เทคโนโลยีสะเทือนโลก!

28 ม.ค. 2562 | 11:14 น.
 

280162-1756

[caption id="attachment_380802" align="aligncenter" width="445"] พันเอก ดร.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีดิจิทัลและอดีตรองประธานกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) พันเอก ดร.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีดิจิทัลและอดีตรองประธานกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)[/caption]

... ในช่วง 50 ปีที่ผ่านมา อุตสาหกรรมเทคโนโลยีได้รับการผลักดันโดย "กฎของมัวร์" (Moore’s Law) ซึ่งเป็นคำทำนายที่โด่งดังของ Gordon Moore ผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท Intel ที่ว่า จำนวนทรานซิสเตอร์ในไมโครชิพจะเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า ในทุก ๆ 18 เดือน กล่าวอีกนัยหนึ่ง คือ ขนาดของทรานซิสเตอร์จะลดลงเท่าตัวในทุก ๆ ช่วงเวลาดังกล่าว ซึ่งในตอนแรก ๆ เราอาจจะยังไม่เห็นว่ามันฉลาดเท่าไรนัก แต่เมื่อคิดทบต้นไปเรื่อย ๆ จะพบว่า ความฉลาดมีมากขึ้นแบบทวีคูณ จนมนุษย์เราตามไม่ทัน ซึ่งนั่นคือ สิ่งที่ทำให้คอมพิวเตอร์ที่เคยมีขนาดเท่ากับตู้เย็นกลับมีขนาดเล็กลงเท่ากับอุปกรณ์ที่เราสามารถถือไว้ได้ด้วยฝ่ามือของเรา

ปัจจุบัน เรากำลังเข้าใกล้ขีดจำกัดทางทฤษฎี ซึ่งทฤษฎีที่มีอยู่เดิมจะใช้ไม่ได้แล้ว แต่ทฤษฎีในระดับอะตอมกำลังจะถูกนำออกมาจากห้อง LAB เพื่อใช้ในเชิงธุรกิจ ทำให้สักวันหนึ่งทรานซิสเตอร์ก็จะมีขนาดเล็กลงจนแทบจะเท่ากับอะตอม ซึ่งเมื่อมีขนาดเล็กลงถึงขนาดนั้น ปรากฏการณ์ทางควอนตัมจะแสดงออกมาอย่างชัดเจน ความหมาย คือ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มีขนาดเล็กลงมากจนถึงขนาดที่ทำให้ไม่สามารถอธิบายด้วยหลักการเดิมได้อีกต่อไป

 

[caption id="attachment_380803" align="aligncenter" width="503"] ©geralt ©geralt[/caption]

ระบบอัตโนมัติไม่ได้ใช้กับงานฝีมือที่มีทักษะต่ำเท่านั้น โดยหุ่นยนต์ยังแพร่หลายในส่วนของความคิดสร้างสรรค์ด้วย เช่น ในญี่ปุ่นได้มีการพัฒนา AI ให้เครื่องจักรสามารถเขียนเรื่องสั้นเข้าประกวดชิงรางวัลนิยายระดับชาติ อย่าง Nikkei Hoshi Shinichi Literary Award จนได้รับเลือกให้ผ่านเข้ารอบแรกไปได้ ซึ่งเป็นเครื่องพิสูจน์ว่า เทคโนโลยีในปัจจุบันนี้ สามารถก้าวผ่านขีดจำกัดหลาย ๆ อย่างไปแล้ว

มีหลักฐานว่า เทคโนโลยีกำลังเข้ามาแทนที่ตลาดแรงงานและเพิ่มความไม่เท่าเทียมกันในสังคม ในขณะที่ เทคโนโลยีที่เร่งพัฒนาขึ้นอย่างมาก ทำให้มนุษย์เราเริ่มเผชิญกับปัญหาที่เทคโนโลยีไม่สามารถช่วยเราได้ อย่างเช่น ความขัดแย้งทางสังคมที่เกิดขึ้นในประเทศกำลังพัฒนาที่จะรู้สึกถึงพลังอำนาจใหม่และจะนำไปสู่ปัญหาทางการเมืองมากขึ้น

นอกจากนี้ เรายังจะต้องเปลี่ยนมุมมองเกี่ยวกับงาน เหมือนดังเช่นในการปฏิวัติอุตสาหกรรม เมื่อเครื่องจักรสามารถเข้ามาแทนที่แรงงานทางกายภาพได้ เทคโนโลยีใหม่ก็กำลังแทนที่งานแบบดั้งเดิม ดังนั้น มนุษย์จะต้องกลายเป็นคนเก่งมากขึ้น ในสิ่งที่เครื่องจักรไม่สามารถทำได้ นั่นคือ การจัดการกับมนุษย์ในมิติใหม่


 

[caption id="attachment_380805" align="aligncenter" width="500"] เทคโนโลยีสะเทือนโลก! เพิ่มเพื่อน [/caption]

เมื่อเครือข่ายไร้สาย 3G เปิดตัวในปี 2000 ก็ไม่มีใครคาดเดาได้ว่า โลกของโทรศัพท์เคลื่อนที่จะเป็นอย่างไรและจะมีผลกระทบอย่างไร ซึ่ง 3G ได้กลายเป็นตัวกระตุ้นให้ Google, Facebook และ YouTube เติบโตอย่างก้าวกระโดด จนในปี 2010 มีการใช้ 4G เป็นปีแรก ๆ ทำให้เกิดอุตสาหกรรมใหม่และบริษัทต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น Grab, Airbnb, Uber, Netflix, Spotify และ LINE เกิดขึ้นและเติบโตอย่างรวดเร็ว และคำถามต่อไป คือ จะเกิดอะไรขึ้นและมีผลกระทบอย่างไรในยุค 5G?

จากการที่หุ่นยนต์ที่กำลังมาแทนแรงงานมนุษย์ในยุคอุตสาหกรรม 4.0 จึงทำให้องค์กรระดับนานาชาติหลายแห่งออกมาเตือนประเทศต่าง ๆ ให้ทำการพัฒนาทักษะของแรงงานรูปแบบดั้งเดิม เช่น World Economic Forum ได้คาดการณ์ว่า ระบบหุ่นยนต์ (Robotics) และปัญญาประดิษฐ์ (AI) จะเข้ามาแทนแรงงานมนุษย์ถึง 5 ล้านตำแหน่ง ภายในปี 2020 จึงปรากฏชัดว่า ทั้ง 5G และ AI กำลังเขย่าโลกในวันนี้

 

[caption id="attachment_380806" align="aligncenter" width="503"] ©bsdrouin ©bsdrouin[/caption]

เรากำลังก้าวเข้าสู่ชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างมากในทศวรรษต่อจากนี้ อันเนื่องมาจากความก้าวหน้าอย่างก้าวกระโดดของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่กำลังจะสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจในรูปแบบใหม่ ซึ่งเกิดจากการเชื่อมโยงกันระหว่างเทคโนโลยี Cloud Computing, Big Data Analytics และ AI โดยมีเทคโนโลยี 5G เป็นตัวเชื่อมและประสานสอดคล้องเทคโนโลยีต่าง ๆ เหล่านั้น

มีการวิเคราะห์จาก Intel และ OVUM ว่า ในปี 2025 จะเป็นจุดก้าวกระโดดของ 5G โดยในรายงานระบุว่า รายได้จากสื่อไร้สายทั่วโลก 57% จะถูกสร้างขึ้น โดยใช้ความสามารถของแบนด์วิดท์ที่สูงขึ้นเป็นพิเศษของเครือข่าย 5G โดยอุปกรณ์และสรรพสิ่งต่าง ๆ ที่ทำงานบน 5G จะเชื่อมโยงเชื่อมต่อกันนับพันล้านชิ้นทั่วโลกภายในปี 2025 และด้วยความหน่วงเวลาที่ต่ำของเครือข่าย 5G จะทำให้การถ่ายทอดสตรีมมิ่งวิดีโอได้อย่างไม่สะดุดหรือติดขัด และสามารถดาวน์โหลดข้อมูลจำนวนมหาศาลได้ภายในพริบตา

 

[caption id="attachment_380807" align="aligncenter" width="503"] ©geralt ©geralt[/caption]

เส้นทางเดินสู่อุตสาหกรรม 4.0 คือ การทำให้โรงงานอุตสาหกรรมมีการผลิตในรูปแบบอัตโนมัติ ซึ่งจะนำไปสู่การทำงานแบบ Real-Time ที่ต้องใช้ระบบเซนเซอร์บนตัวหุ่นยนต์เชื่อมต่อกันผ่านระบบคลาวด์ (Cloud Robotics) ซึ่งจะทำให้หุ่นยนต์ในโรงงานเดียวกัน หรือ หุ่นยนต์ที่อยู่คนละโรงงาน สามารถทำงานประสานสอดคล้องกันได้ โดยอุตสาหกรรมหุ่นยนต์ระดับสากลได้มีการทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดกับอุตสาหกรรมโทรคมนาคมที่จะนำเอาระบบ 5G ที่มีการส่งข้อมูลเชื่อมต่อแบบ Real-Time ในการควบคุมสั่งการหุ่นยนต์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อจะทำให้โรงงานอุตสาหกรรมสามารถเปลี่ยนผ่านสู่การทำงานแบบระบบอัตโนมัติด้วยต้นทุนที่ต่ำที่สุด

บริษัทชั้นนำของประเทศสหรัฐอเมริกา ไม่ว่าจะเป็น Google, Microsoft, IBM และ Apple ได้มีการลงทุนอย่างมหาศาลในการวิจัยและพัฒนาด้าน AI จนเป็นที่ยอมรับว่า บริษัทเหล่านี้เป็นบริษัทชั้นนำของโลกในด้าน AI แต่อย่างไรก็ตาม มีหลักฐานและสิ่งบ่งชี้หลายอย่างได้เห็นอย่างชัดเจนว่า ประเทศจีนกำลังมีการลงทุนในการวิจัยและพัฒนาด้าน AI ตามติดอย่างรดต้นคอในบริษัทต่าง ๆ เช่น Alibaba, Tencent และ Baidu เป็นต้น จนมีแนวโน้มว่า ประเทศจีนอาจจะแซงหน้าประเทศสหรัฐอเมริกาในด้าน AI ภายในปี 2030 ด้วยการลงทุน AI ที่เกี่ยวข้องกับไมโครชิพทางด้านการสื่อสารและเทคโนโลยีรถไฟฟ้า ด้วยจำนวนเงินถึง 300 พันล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐฯ

 

[caption id="attachment_380809" align="aligncenter" width="456"] ©GDJ ©GDJ[/caption]

เป็นที่แน่ชัดว่า ในช่วงปี 2020–2025 รูปแบบของการดำเนินธุรกิจจะเปลี่ยนไปอย่างมาก จนอาจจะมีอาชีพบางสาขาหายไป เกิดรูปแบบอาชีพใหม่ ๆ ที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนมากมาย เพราะในช่วงเวลานั้น เทคโนโลยีจะเชื่อมโยงกันอย่างมีประสิทธิภาพอย่างยิ่ง จนทำให้ขีดความสามารถในธุรกิจแบบดั้งเดิมไม่สามารถแข่งขันในตลาดได้อีกต่อไป ซึ่งต้องใช้เทคโนโลยี 5G และ AI สร้างมูลค่าธุรกิจใหม่ ๆ เพื่อเอาชนะความถดถอยของอุตสาหกรรมดั้งเดิมที่กำลังเสื่อมถอยอย่างรวดเร็วได้

ความก้าวหน้าที่สำคัญที่สุดทางเศรษฐกิจ มักมาพร้อมกับกระบวนการที่เรียกว่า การทำลายที่สร้างสรรค์ (Creative Destruction) หรือ การคิดสิ่งใหม่ ๆ ที่ทำลายสิ่งที่มีอยู่เดิม เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มขึ้นให้กับองค์กร เปลี่ยนแปลงสร้างโครงสร้างอุตสาหกรรมใหม่และแทนที่ธุรกิจเดิม ซึ่งกระบวนการนี้มักจะขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมทางด้านเทคโนโลยี

โดยสรุป เทคโนโลยี 5G และ AI จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างพลิกผันในภาคธุรกิจต่าง ๆ โดยพฤติกรรมของผู้บริโภคจะเปลี่ยนไปอย่างมากอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน ซึ่งจะทำให้ภาคอุตสาหกรรมและธุรกิจมากมายจะต้องวางยุทธศาสตร์ที่จะนำเอาเทคโนโลยี 5G และ AI มาประยุกต์ใช้ในทุกธุรกิจและจะเกิดมูลค่าสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่อย่างไรก็ตาม หากธุรกิจและอุตสาหกรรมใดไม่สามารถปรับตัวได้ ก็จะเสื่อมสภาพลงและถูกทิ้งไว้ข้างหลังในที่สุด และที่สำคัญ หากประเทศไทยและคนไทย ไม่สามารถเข้าสู่การปรับตัวทางเทคโนโลยีได้ทันเวลาและไม่สามารถพัฒนาทักษะใหม่ให้ทันโลกได้ เศรษฐกิจของไทยก็อาจถูกทิ้งไว้ข้างหลัง ภายในหนึ่งทศวรรษจากนี้


……………….

บทความพิเศษ โดย พันเอก ดร.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีดิจิทัลและอดีตรองประธานกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :

Internet of Things (IoT) ... กำลังทำให้โลกเปลี่ยนไป
โลกกำลังเปลี่ยนไป

บทความน่าสนใจ :
ทำไม? "ดีแทค" ยอมควัก 9.5 พันล้าน ยุติข้อพิพาทกับ กสท. หลังหมดสัมปทาน
เมื่อ 'ไปรษณีย์ไทย' ถูกยักษ์ข้ามชาติ กระชับพื้นที่



โปรโมทแทรกอีบุ๊ก