อนุมัติท่าเรือบกเชื่อมนิคมอุดร เอกชนปลื้มพร้อมลงทุนวางรางรถไฟ

12 มี.ค. 2561 | 23:00 น.

Thansettakij เว็บไซต์ข่าวฐานเศรษฐกิจ ผนวกไลฟ์สไตล์ Start up SMEs อสังหาริมทรัพย์ การเงิน การลงทุน การตลาด เศรษฐกิจ เทคโนโลยี Breaking News อัพเดตข่าวล่าสุดที่นี่

นิคมอุดรฯ ปลื้ม สนข.เห็นชอบให้ใช้พื้นที่ทำเป็นท่าเรือบก บนพื้นที่ 650 ไร่ ใช้ประโยชน์ร่วมกันกับโครงการ คอนเทนเนอร์ยาร์ดของ ร.ฟ.ท.

นายสุวิทย์ พิพัฒน์วิไลกุล ประธานกรรมการ บริษัท เมืองอุตสาหกรรมอุดรธานี จำกัด เปิดเผยว่า ทางบริษัทได้รับหนังสือ สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ลงวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2561 โดยอ้างถึงหนังสือของ บริษัท เมืองอุตสาหกรรมอุดรธานี จำกัด ที่ นอ.059/2560 ลว. 22 พฤศจิกายน 2560 ว่าทาง สนข. เห็นชอบ ตามที่ทางโครงการได้แจ้งเสนอโครงการท่าเรือบก(Inland Contianer Depot) ในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมอุดรธานี เพื่อขอให้การพิจารณาและขอให้การสนับสนุนผลักดันข้อเสนอดังกล่าว โดยบรรจุในแผนแม่บทการพัฒนาโครงข่ายทางรถไฟ สนับสนุนเขตเศรษฐกิจพิเศษ การท่องเที่ยวและพัฒนาพื้นที่

[caption id="attachment_266965" align="aligncenter" width="503"] ภาพเมื่อตอนเปิดโครงการเมืองอุตสาหกรรมอุดรธานี ภาพเมื่อตอนเปิดโครงการเมืองอุตสาหกรรมอุดรธานี[/caption]

ทั้งนี้ สนข. พิจารณาข้อเสนอดังกล่าวแล้วเห็นว่าการที่ทางโครงการเสนอให้ใช้พื้นที่ของนิคมอุตสาหกรรมอุดรธานีที่ติดทางรถไฟเป็นจุดกองเก็บสินค้านั้น เป็นแนวทางที่เหมาะสมในการขนส่งสินค้าทางราง ดังนั้น สนข. จึงได้เสนอคณะกรรมการกำกับงานศึกษาแผนแม่บทฯ โดยได้บรรจุไว้ในแผนแม่บท การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสำหรับขนส่งสินค้า เป็นแผนระยะกลาง ปี 2565-2569 พร้อมกันนี้ทาง สนข.ได้เสนอกระทรวงคมนาคม เพื่อพิจารณามอบหมายให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) พิจารณาดำเนินการต่อไป

นายสุวิทย์ กล่าวว่า โครงการนิคมอุตสาหกรรมอุดรธานี ดำเนินการตามมติของรัฐมนตรี ได้รับการส่งเสริมการลงทุนจากบีโอไอ มีพื้นที่โครงการอยู่ติดกับเส้นทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ กรุงเทพฯ-หนองคาย ห่างจากสถานีหนองตะไก้ อ.เมืองอุดรธานี ประมาณ 1.8 กม. และโครงการมีแนวคิดพัฒนาพื้นที่ของโครงการส่วนหนึ่งประมาณ 500 ไร่ ไปพัฒนาเป็นโครงการ ท่าเรือบก Inland Contianer Depot:ICD แต่ก็มีปัญหา เนื่องจากการรถไฟแห่งประเทศไทย ก็มี โครงการ Contianer Yard:CY ในบริเวณพื้นที่ว่างของสถานีรถไฟหนองตะไก้ ซึ่งทางโครงการนิคมอุตสาหกรรมอุดรธานี ได้เสนอขอรับการสนับสนุนจากการรถไฟแห่งประเทศไทย ให้วางรางระยะทางประมาณ 1.8 กม.เข้าไปขอบเขตพื้นที่ของโครงการ ส่วนในพื้นที่ของโครงการจะเป็นผู้ลงทุนวางรางรถไฟเอง ทั้งนี้เพื่อจะได้ทำการขนส่งสินค้าจากพื้นที่ต่างๆ ที่มาใช้ ICD ไปยังจุดหมาย

แบนเนอร์รายการฐานยานยนต์-2 “ที่ผ่านมา ทางโครงการ ได้ดำเนินการพัฒนาโครงการมาโดยตลอด อาทิเช่น การขุดบ่อขนาดใหญ่จำนวน 3 บ่อ ในพื้นที่ 178 ไร่ เพื่อจัดหานํ้าเพื่อใช้ในโครงการให้เพียงพอ เพิ่มเติมจากแหล่งนํ้าสาธารณะหนองคาล การจัดวางท่อนํ้าประปาเข้าสู่พื้นที่โครงการ การจัดหาไฟฟ้าเพิ่มเติมจากเดิม โดยจัดสรรพื้นที่ให้การไฟฟ้าจัดก่อสร้างสถานีไฟฟ้าย่อย เพื่อสร้างความมั่นคงด้านพลังงานในพื้นที่โครงการและพื้นที่ใกล้เคียง”

นายสุวิทย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ในส่วนของโครงการ ICD นั้น ตามแผนงานเดิมจะใช้พื้นที่ประมาณ 500 ไร่ ก็เพิ่มเป็น 650 ไร่ ตามกำหนดของ สนข.และมีการดำเนินต่อเนื่องมาจากปี 2557 ซึ่ง สนข.ได้แจ้งความเห็นชอบตามแผนการเสนอจากโครงการแล้ว ทางโครงการก็จะเตรียมจัดหาสิ่งอำนวยความสะดวกต่อการดำเนินงาน เช่น จัดสรรพื้นที่เป็นฟรีโซน : Free Zone จัดก่อสร้างสถานที่การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ศุลกากรในการบริการแก่การส่งออก-นำเข้า ทางพิธีการทางศุลกากร จัดสรรพื้นที่สำหรับการก่อสร้างคลังสินค้า อุปกรณ์บริการ การขนส่งตู้สินค้า

อนึ่ง โครงการเมืองอุตสาหกรรมอุดรธานี มีเป้าหมาย เป็นนิคมอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานพาหนะและประกอบรถยนต์ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอ นิกส์ อุตสาหกรรมการแปรรูปสินค้าเกษตร อุตสาหกรรมยางพาราขั้นปลาย อุตสาหกรรมผลิตวัสดุก่อสร้าง อุตสาหกรรมสนับสนุนการผลิตและศูนย์กระจายสินค้า

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 38 ฉบับที่ 3,347 วันที่ 11 - 14 มีนาคม พ.ศ. 2561
ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว