ทางออกนอกตำรา : อนาคต “ธนาธร” บนปากเหว บ่วงกรรมโอนหุ้นสื่อ

03 เม.ย. 2562 | 04:59 น.

มาคุยกับฐาน ทันทุกข่าวสาร แค่เพิ่มเราเป็นเพื่อน คลิกเลย!!!!! LINE : @THANSETTAKIJ 
ทางออกนอกตำรา : อนาคต “ธนาธร” บนปากเหว บ่วงกรรมโอนหุ้นสื่อ
ทางออกนอกตำรา : อนาคต “ธนาธร” บนปากเหว บ่วงกรรมโอนหุ้นสื่อ ทางออกนอกตำรา : อนาคต “ธนาธร” บนปากเหว บ่วงกรรมโอนหุ้นสื่อ ข้อห้ามว่าด้วยเรื่องคุณสมบัติการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามรัฐธรรมนูญ ปี 2560 ในมาตรา 98 ที่บัญญัติว่า “บุคคลผู้มีลักษณะดังต่อไปนี้ เป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้ง เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร.... (3) เป็นเจ้าของหรือผู้ถือหุ้นในกิจการหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนใด ๆ” กำลังกลายเป็นปัญหาใหญ่ให้กับ “เสี่ยเอก-ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ” หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ ที่ได้รับการเลือกตั้งถล่มทลายกว่า 6.26 ล้านคะแนนเสียง มีเก้าอี้ส.ส.ในพรรค 79-80 ที่นั่งให้ตกระกำลำบาก

เหตุเพราะคุณธนาธร เป็นผู้ถือหุ้น บริษัท วี-ลัค มีเดีย จำกัด ที่จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 10 ม.ค. 2551 มีทุนจดทะเบียน 45 ล้านบาท ประกอบธุรกิจสื่อนิตยสาร เป็นเจ้าของนิตยสาร Who? ที่ปิดตัวลงปี 2559 เป็นเจ้าของนิตยสารจิ๊บจิ๊บ (JIBjib) ของสายการบินนกแอร์ ผลิตนิตยสารของธนาคารไทยพาณิชย์

ในตอนแรก บริษัท วี ลัค มีเดีย มีผู้ถือหุ้น 7 คน ได้แก่ นางสมพร จึงรุ่งเรืองกิจ ถือหุ้น 3,375,000 บาท น.ส.รุจิรพรรณ จึงรุ่งเรืองกิจ 720,000 หุ้น นางนงนาถ กมลาศน์ ณ อยุธยา 225,000 หุ้น นายศิริชัย จรุงสถิตพงศ์ น.ส.ภัทราวดี รอยวิรัตน์ นายเอกชัย เรืองศรี และ น.ส.อรสา เศรษฐปราโมทย์ ถือหุ้นกันคนละ 45,000 หุ้น รวมทั้งหมด 4,500,000 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 10 บาท

ต่อมาในวันที่ 25 ธ.ค.2551 เหลือผู้ถือหุ้น 6 คน เนื่องจากกลุ่ม “เจ๊ไก่-นงนาถ กมลาศน์ ณ อยุธยา” ถอนหุ้นออกทั้งหมด และมีการโอนหุ้นไปให้ นางสมพร จึงรุ่งเรืองกิจ 225,000 หุ้น

กระทั่งวันที่ 12 ม.ค. 2558 มีการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงผู้ถือหุ้นอีกครั้ง มีผู้ถือหุ้นทั้งหมด 10 คน ประกอบด้วย นางสมพร จึงรุ่งเรืองกิจ ลดสัดส่วนการถือครอง เหลือ 675,000 หุ้น น.ส.ชนาพรรณ จึงรุ่งเรืองกิจ ลดเหลือ 675,000 หุ้น นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ เข้ามามีชื่อถือหุ้น 675,000 หุ้น เท่ากับ น.ส.รุจิรพรรณ จึงรุ่งเรืองกิจ นายสกุลธร จึงรุ่งเรืองกิจ ผู้ถือหุ้นอีก 5 คน คือ นายบดินทร์ธร จึงรุ่งเรืองกิจ นายณรงค์ศักดิ์ โอปิลันธน์ นางรวิพรรณ จึงรุ่งเรืองกิจ นายอรัญ วงศ์งามนิจ และนางกมลฉัตร จึงรุ่งเรืองกิจ ถือคนละ 225,000 หุ้น รวมทั้งสิ้น 4,500,000 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 10 บาท
ทางออกนอกตำรา : อนาคต “ธนาธร” บนปากเหว บ่วงกรรมโอนหุ้นสื่อ
หลังจากนั้นไม่มีการเปลี่ยนแปลงผู้ถือหุ้น กระทั่งวันที่ 21 มี.ค.2562 มีการยื่นจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงผู้ถือหุ้น เหลือผู้ถือหุ้น 5 คน 1. นางสมพร จึงรุ่งเรืองกิจ 2,250,000 หุ้น2. น.ส.ชนาพรรณ จึงรุ่งเรืองกิจ 675,000 หุ้น 3. น.ส.รุจิรพรรณ จึงรุ่งเรืองกิจ 675,000 หุ้น 4. นายสกุลธร จึงรุ่งเรืองกิจ 675,000 หุ้น และ 5. นายบดินทร์ธร จึงรุ่งเรืองกิจ 225,000 หุ้น

ทั้งนี้ หุ้นของนางสมพรที่เพิ่มขึ้นมา 1,575,000 หุ้น มาจากสัดส่วนหุ้นเดิมของนายธนาธร 675,000 หุ้น นางรวิพรรณ จึงรุ่งเรืองกิจ นายณรงค์ศักดิ์ โอปิลันธน์ นายอรัญ วงศ์งามนิจ และนางกมลฉัตร จึงรุ่งเรืองกิจ คนละ 225,000 หุ้น จะเห็นได้ว่า นายธนาธรและภรรยา ถือหุ้นรวม 900,000 หุ้น มาตั้งแต่วันที่ 12 ม.ค. 2558 กระทั่งมีการจดทะเบียนถอนหุ้นออกเมื่อ 21 มี.ค. 2562 หลังรับสมัครเลือกตั้ง เมื่อ 4 ก.พ.2562 และเกิดขึ้นก่อนวันเลือกตั้ง 24 มี.ค.2562 แค่ 3 วัน

ปมการถือครองหุ้นบริษัทสื่อซึ่งเป็น “คุณสมบัติต้องห้ามของส.ส.” จึงกลายเป็น “บ่วงรัดคอธนาธร” หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่...ให้สุ่มเสี่ยงต่อการพ้นจากตำแหน่ง ส.ส. ที่ได้รับการเลือกมาจากประชาชนได้ ชนิดที่เจ้าตัวก็คาดไม่ถึง

เรื่องคุณสมบัติต้องห้ามของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองนั้นเคยปรากฏขึ้นมาให้ฮือฮามาแล้ว 2 เรื่องใหญ่ที่คนในยุคนี้พอสัมผัสและจดจำได้

 


กรณีแรกเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2551 นายชัช ชลวร ประธานศาลรัฐธรรมนูญพร้อมองค์คณะ ได้ออกนั่งบัลลังก์อ่านคำวินิจฉัยในกรณีที่ประธานวุฒิสภาส่งความเห็นของสมาชิกวุฒิสภาและคณะกรรมการการเลือกตั้งขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยความสิ้นสุดการเป็นนายกรัฐมนตรีของนายสมัคร สุนทรเวช ตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 มาตรา 267 ประกอบมาตรา 182 (7) เนื่องจากรับเป็นพิธีกรกิตติมศักดิ์ ของรายการ “ชิมไปบ่นไป” และ “ยกโขยง 6 โมงเช้า” ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเป็นเอกฉันท์ 9 ต่อ 0 เสียง เห็นว่า นายสมัครกระทำต้องห้ามขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 267 เรื่องคุณสมบัติของนายกรัฐมนตรี จึงทำให้ความเป็นนายกรัฐมนตรีของนายสมัครสุนทรเวช สิ้นสุดลง

มาคุยกับฐาน ทันทุกข่าวสาร แค่เพิ่มเราเป็นเพื่อน คลิกเลย!!!!! LINE : @THANSETTAKIJ 
ทางออกนอกตำรา : อนาคต “ธนาธร” บนปากเหว บ่วงกรรมโอนหุ้นสื่อ

กรณีที่สองเกิดขึ้นกับตัวของนายกรัฐมนตรีเช่นเดียวกัน คดีนี้เกิดขึ้นเมื่อ อัยการสูงสุดเป็นโจทก์ฟ้อง คุณทักษิณ ชินวัตร และคุณหญิงพจมาน ชินวัตร เป็นจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ในความผิดฐาน “เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐร่วมกันเป็นคู่สัญญาหรือมีส่วนได้ส่วนเสียในสัญญาที่ทำกับหน่วยงานของรัฐ ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งมีอำนาจกำกับ ดูแล ควบคุม ตรวจสอบหรือดำเนินคดี และเป็นเจ้าพนักงาน และสนับสนุนเจ้าพนักงาน มีหน้าที่จัดการหรือดูแลกิจการใด เข้าไปมีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อประโยชน์สำหรับตนเองหรือผู้อื่นฯ” ซึ่งเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และประมวลกฎหมายอาญา เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2550 และศาลมีคำสั่งรับฟ้องเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2550

คดีนี้เป็นผลสืบเนื่องมาจากการที่คุณหญิงพจมานประมูลซื้อที่ดินริมถนนเทียมร่วมมิตร ย่านถนนรัชดาภิเษก ใกล้กับศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย เนื้อที่ 33 ไร่ ในราคา 772 ล้านบาท จากกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ในกำกับดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทย และมีการโอนที่กันออกไปในคืนวันที่ 31 ธันวาคมอันเป็นวันหยุดปีใหม่ที่ฮือฮาที่สุดในโลก โดยที่คุณทักษิณ ชินวัตร ซึ่งในขณะนั้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ร่วมลงนามยินยอมในฐานะคู่สมรส และมอบบัตรประจำตัวนายกรัฐมนตรีไปให้เป็นหลักฐานการลงนาม วันที่ 17 กันยายน 2551 ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองพิพากษาว่า คุณทักษิณ มีความผิดจริง ให้ลงโทษจำคุก 2 ปี ส่วนคุณหญิงพจมาน ศาลให้ยกฟ้อง
ทางออกนอกตำรา : อนาคต “ธนาธร” บนปากเหว บ่วงกรรมโอนหุ้นสื่อ
ทางออกนอกตำรา : อนาคต “ธนาธร” บนปากเหว บ่วงกรรมโอนหุ้นสื่อ เรื่องนี้กลายเป็นคดีที่ฮือฮา จนทำให้คุณทักษิณหนีออกนอกประเทศจนทุกวันนี้ และที่ฮือฮากว่านั้น ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง ได้อภิปรายในสภาจนฮือฮาเป็นแบบอย่างของนักการเมืองว่า “คุณทักษิณไม่ได้กระทำผิดกฎหมาย แต่คุณทักษิณได้ทำในสิ่งที่กฎหมายห้าม” อันสะท้านไปทั้งปฐพี จนบัดนี้ก็มิอาจมีผู้ใดยกเหตุผลมาหักล้างได้!

คดีการถือครองหุ้นสื่อที่เป็นคุณสมบัติต้องห้ามของส.ส.ที่คุณธนาธรกำลังเจอมรสุมอยู่ในขณะนี้จึงเป็นเรื่องที่เป็นขวากหนามมาสกัดกั้นการเข้าสู่ตำแหน่งทางการเมือง แต่คุณธนาธรมีสิทธิ์จะยกข้อมูลมาหักล้างว่ามีการโอนหุ้นออกก่อนหน้าจะสมัครส.ส.ตามอ้างว่า ได้โอนหุ้นให้มารดาไปตั้งแต่วันที่ 8 มกราคม อย่างไรก็ตาม ก็ต้องหาหลักฐานมากลบร่องรอยการรับโอนหุ้นให้ถูกต้องด้วย เนื่องจากตามหลักฐานการรับโอนที่มีการลงทะเบียนมารองรับนั้น มีหลักฐานชัดว่าเอกสารที่เรียกว่าตราสารการโอนหุ้นของนายธนาธร ที่ระบุว่า โอนหุ้นหมายเลข 1350001 ถึง 2025000 ตั้งแต่วันที่ 8 มกราคม 2562 แต่พิจารณาข้อมูลข้อเท็จจริง จากแบบ บอจ 5 สำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น ที่บริษัทวี - ลัค มีเดีย จำกัด นำส่งต่อนายทะเบียน ซึ่งระบุว่าคัดจากสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้นเมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2562 ปรากฏว่า ในช่องเลขหมายของหุ้น บนสุดหุ้นที่มีเลขหมาย 0000001 -0675000 ระบุว่าลงวันที่ 8 มกราคม 2551 จริง ซึ่งก็แสดงว่าใบหุ้น เลขหมาย 0000001 - 0675000 ออกให้เมื่อวันที่ 8 มกราคม 2551

ทว่า หุ้นหมายเลข 1350001-2025000 ระบุว่าลงวันที่ 21 มีนาคม 2562 ซึ่งก็แสดงว่าหุ้นหมายเลข 1350001-2025000 เพิ่งมีการออกเมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2562 ที่ระบุว่ามีการโอนหุ้นเลขหมายดังกล่าวกันตั้งแต่วันที่ 8 มกราคม 2562 จึงขัดต่อข้อเท็จจริง และน่าจะบ่งชี้ได้ว่าเพิ่งมีการเปลี่ยนแปลงการถือหุ้นกัน ในวันที่ 21 มีนาคม 2562

ครั้นจะอ้างว่ามีการลงทะเบียนช้า แม้ว่าเจ้าของหุ้นจะมีการโอนหุ้นให้นานแล้ว แต่เพิ่งมาลงทะเบียนกันในวันที่ 21 มีนาคม2562 ก็ฟังไม่ขึ้น เพราะเพิ่งมีการออกใบหุ้น

อนาคตใหม่ อนาคตธนาธร...จึงยืนอยู่บนด้ายผุๆที่ข้างล่างเป็นหุบเหวทางการเมือง...แน่นอนขรั่บ


| คอลัมน์ : ทางออกนอกตำรา
| โดย : บากบั่น บุญเลิศ
| หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับ 3458 หน้า 6 ระหว่างวันที่ 4-6 เม.ย.256