‘นายกฯ’ จับมือ “AIRBUS” MOU ศูนย์ซ่อมบำรุงอู่ตะเภา

22 มิ.ย. 2561 | 14:07 น.
- 22 มิ.ย. 61 - ผู้สื่อข่าวรายงานว่าระหว่างวันที่ 19-26 มิ.ย.นี้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี มีกำหนดการนำคณะผู้บริหารระดับสูงภาครัฐและภาคเอกชนเดินทางเยือนสหราชอาณาจักร และสาธารณรัฐฝรั่งเศส เพื่อยกระดับการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยกับสหราชอาณาจักร และสาธารณรัฐฝรั่งเศส ทั้งด้านการค้า การลงทุน และอื่นๆ หลังจากเมื่อวันที่ 11 ธ.ค. 2560 คณะรัฐมนตรีต่างประเทศสหภาพยุโรปได้ออกแถลงการณ์รื้อฟื้นความสัมพันธ์กับไทยและสหภาพยุโรปจากที่เคยยุติความสัมพันธ์กับประเทศไทยเมื่อเดือน มิ.ย. 2557 20180622063136

ได้เข้าเยี่ยมคารวะและหารือกับนางเทเรซา เมย์ นายกรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักร และนายเอ็มมานูเอล มาครง ประธานาธิบดีฝรั่งเศส พร้อมกันนี้นายกรัฐมนตรีจะหารือกับภาคเอกชนรายใหญ่ของทั้งสองประเทศด้วย

เอกชนรายใหญ่แห่งสหราชอาณาจักรที่เข้าหารือกับนายกรัฐมนตรีของไทย ประกอบด้วย Mr.Gregory Hodkinson , Chairman of the Global Group, บริษัท Arup และ Mr.Mark E.Tucker, Group Chairman บริษัท HSBC และ Mr.Paul Manduca , Chairman บริษัท Prudential 20180622063137 20180622063138

ส่วนเอกชนรายใหญ่ของประเทศสาธารณรัฐฝรั่งเศสนั้น นายกรัฐมนตรีจะหารือกับนาย Guillaume Faury ประธานบริษัท Airbus Commercial Aircraft พร้อมทั้งเยี่ยมชมสายการผลิตของชิ้นส่วนอากาศยาน และร่วมพิธีเปิดตัวแบบจำลองศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยาน (Maintenance, Repair and Overhaul-MRO) รวมถึงพิธีแลกเปลี่ยนความตกลงสัญญากรอบการร่วมทุนระหว่าง บมจ.การบินไทย (THAI) กับ Airbus Commercial Aircraft

นอกจากนี้ นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รมว.พาณิชย์ ซึ่งร่วมคณะไปนายกรัฐมนตรีในครั้งนี้มีกำหนดการเข้าร่วมเป็นสักขีพยานลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) รวม 6 ฉบับ ระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนของไทยกับสหราชอาณาจักร ประกอบด้วย

1.การลงนาม MOU ระหว่างกระทรวงพาณิชย์กับเทสโก้ กรุ๊ป เรื่องความร่วมมือพัฒนาสินค้าเกษตรเพื่อการส่งออก ด้วยการนำสินค้าเอสเอ็มอีไทยมาพัฒนาร่วมกับศูนย์นวัตกรรม (Innovation Center) ของเทสโก้ และส่งออกไปจำหน่ายในห้างเครือข่ายในสหราชอาณาจักร ยุโรป และเอเชีย

2.การลงนาม MOU ระหว่างกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) กับ บริติช เคานซิล (British Council) ซึ่งเป็นองค์กรนานาชาติที่ส่งเสริมการศึกษา ศิลปะ และวัฒนธรรมแห่งสหราชอาณาจักร ในเรื่องความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy) ซึ่งมีสินค้าหัตถกรรมและดีไซน์ (Handicraft & Design) เป็นเป้าหมายในการพัฒนา โดยจะร่วมกันพัฒนา Creative Hub ในภูมิภาคต่างๆ ของประเทศไทยให้มีความพร้อมที่จะสร้างสรรค์ผลงานที่ทันสมัย สวยงาม ผ่านฝีมือคนไทย โดยยังคงเอกลักษณ์ความเป็นไทย เพื่อสร้างมูลค่าให้กับสินค้า และเป็นที่ต้องการของตลาดในระดับสากล

3.การลงนาม MOU ร่วมระหว่าง บมจ.พีทีทีโกลบอล เคมิคอล (PTTGC) กับ Digital Barriers เรื่องความร่วมมือหาแนวทางนำนวัตกรรมระบบความปลอดภัยมาใช้กับแนวท่อส่งผลิตภัณฑ์ของบริษัทฯไปยังลูกค้า

4.การลงนาม MOU ระหว่าง PTTGC กับ Arturius International เรื่องความร่วมมือหาแนวทางนำนวัตกรรมระบบความปลอดภัยมาใช้

5.การลงนาม MOU ระหว่าง PTTGC กับ UK Export Finance (ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐที่ทำหน้าที่ช่วยเหลือทางการเงินกับผู้ส่งออก) เรื่องเสนอแนวทางความร่วมมือในการใช้องค์ความรู้บริการและอุปกรณ์ด้านวิศวกรรมที่เป็น UK content ก่อให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจของสหราชอาณาจักร 100-200 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และแสดงความประสงค์จะขอรับการสนับสนุนเงินกู้โครงการขนาดใหญ่ในอนาคตของบริษัทฯ ในมลรัฐโอไฮโอ สหรัฐฯ

6.การลงนาม MOU ระหว่างโรลส์-ลอยซ์ (Roll Royce) กับ THAI เรื่องความร่วมมือในการร่วมลงทุนจัดตั้งศูนย์ซ่อมอากาศยานดอนเมือง

นอกจากนี้ รมว.พาณิชย์ จะเป็นประธานประชุมเตรียมการกับภาคเอกชนไทย ซึ่งเป็นการประชุมสภาผู้นำธุรกิจไทย-สหราชอาณาจักร (TUBLC) เช่น กลุ่มบริษัทไทยเบฟเวอเรจ (Thai Beverage Group) , บมจ. ปตท. (PTT), กลุ่มบริษัทซีพี (CP Group) , บมจ. เอส แอนด์ พี ซินดิเคท (S&P), กลุ่มบริษัทคาราบาว (Carabao Group) , บมจ. การบินไทย (THAI) พร้อมกันนี้ยังมีการหารือกับ FSB ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ดูแลเอสเอ็มอีของสหราชอาณาจักรอีกด้วย

สำหรับกิจกรรมในประเทศสาธารณรัฐฝรั่งเศสนั้น รมว.พาณิชย์และคณะผู้บริหารจะเข้าร่วมเป็นสักขีพยานพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) ระหว่างนักธุรกิจไทย และสาธารณรัฐฝรั่งเศส จำนวน 5 ฉบับ ประกอบด้วย

1.การลงนาม MOU ระหว่างกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) กับ ICC เรื่องความร่วมมือด้านการศึกษาระหว่างสถาบันพัฒนาผู้ประกอบการค้ายุคใหม่ หรือ New Economy Academy (NEA) ของกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ และสถาบันไอซีซี (ICC Academy) ในการพัฒนาเอสเอ็มอีไทย และแลกเปลี่ยนข้อมูลกฎระเบียบด้านการค้า นโยบาย พิธีการศุลกากร

2.การลงนาม MOU ในกรอบความร่วมมือสัญญาว่าจ้างระหว่าง PTTGC กับ Dassault Systemes  เรื่องโครงการ Digitization รับจ้างติดตั้งและดำเนินการเทคโนโลยีระบบโครงสร้าง Visualization ในการวิเคราะห์ข้อมูลและเชื่อมต่อระบบวิศวกรรมในโรงงาน

3.การลงนาม MOU ระหว่าง Loxley กับ POMA เรื่องความร่วมมือในการพัฒนาสมาร์ทซิตี้ (Smart City)

4.การลงนาม MOU ระหว่าง บริษัท มิตรผล กับ Maguin & Cristal Union เพื่อผลิต Superfind alcohol สำหรับการผลิตยาและเครื่องสำอาง

5.การลงนาม MOU ระหว่างบริษัท มิตรผล กับ Roquette เพื่อผลิต Functional Starch

การเดินทางเยือนสหราชอาณาจักร และสาธารณรัฐฝรั่งเศสของนายกรัฐมนตรีและคณะในครั้งนี้จะเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทยอย่างมาก ทั้งด้านการกระชับความสัมพันธ์ทางการค้า การลงทุน ตลอดจนการเจรจาขยายลู่ทางการนำเข้าสินค้าไทยให้เพิ่มมากขึ้น รวมถึงการเจรจาความร่วมมือใหม่ๆ อีกหลายด้าน เช่น เศรษฐกิจสร้างสรรค์  หรือ Creative Economy และนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ของรัฐบาลไทย ที่จะช่วยพัฒนาขีดความสามารถของคนไทย ขยายโอกาสทางการค้า เชื่อมโยงตลาดการค้าที่สำคัญของโลกเข้าสู่ประเทศไทย เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจด้านการค้า การลงทุน ให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน

http://www.thaigov.go.th วันนี้รายงานว่า เวลา 12.00 น. ณ บริษัท Airbus Commercial Aircraft  เมืองตูลูส สาธารณรัฐฝรั่งเศส พล.อ.ประยุทธ์ พบหารือกับ นายกีโยม โฟรี (Mr. Guillaume Faury) ประธานบริษัท Airbus Commercial Aircraft โดยมี นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี , นายดอน ปรมัตถ์วินัย รมว.ต่างประเทศ , นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี , นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รมว.พาณิชย์ , นายอุตตม สาวนายน รมว.อุตสาหกรรม และนายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายพัฒนาเขตพิเศษภาคตะวันออก ร่วมหารือด้วย  airbus-logoV2

ภายหลังการหารือ พล.ท.วีรชน สุคนธปฏิภาค รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี สรุปสาระสำคัญ ดังนี้

Mr G. faury ได้กล่าวต้อนรับนายกรัฐมนตรีและคณะ พร้อมย้ำถึงความสัมพันธ์และความร่วมมือระหว่าง บริษัท Airbus และประเทศไทย ทั้งภาครัฐและเอกชน ที่แนบแน่นและยาวนาน ก่อให้เกิดประโยชน์จากความร่วมมือทั้งสองฝ่ายมาตลอด พร้อมชื่นชมพัฒนาการการเติบโตทางเศรษฐกิจของไทย ภายใต้การขับเคลื่อนของรัฐบาล และยังมีโอกาสที่จะเพิ่มพูนความร่วมมือและการเติบโตไปด้วยกันอีกมากในอนาคต

ในโอกาสนี้นายกรัฐมนตรี กล่าวชื่นชมความสำเร็จของบริษัท Airbus ในการเป็นผู้นำระดับโลกด้านการผลิตเครื่องบิน เครื่องบิน Airbus ก็ได้รับความนิยม มีคุณภาพและความน่าเชื่อถือ สายการบินในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกกว่า 100 สาย รวมถึงการบินไทยด้วย

ทั้งนี้ ไทยได้ให้ความสำคัญต่อการวางระบบโครงสร้างพื้นฐานโครงข่ายด้านคมนาคมที่เชื่อมต่อทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ เพื่อให้ไทยเป็นศูนย์กลางการเดินทางของภูมิภาค หรือเป็น gateway และ ศูนย์กลางการบินของภูมิภาค รวมทั้ง ศูนย์ซ่อมเครื่องบิน และการจัดหาเครื่องบินซึ่งมีอยู่ในแผนแล้ว และเพื่อรองรับการเติบโตทางเศรษฐกิจด้วย อย่างไรก็ตาม ความร่วมมือนี้ยังจะเชื่อมต่อไปถึง การถ่ายทอดเทคโนโลยี และการร่วมพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้วย

รัฐบาลเร่งขับเคลื่อนโครงการระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก หรือ EEC โดยจะมีการพัฒนาและขยายการเชื่อมโยงครบทั้งระบบ บก น้ำ อากาศ รวมถึง Smart City และ Industrial Park ซึ่งโตรงการขยายท่าอากาศยานอู่ตะเภาเพื่อรองรับผู้โดยสารได้ 15 ล้านคนใน 5 ปี และสูงสุดถึง 60 ล้านคนในอนาคต

ในตอนท้าย นายกรัฐมนตรีขอให้เร่งขับเคลื่อนความร่วมมือให้เกิดขึ้นโดยเร็วภายในรัฐบาลนี้ และขอให้มั่นใจว่า โครงการจะได้รับการสนับสนุนและสานต่อ เพราะมียุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีรองรับอยู่

นายกรัฐมนตรี ยังได้แสดงยินดีที่วันนี้จะมีการลงนาม Joint Venture Company Principles Agreement ของโครงการศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยานอู่ตะเภา โดยบริษัท Airbus ตัดสินใจสร้างบริษัทร่วมทุนเพื่อบริการซ่อมบำรุงอากาศยานกับบริษัท การบินไทย ทั้งนี้ รัฐบาลพร้อมส่งเสริมความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมอากาศยานและการบินอย่างเต็มที่ เพราะเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมเป้าหมายของไทย 416923

ศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยานแห่งใหม่นี้จะเป็นหนึ่งในศูนย์ซ่อมฯ ที่มีความทันสมัยและครอบคลุมที่สุดในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ด้วยการให้บริการซ่อมบำรุงใหญ่ (Heavy maintenance) และการซ่อมบำรุงอากาศยานระดับลานจอดที่สามารถทำให้แล้วเสร็จได้ที่อากาศยาน (Line services) ให้กับเครื่องบินลำตัวกว้างทุกประเภท ศูนย์ซ่อมฯ แห่งใหม่นี้จะนำเทคโนโลยีดิจิทัลล่าสุดมาใช้วิเคราะห์ข้อมูลการบำรุงรักษาเครื่องบิน ตลอดจนเทคนิคการตรวจสอบขั้นสูง ซึ่งรวมถึงการใช้โดรนตรวจสอบโครงสร้างของเครื่องบินด้วยเช่นกัน

ศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยานจะมีโรงซ่อมอากาศยานเฉพาะด้าน ประกอบด้วยศูนย์ซ่อมโครงสร้างคอมโพสิต รวมทั้งศูนย์ฝึกอบรมการซ่อมบำรุงที่ครอบคลุมและครบวงจรสำหรับช่างเทคนิคในประเทศไทยและจากต่างประเทศ 20180622065121 20180622065124 20180622065126

“การบินไทยและแอร์บัสได้ดำเนินการศึกษาและประเมินที่ครอบคลุมทุกด้านเพื่อทำให้แผนพัฒนาศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยานที่น่าจับตามองนี้เกิดขึ้น” นางอุษณีย์ แสงสิงแก้ว รักษาการกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวและเสริมอีกว่า “ทางการบินไทยและแอร์บัสจะร่วมกันพัฒนาศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยานที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก เรามั่นใจว่าการร่วมทุนครั้งนี้จะนำมาซึ่งประโยชน์ในทางเศรษฐกิจต่อการบินไทยเป็นอย่างมาก และจะเป็นแรงขับเคลื่อนหลักในการพัฒนาอุตสาหกรรมการบินและอวกาศในประเทศไทยให้ก้าวไปไกลยิ่งขึ้น”

“เรารู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ร่วมลงนามในข้อตกลงที่สำคัญนี้กับทางการบินไทย” นายกีโยม โฟรี ประธานบริหารฝ่ายเครื่องบินพาณิชย์ของแอร์บัส กล่าวและเสริมอีกว่า “ข้อตกลงนี้จะเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างแอร์บัสและการบินไทยที่มีมาอย่างยาวนานให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ยังส่งผลต่อความสำเร็จของเขตเศรษฐกิจภาคตะวันออกของประเทศไทยอีกด้วย ด้วยจำนวนฝูงบินของเครื่องบินลำตัวกว้างในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกที่คาดว่าจะเติบโตเพิ่มขึ้นเป็นสามเท่าหรือราว 4,800 ลำในอีก 20 ปีข้างหน้า โครงการนี้จึงเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงโอกาสทางธุรกิจที่ดีของเราทั้งสองบริษัท” 20180622065126 20180622065127 20180622065132

โครงการร่วมทุนระหว่างแอร์บัสและการบินไทยจะตั้งอยู่ที่ท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภา ซึ่งตั้งอยู่ใจกลางของโครงการระเบียงเขตเศรษฐกิจภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor หรือ EEC) ของประเทศไทย โครงการระเบียงเขตเศรษฐกิจภาคตะวันออกเป็นแผนยุทธศาสตร์หลักภายใต้นโยบายไทยแลนด์ 4.0 ของรัฐบาลไทย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตและบริการโดยใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมในประเทศไทยให้ไปสู่ระดับโลก

นางอุษณีย์ แสงสิงแก้ว รักษาการกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท การบินไทยฯ เปิดเผยว่า โครงการศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยานอู่ตะเภา เป็นหนึ่งในโครงการสำคัญของแผนพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC Project) จะเป็นศูนย์ซ่อมที่มีความทันสมัยที่สุดในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก และมีประสิทธิภาพมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก จะสามารถซ่อมได้ทั้งการซ่อมบำรุงใหญ่ (Heavy maintenance) และการซ่อมบำรุงอากาศยานระดับลานจอด โดยสามารถซ่อมให้แล้วเสร็จได้ที่อากาศยาน (Line services) สำหรับเครื่องบินลำตัวกว้างทุกประเภท โดยจะนำเทคโนโลยีดิจิทัลที่ทันสมัยมาใช้วิเคราะห์ข้อมูลการบำรุงรักษาเครื่องบิน ตลอดจนเทคนิคการตรวจสอบ รวมถึงการใช้โดรนตรวจสอบโครงสร้างของเครื่องบินอีกด้วย นอกจากนี้ ยังมีโรงซ่อมอากาศยานเฉพาะด้าน ได้แก่ ศูนย์ซ่อมโครงสร้างคอมโพสิต และศูนย์ฝึกอบรมการซ่อมบำรุงที่ครบวงจรสำหรับช่างเทคนิคทั้งจากในประเทศไทยและต่างประเทศ 20180622065133 20180622065134

การร่วมทุนระหว่างการบินไทยและแอร์บัสในครั้งนี้ จะเป็นแรงขับเคลื่อนหลักในการพัฒนาอุตสาหกรรมการบินและอวกาศในประเทศไทยให้ก้าวไปไกลยิ่งขึ้น ซึ่งคาดว่าจำนวนฝูงบินของเครื่องบินลำตัวกว้างในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกจะเติบโตเพิ่มขึ้นเป็นสามเท่าหรือราว 4,800 ลำ ในอีก 20 ปีข้างหน้า และส่งผลดีต่อแผนพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกของประเทศไทย ซึ่งจะเป็นไปตามนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ของรัฐบาลไทย ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตและบริการโดยใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมในประเทศไทยให้ไปสู่ระดับโลก