หลังกล้องไซบีเรีย | ชะตา "12 สเตเดียม" หลังบอลโลก

16 ก.ค. 2561 | 12:09 น.
160761-1854

พลันสิ้นเสียงนกหวีดของ 'เนสเตอร์ ปิทาน่า' สิงห์เชิ้ตดำจากอาร์เจนติน่า ที่ทำหน้าที่ผู้ตัดสินฟุตบอลโลกนัดชิงชนะเลิศ ระหว่างฝรั่งเศสกับโครเอเชีย

'ฮูโก โยริส' ผู้รักษาประตูเเละกัปตันทีมตราไก่ คือ ผู้ชูถ้วย 'ฟีฟ่า เวิล์ดคัพ' บนฟลอร์หญ้าลุซนิกิ สเตเดี้ยม กลางกรุงมอสโคว์ ประกาศศักดาการเป็นเเชมป์โลกสมัยที่ 2 ของฝรั่งเศส

"ฟุตบอลโลก 2018" คงเป็นที่กล่าวถึงไปอีกนาน เพราะนี่เป็นอีกหนึ่งครั้งที่ผลการแข่งขันเกินกว่าจะคาดเดา ทีมม้ามืดหลายทีมได้มีโอกาสสร้างสถิติใหม่ให้ตัวเอง และรัสเซียก็ได้ขึ้นแท่นเป็น 1 ในประเทศเจ้าภาพ ที่ลงทุนกับการจัดการแข่งขันมากที่สุดประเทศหนึ่งในประวัติศาสตร์ฟุตบอลโลก


DSC_4093

เเละต้องดูด้วยว่า ฟลอร์หญ้าสี่เหลี่ยมผืนผ้าจะบรรเลงเเข้งเพื่อเเย่งชิงลูกหนังบนพื้นผิวทะลเทรายเเละไอร้อนใน 4 ปีข้างหน้า ที่จะจัดขึ้น ณ 'กาตาร์' นั้น

ต้นทุนของประเทศส่งออกน้ำมันเเห่งคาบสมุทรอาหรับจะมหาศาลกว่าเเดนหมีขาวหรือไม่? เพราะหลายปีก่อนมีข่าวฮือฮาระดับโลกว่า เวิล์ดคัพ 2022 จะเป็นเวทีเเรกที่สนามฟุตบอลจะติดเเอร์เพื่อคลายร้อนให้นักเตะเเละเเฟนฟุตบอล

ส่วนเม็ดเงินที่รัฐบาลรัสเซียทุ่มไปกับการพลิกโฉมตกแต่งบ้านเมืองในงานนี้ราว 13,200 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือประมาณ 440,000 ล้านบาท เป็นรองเพียงแค่บราซิล ที่เทงบไปกับการเป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลกปี 2014 ไปมากกว่า 15,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือเฉียด 500,000 ล้านบาท


DSC_4024

อย่างไรก็ตาม เงินที่ลงทุนไปนั้นจะว่าเรียกว่าเสียเปล่า หรือสิ้นเปลืองไปทั้งหมดคงไม่ได้ เพราะว่าภาพลักษณ์ที่ดีสามารถสร้างความประทับใจ ดึงนักท่องเที่ยวทั่วโลกให้กลับมาเยือนรัสเซียอีกในอนาคต รวมทั้งระบบสาธารณูปโภคที่พัฒนาขึ้นมา ทั้งหมดคือ ผลประโยชน์ในระยะยาวต่อชาวเมืองทั้ง 11 เมืองที่ร่วมเป็นเจ้าภาพ


messageImage_1531557511469

สิ่งที่น่าเป็นห่วงกลับคือ ชะตากรรมของสนามกีฬาทั้ง 12 สนาม หลังจากนี้ต่างหาก!

หลายสนามกีฬาในเมืองใหญ่ที่ใช้ในการแข่งขันครั้งนี้ คือ สนามกีฬาเดิมที่ใช้มาหลายสิบปีแล้ว แต่กว่าครึ่งคือ สนามกีฬาที่เพิ่งสร้างมาให้สำหรับการแข่งขันฟุตบอลโลกปีนี้โดยเฉพาะ เมื่อจบการแข่งขัน สนามเหล่านี้จะกลายเป็นสนามกีฬาประจำเมือง สำหรับจัดกิจกรรมต่าง ๆ ในท้องที่ รวมถึงกลายเป็นสนามกีฬาฝึกซ้อมและเป็นที่ตั้งของสโมสรทีมฟุตบอลท้องถิ่น

การจัดสรรงบมาสร้างสนามกีฬาแห่งใหม่อาจไม่ใช่เรื่องยากนักสำหรับประเทศที่มีมูลค่าเศรษฐกิจหลักล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ แต่ภาระการบำรุงรักษาสนามกีฬาต่อจากนี้จะตกไปอยู่ในมือของรัฐบาลท้องถิ่น ซึ่งคาดว่าจะต้องใช้งบประมาณราว 4.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือกว่า 150 ล้านบาทต่อปี

ถ้าเมืองไหนไม่สามารถจัดสรรงบได้ สนามเหล่านี้อาจทรุดโทรมและถูกปล่อยทิ้งร้างในที่สุด!


DSC_4699

เราอาจจะเห็นตัวอย่างมากันบ้างแล้ว จากภาพสนามกีฬารกร้างในกรีซ

หลังเป็นเจ้าภาพโอลิมปิกในปี 2004 และสนามฟุตบอลอันทรุดโทรมใน 'บราซิล' หลังเสร็จภารกิจการเป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลกปี 2014 และเจ้าภาพโอลิมปิกใน 'ริโอ 2016' เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจที่ตกต่ำจนไม่มีงบประมาณมาบำรุงรักษา

เมืองใหญ่ของรัสเซีย เช่น มอสโก เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก หรือ โซชิ การบำรุงรักษาสนามกีฬาคงไม่ใช่เรื่องเกินกำลังเท่าไหร่นัก เพราะเมืองเหล่านี้มักได้สัดส่วนงบประมาณมาพัฒนาเมืองจากส่วนกลางเป็นจำนวนมาก และมีรายได้จากแหล่งท่องเที่ยวระดับโลก

สิ่งที่นักวิเคราะห์เป็นห่วง คือ เมืองเล็ก ๆ ต่างหาก พวกเขามองว่าสนามกีฬาที่น่าเป็นห่วงที่สุด ก็คือ สนามกีฬาในเมือง "ซารันสค์" เพราะซารันสค์เป็นเพียงเมืองเล็ก ๆ ที่มีประชากรราว 3 แสนคนเท่านั้น และไม่ใช่เมืองยุทธศาสตร์สำคัญ จึงไม่ใช่เมืองที่จะได้งบประมาณประจำปีมากนัก และไม่อาจคาดเดาได้ว่า ซารันสค์จะสามารถแบกค่าบำรุงรักษาไปได้นานเท่าไหร่ หรือสุดท้ายแล้ว สนามกีฬาเหล่านี้อาจต้องแปรสภาพเป็นอนุสรณ์สถานเช่นเดียวกับสนามกีฬารุ่นพี่ในกรีซและบราซิล


DSC_3908

……………….
คอลัมน์ : หลังกล้องไซบีเรีย โดย ยลรดี ธุววงศ์

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
● หลังกล้องไซบีเรีย | ทำไมชาวรัสเซียถึงตามติดข่าว 'ถ้ำหลวง'?
● หลังกล้องไซบีเรีย | เผชิญหน้า 'ปูติน-ทรัมป์' หลังจบฟุตบอลโลก


ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว