กลุ่มซีพีแบกดอกเบี้ยบานตะไท
ทางออกนอกตำรา : ทุกขลาภ ‘ไฮสปีด3สนามบิน’  กลุ่มซีพีแบกดอกเบี้ยบานตะไท
อ่าน | เปิดผลประโยชน์ "รฟท. - ซีพี" ไฮสปีด 2.2 แสนล้าน 

เป็นทุกขลาภภายหลังจากข้อเสนอกลุ่มซีพี ที่ขัดต่อเงื่อนไขประมูลไม่ได้รับการสานต่อจากคณะกรรมการพิจารณาคัดเลือก ไม่ว่าจะเป็น

1.ขอขยายโครงการจากเดิม 50 ปี เป็น 99 ปี

2.ขอการันตีผลตอบแทน IRR 6.75% ต่อปี


3.รัฐบาลต้องจ่ายเงินอุดหนุนในปีที่ 1 จากเดิมที่ต้องจ่ายในวันที่เปิดดำเนินการ

4.ขอให้พิจารณาลดสัดส่วนผู้ถือหุ้นใหญ่ในโครงการลงมาเหลือ 5% ได้ เพราะอาจนำโครงการเข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในอนาคต


5.ขอให้ธนาคารแห่งประ เทศไทย พิจารณาผ่อนปรนเพดานกู้เงินกลุ่มซีพี

6.ขอให้รัฐบาลคํ้าประกัน รฟท.ถ้าหากมีปัญหาในภายหลัง


7.ผ่อนชำระโครงการแอร์พอร์ตลิงค์ 11 ปี ด้วยดอกเบี้ย 3% จากเดิมต้องจ่ายเงินทันทีถ้าหากรัฐบาลโอนโครงการให้

8.ขอให้รัฐบาลสนับสนุนจัดหาเงินกู้ดอกเบี้ยตํ่า


9.ขอชำระเงินค่าเช่าที่ดินมักกะสันและศรีราชา เมื่อวันที่ถึงจุดที่มีผลตอบแทน

10.ถ้าหากโครงการสนามบินอู่ตะเภาล่าช้า รัฐบาลต้องจ่ายค่าชดเชยความเสียหายให้ผู้ประมูล

11.ห้าม รฟท.ทำธุรกิจหรือเดินรถแข่งขันกับเอกชน

และ 12. ขอจัดตั้งซีเคียวริตีฟันด์ (กองทุนฉุกเฉิน) มาซัพพอร์ตโครงการ โดยธนาคารไทยกับธนาคารไชน่า ดีเวลลอปเมนต์ (CDB) และ เจบิค


หลายคนอาจบอกว่า ไม่น่าจะใช่...กลุ่มซีพี เขาได้เค้กก้อนโตไปนี่นา...มาดูข้อมูลนี้กัน...
ทางออกนอกตำรา : ทุกขลาภ ‘ไฮสปีด3สนามบิน’  กลุ่มซีพีแบกดอกเบี้ยบานตะไท

มาคุยกับฐาน ทันทุกข่าวสาร แค่เพิ่มเราเป็นเพื่อน คลิกเลย!!!!! LINE : @THANSETTAKIJ 
ทางออกนอกตำรา : ทุกขลาภ ‘ไฮสปีด3สนามบิน’  กลุ่มซีพีแบกดอกเบี้ยบานตะไท
ประการแรก...โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา ระยะทาง 220 กม. ใช้เงินลงทุนรวม 224,544 ล้านบาท กลุ่มซีพีและพันธมิตรชนะการประมูลมาด้วยการเสนอขอเงินจากรัฐสนับสนุนการก่อสร้างทั้งโครงการ 117,227 ล้านบาท ตํ่าจากกรอบที่ครม. อนุมัติไว้ว่าจะรับผิดชอบ 119,425 ล้านบาท ซึ่งจะมีการจ่ายเป็นงวดๆ นับตั้งแต่มีการเปิดให้บริการคือปีที่ 6 เป็นต้นไป

นั่นแสดงว่า กลุ่มซีพี จะต้องหาเงินมาลงทุนก่อน 117,227 ล้านบาท ในระยะเวลา 5 ปี ซึ่งเป็นช่วงที่ไม่มีรายได้ มีแต่รายจ่าย เฉพาะเงินก้อนนี้คิดดอกเบี้ย 3-4% เท่ากับว่า จะต้องแบกดอกเบี้ยไปปีละ 3,516-4,689 ล้านบาท ระยะเวลา 5 ปีเท่ากับ 17,583-23,445 ล้านบาท...ซึ่งเงินก้อนนี้ตามเงื่อนไขซีพีสามารถไปบวกจากต้นทุนที่จะคิดจากรัฐได้ในอนาคต แต่ต้องควักเงินปัจจุบันมาจ่ายเพื่อจะได้ในอนาคต...ซึ่งในทางเศรษฐศาสตร์บอกว่า เงินปัจจุบันมีค่าที่สูงกว่าเงินในอนาคต...อันนี้เป็นทุกขลาภก้อนแรก

ประการต่อมา... เงินลงทุนทั้งโครงการนี้ตกประมาณ 224,544 ล้านบาท แต่ขอเคลมจากรัฐมาได้ 117,227 ล้านบาท เท่ากับว่ากลุ่มซีพีจะต้องหาเงินมาลงทุนรถไฟความเร็วสูงในส่วนที่เหลืออีก 107,317 ล้านบาท เงินก้อนนี้จะต้องจ่ายดอกเบี้ยเช่นกัน เอาแค่ 3-4% เท่ากับว่า ต้องแบกภาระดอกเบี้ยปีละ 3,219-4,292 ล้านบาท


ภาระดอกเบี้ยก้อนนี้ถือเป็นภาระที่เอกชนต้องแบกรับ โดยจะมีรายได้จากค่าโดยสาร ค่าบริการที่จะมาจ่ายเจ้าหนี้ คิดแค่ 10 ปีเท่ากับว่ากลุ่มซีพีมีภาระดอกเบี้ยที่ต้องจ่าย 32,190-42,926 ล้านบาท

แต่ถ้าลากยาวไป 20 ปี เท่ากับว่า กลุ่มซีพีจะต้องมีภาระการจ่ายดอกเบี้ย 64,380-85,840 ล้านบาท

เงินที่กลุ่มซีพีจะต้องจ่ายดอกเบี้ยเจ้าหนี้จะท่วมเงินต้นที่กู้ยืมมา 107,317 ล้านบาท เสียแล้ว....พ่อแก้ว แม่แก้วเอร้ย
ทางออกนอกตำรา : ทุกขลาภ ‘ไฮสปีด3สนามบิน’  กลุ่มซีพีแบกดอกเบี้ยบานตะไท ทางออกนอกตำรา : ทุกขลาภ ‘ไฮสปีด3สนามบิน’  กลุ่มซีพีแบกดอกเบี้ยบานตะไท ทางออกนอกตำรา : ทุกขลาภ ‘ไฮสปีด3สนามบิน’  กลุ่มซีพีแบกดอกเบี้ยบานตะไท

มาคุยกับฐาน ทันทุกข่าวสาร แค่เพิ่มเราเป็นเพื่อน คลิกเลย!!!!! LINE : @THANSETTAKIJ 
ทางออกนอกตำรา : ทุกขลาภ ‘ไฮสปีด3สนามบิน’  กลุ่มซีพีแบกดอกเบี้ยบานตะไท
ประการสุดท้าย... ผมพาไปดูข้อวิเคราะห์ทางการเงินและด้านพาณิชย์ที่มีการประเมินจากการรถไฟแห่งประเทศไทย โดยคิดค่าโดยสารพื้นฐานค่าแรกเข้า 80 บาท และค่าเดินทาง 1.8 บาทต่อกิโลเมตร ผลการวิเคราะห์พบว่าปริมาณผู้โดยสารในปีเปิดให้บริการ 2566 จะมีผู้โดยสารที่เดินทางช่วงดอนเมือง - สุวรรณภูมิ 106,010 คนต่อวัน และเพิ่มเป็น 211,970 คนต่อวัน ในปีที่ 50 ขณะที่ปริมาณผู้โดยสารที่เดินทางระหว่างจังหวัดช่วงดอนเมือง-อู่ตะเภา ในปี 2566 จะมีผู้โดยสาร 41,190 คนต่อวัน และเพิ่มเป็น 95,840 คนต่อวัน ในปีที่ 50

ดังนั้น คาดการณ์รายได้ค่าโดยสารสำหรับการเดินทางภายในพื้นที่กรุงเทพฯจึงตกเดือนละ 124 ล้านบาท และเพิ่มเป็นเดือนละ 839 ล้านบาทในปีที่ 50 ส่วนรายได้ค่าโดยสารระหว่างจังหวัดตกเดือนละ 199 ล้านบาทในปี 2566 และเพิ่มเป็นเดือนละ 2,089 ล้านบาท ในปีที่ 50

เท่ากับว่า เมื่อเปิดให้บริการเดินรถกลุ่มซีพีจะมีรายได้ในปี 2566 ยาวไปเกือบ 50 ปี จะตกประมาณเดือนละ 323 ล้านบาท หรือตกปีละ 3,876 ล้านบาท ขณะที่เอกชนมีภาระต้องจ่ายดอกเบี้ยเอาแค่ 3-4% เท่ากับว่า ต้องแบกภาระดอกเบี้ยปีละ 3,219-4,292 ล้านบาท

คุ้มค่าหรือไม่...ในทางตัวเลขการลงทุน...บอกเราได้ว่า กลุ่มซีพีมีทุกขลาภหรือได้ขุมทรัพย์ทองคำไป...

ไว้ตอนต่อไป ผมจะมาอรรถาธิบายปมปัญหาไฮสปีด 2.24 แสนล้านบาทบนบ่ากลุ่มซีพีกันต่อนะครับ...
 

 


| คอลัมน์ : ทางออกนอกตำรา
| โดย : บากบั่น บุญเลิศ
| หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับ 3460 หน้า 6 ระหว่างวันที่ 11-13 เม.ย.2562