สะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 5 (บึงกาฬ-ปากซัน) เชื่อมโยงการค้าการลงทุนระหว่างประเทศ

30 เม.ย. 2561 | 06:51 น.
2355

โครงการดังกล่าวนี้ล่าสุดกรม ทางหลวง(ทล.) ได้รับอนุมัติงบประมาณ ปี 2562 เป็นค่าเวนคืนไปแล้วจํานวน 240 ล้านบาทแต่ค่าก่อสร้างขณะนี้ยัง ตกลงกับสาธารณรัฐประชาธิปไตย ประชาชนลาว (สปป.ลาว) ไม่ได้อีกทั้ง ยังอยู่ระหว่างการเจรจากับสาธารณรัฐ ประชาชนจีนอีกด้วย

เบื้องต้นตามผลการศึกษาออกแบบ คาดว่าจะใช้งบลงทุนจํานวน 3,640 ล้าน บาท แยกเป็น ค่าก่อสร้างถนน 890 ล้านบาท (ในฝั่งไทย 750 ล้านบาท และฝั่ง สปป.ลาว 140 ล้านบาท) งานสะพาน 1,510 ล้านบาท(ฝั่งไทย 860 ล้านบาท และฝั่งสปป.ลาว 650 ล้านบาท) อาคาร สํานักงานด่าน 1,000 ล้านบาท (ฝั่งละ 500 ล้านบาท) และรวมค่าเวนคืน 240 ล้านบาท

สะพานข้ามแม่น้ําโขงแห่งที่ 5 บึงกาฬ-ปากซัน นับเป็นการยกระดับ การพัฒนาโครงข่ายทางหลวงเชื่อมโยง กับประเทศเพื่อนบ้านภายใต้กรอบความ ร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภาคลุ่ม แม่น้ําโขง (Greater Mekong Subregion : GMS) ยุทธศาสตร์ความร่วมมือทาง เศรษฐกิจ อิรวดี - เจ้าพระยา - แม่โขง (Ayeyawady-Chao Phraya-Mekong Economic Cooperation Strategy : ACMECS) ระหว่างประเทศเพื่อนบ้าน กัมพูชา-สาธารณรัฐประชาธิปไตย ประชาชนลาว (สปป.ลาว)-สหภาพ เมียนมา-ไทย-เวียดนาม
สะพานมิตรภาพบึงกาฬ-บอลิคำไซ นับเป็นเส้นทางยุทธศาสตร์การ พัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขัน ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือในกลุ่ม อนุภาศตอนบน และยุทธศาสตร์การ พัฒนาจังหวัดบึงกาฬและจังหวัดใกล้ เคียงที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจ การค้าการลงทุนระหว่างประเทศ โดย เฉพาะการเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคม ขนส่งระหว่างประเทศไทย กับ สปป. ลาว ที่เมืองปากซัน แขวงบอลิคําไซ สปป.ลาว

โดยรูปแบบการก่อสร้างสะพาน จะมีความยาว 1.35 กม. ขนาด 2 ช่อง จราจร เชื่อมโยงระหว่างฝั่งไทยกับสปป. ลาว พร้อมถนนตัดใหม่เป็นลักษณะถนน เลี่ยงเมืองขนาด 4 ช่องจราจรในฝั่งไทย เพื่อเชื่อมต่อกับทางหลวงสาย 222 (บึงกาฬ-พังโคน) จาก จ.หนองคาย ไป ยัง จ.นครพนม และ จ.สกลนคร ส่วน ฝั่งลาวจะเป็นถนนขนาด 2 ช่องจราจร ระยะทาง 2.86 กม.
aaaMAP-3199 ทั้งโครงการมีระยะ ทางรวม 16.18 กม. แยกเป็นงานก่อสร้าง ฝั่งไทย 12.1.3 กม. และฝั่งสปป.ลาว 3.18 กม. แนวเส้นทางมีจุดเริ่มต้นที่ฝั่งประเทศไทย ช่วงจุดตัดทางหลวงหมายเลข 222 บนพื้นที่ ต.วิศิษฐ์ ต.ไดสี และ ต.บึงกาฬ อ.เมืองบึงกาฬ มุ่งไปทางทิศ ตะวันตก ก่อนที่จะเลี้ยวขวามุ่งไปทาง ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ตัดกับทางหลวง ชนบทหมายเลข บก.3217 ทางทิศตะวัน ตกเฉียงใต้ของบ้านหนองนาแซง แนว เส้นทางจะมุ่งหน้าไปยังทิศทางเดิม และ ตัดกับทางหลวงชนบทหมายเลข บก. 3013 ก่อนจะเลี้ยวขวาไปทางทิศตะวัน ออกเฉียงเหนือ ผ่านพรมแดนฝั่ง ประเทศไทย และยกข้ามทางหลวง หมายเลข 212 ซึ่งห่างจากริมฝั่งแม่น้า โขงประมาณ 200 เมตร จากนั้นแนวเส้น ทางจะข้ามแม่น้ําโขงผ่านจุดสลับทิศทาง จราจร และด่านพรมแดนฝั่ง สปป.ลาว

ไปสิ้นสุดโครงการที่ทางหลวงหมายเลข 13 ระยะทางรวมตลอดโครงการ 16.03 กิโลเมตร ซึ่งการก่อสร้างฝั่งไทยจะใช้ เงินงบประมาณประจําปี ส่วนฝั่งสปป. ลาวจะใช้เงินกู้

เมื่อเปิดให้บริการจะสามารถท่อง เที่ยวตามเส้นทางนี้เชื่อมติดต่อกัน 1 วัน เที่ยวได้3 ประเทศ นอกเหนือจากเป็นการ พัฒนาระบบโลจิสติกส์ที่เชื่อมโยงระบบ โครงข่ายคมนาคมให้มีความสมบูรณ์ยิ่ง ขึ้น โดยเฉพาะการเชื่อมโยงสินค้าจาก ประเทศไทยไปสู่ตลาดจีนตอนใต้ หรือ สินค้าจากโซนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ของไทยออกสู่ทะเลที่เวียดนามไปยังประ เทศอื่นๆ
...............................
รายงาน : เกาะติดเมกะโปรเจ็กต์ |เซกชั่น เศรษฐกิจมหภาค |หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับ 3360 ระหว่างวันที่ 26-28 เม.ย.2561
ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว