จี้รฟท.แจงแผนสมาร์ทซิตี ศูนย์พหลฯ-สถานีกลางบางซื่อรับเมืองอัจฉริยะ

09 ก.พ. 2562 | 03:10 น.
สภา กทม. เรียก ร.ฟ.ท. ชำแหละพื้นที่ศูนย์พหลโยธินและสถานีกลางบางซื่อเสนอแผนพัฒนาเป็นพื้นที่สมาร์ทซิตีเพื่อรองรับการพัฒนาเมืองและฮับระบบรางให้สอดคล้องแผนพัฒนากรุงเทพมหานครให้เป็นเมืองอัจฉริยะที่สมบูรณ์แบบ

พล.ต.ต.ประสพโชค พร้อมมูล ประธานคณะกรรมการศึกษาแนวทางพัฒนาให้กรุงเทพ มหานครเป็นเมืองอัจฉริยะ สภากรุงเทพมหานคร เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะกรรมการวิสามัญศึกษาแนวทางการพัฒนาให้กรุงเทพมหานครเป็นเมืองอัจฉริยะ(สมาร์ทซิตี) ครั้งที่ 4/2562 ได้เชิญหน่วยงานการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย บริษัท กรุงเทพพัฒนาเมือง จำกัด  ผู้แทนเขตต่างๆ ในกรุงเทพฯ อาทิ เขตสัมพันธวงศ์ บางรัก สาทร คลองเตย วัฒนา เข้าร่วมหารือแนวทางและแผนการพัฒนาในแต่ละพื้นที่

[caption id="attachment_384588" align="aligncenter" width="503"] พล.ต.ต.ประสพโชค พร้อมมูล พล.ต.ต.ประสพโชค พร้อมมูล[/caption]

นอกจากแต่ละเขตพื้นที่ของกทม.แล้วทางสภากทม.ให้ความสำคัญต่อการพัฒนาพื้นที่ทั้ง 2,300 ไร่ในศูนย์คมนาคมพหลโยธิน ซึ่งมีพื้นที่สถานีกลางบางซื่อของร.ฟ.ท.รวมอยู่ด้วยนั้นว่ามีแผนการพัฒนาไว้อย่างไรบ้าง ทำให้ทราบว่าพื้นที่สถานีกลางบางซื่อร.ฟ.ท.ได้แบ่งออกเป็น แปลง A B C D ชัดเจน โดยจะนำพื้นที่แปลง A เปิดให้มีการร่วมทุนภายในปีนี้ หลังจากนั้นจะทยอยพัฒนาแต่ละแปลงต่อเนื่องกันไป

สำหรับแปลง C ปัจจุบันเป็นพื้นที่ของบริษัท ขนส่ง จำกัด ใช้บริการจะมีการขยับพื้นที่และลดขนาดพื้นที่ลงเหลือประมาณ 16 ไร่จากปัจจุบันประมาณ 70 ไร่ ส่วนแปลง D ซึ่งเป็นพื้นที่พวงรางในขณะนี้นั้นอยู่ระหว่างการปรับพื้นที่ เช่นเดียวกับแปลง B

บางซื่อ

“ให้ร.ฟ.ท.มานำเสนอแผนว่ามียุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่ศูนย์พหลโยธินและสถานีกลางบางซื่อว่ามีการดำเนินงานอย่างไรบ้าง ที่ในอนาคตจะเป็นฮับการเดินทาง มีผู้ใช้บริการเฉลี่ย 8 แสนคนต่อวัน โดยต้องการให้เกิดการเชื่อมโยง ทั้งระบบล้อ ราง เรือ ให้สอดคล้องกัน ตลอดจนระบบขยะ นํ้าเสีย จะดำเนินการอย่างไรบ้าง เช่นเดียวกับระบบความปลอดภัยทั้งชีวิตและทรัพย์สิน เพื่อให้เกิดการบูรณาการอย่างสอดประสานกันได้อย่างลงตัว ไม่เว้นแม้กระทั่งระบบอัจฉริยะทั้งอี-คอมเมิร์ซหรืออี-เพย์เมนต์ที่จะต้องนำมาใช้ในพื้นที่แห่งนี้”

090861-1927-9-335x503-8-335x503-13-335x503

สำหรับการพัฒนาสมาร์ทซิตีของกทม.นั้นสภากทม.มีแผนดำเนินการทั้ง 20 เขต โดยได้เลือก 5 เขตมาหารือร่วมกันก่อนในครั้งนี้ ร่วมกับทางสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวฯและร.ฟ.ท. เพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงกันด้านการพัฒนาเมืองอย่างสอดคล้องกัน นอกจากนั้นยังต้องประสานงานด้านการใช้งานแอพพลิเคชันของภาคเอกชน ร่วมกับหน่วยงานของรัฐและสถาบันการเงิน อาทิ ธนาคารออมสิน ธ.ก.ส. เพื่ออำนวยความสะดวกให้กลุ่มสมาร์ทซิตีตลอดจนผู้ค้าขายในพื้นที่ของกทม.เกิดความสะดวกในการใช้บริการระบบอัจฉริยะด้านต่างๆเช่นอี-เพย์เมนต์ อี-คอมเมิรซ์ เป็นต้น

หน้า 27 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 3,442 วันที่ 7 - 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว