ร่างพ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ฉุดรั้งหรือพัฒนาประเทศ (ตอนจบ)

01 มี.ค. 2561 | 04:39 น.
MP31-3343-A ร่าง พ.ร.บ.ภาษีที่ดิน และสิ่งปลูกสร้าง...ต้อง เริ่มที่หลักการ “เหตุผลโดยที่กฎหมายว่าด้วยภาษีโรงเรือนและที่ดินและ กฎหมายว่าด้วยภาษีบำรุงท้องที่ ได้ใช้บังคับมาเป็นเวลานานแล้ว การจัดเก็บภาษีตามกฎหมายทั้ง 2 ฉบับไม่เหมาะสมกับสถาน การณ์ ในปัจจุบันสมควรยกเลิกกฎหมายทั้ง 2 ฉบับดังกล่าวและให้ใช้กฎหมายว่าด้วยภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างแทน โดยมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้รับผิดชอบการจัดเก็บภาษีดังกล่าว จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้”

จากเหตุผลของการตรา พ.ร.บ.นี้พูดถึงความไม่เหมาะสมของกฎหมายเดิมที่ใช้มานาน จึงเป็นเหตุผลในการตรากฎหมายใหม่ นี่คือปัจจัยสำคัญ มิใช่เรื่องของการลดความเหลื่อมลํ้าทางสังคม ซึ่งจะมาอาศัยกฎหมายฉบับเดียวไปแก้คงไม่ใช่เหตุปัจจัยโดยตรง

MP31-3343-1A การศึกษาความจำเป็น ในการตรากฎหมาย คือการศึกษาผลกระทบของร่างกฎหมาย ยึดหลักการความเสมอภาค ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้คือหลักการสำคัญ

ในเมื่อเหตุผลในการ พัฒนากฎหมายจะส่งผลดีต่อประเทศแล้ว ยังต้องทำในสิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งคือ การได้รับฟังความคิดเห็นของผู้มีหน้าที่ชำระภาษีนี้ นั่นก็คือ ภาคประชาชน การกำหนดกฎหมายภาษีจึงมีความจำเป็นที่จะต้องปรับตัวให้สอดรับกับความเปลี่ยนแปลงของสังคม เพื่อส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาของประเทศ และอีกประการหนึ่งคือ “ถ้ากฎหมายดี จะส่งผลให้คอร์รัปชันน้อยลง” คณะกรรมาธิการวิสามัญได้มีการประชุมมาแล้วรวมทั้งสิ้น 55 ครั้ง ซึ่งคณะกมธ. ได้มีการพิจารณาครบทุกมาตรา ซึ่งปัจจุบันมีการพิจารณาทบทวนรายมาตรา และทำการศึกษาผลกระทบร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พร้อมกับได้มีการเปิดรับฟังความคิดเห็นไปแล้ว ปัจจุบันมีประเด็นในเรื่องของการวินิจฉัยการใช้ประโยชน์ที่ดินในด้านเกษตรกรรม ควรมีองค์กรที่รับผิดชอบด้านการเกษตร ในการร่วมมือสนับสนุนหลักการเพื่อประกอบการพิจารณา

บาร์ไลน์ฐาน ประเด็นที่อาจจะเกี่ยวข้องต่อเนื่องเพิ่มเติมในการพิจารณา คือ ที่เรียกว่ากฎหมายรองที่จะออกมากำกับในการปฏิบัติงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะผู้ที่มีภาระหน้าที่โดยตรงในการจัดเก็บ เช่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น, กรุงเทพมหานคร, เมืองพัทยา และเขตเศรษฐกิจพิเศษที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งผู้ที่มีภาระหน้าที่โดยตรงจะมีวิธีปฏิบัติอย่างไร ที่เป็นไปอย่างถูกต้องตรงตามหลักการ และลดโอกาสในการใช้ดุลพินิจ อาจนำไปสู่การเลือกปฏิบัติ หรือใช้อำนาจไปในทางที่แสวงหาประโยชน์ส่วนตน ซึ่งจะเป็นสิ่งที่ทำให้กฎหมายฉบับนี้มิได้แก้ไขกฎหมายในอดีตแต่ประการใด รวมถึงประเด็นเกี่ยวกับการพิจารณาการออกกฎหมายให้สอดคล้องต่อสถานการณ์เศรษฐกิจที่มีการปรับตัว อย่างรุนแรงในสถานการณ์เศรษฐกิจที่เข้าสู่ยุค Digital economy ตลอดจนถึงการพิจารณาให้สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ที่ถือว่าเป็น Road map ของชาติ เมื่อการออกแบบและพิจารณากฎหมายสอดคล้องต่ออนาคตของชาติ และของโลก ไหนเลยที่คนไทยจะทักท้วงคัดค้าน

บทความ : อภิชาติ ประสิทธิ์นฤทธิ์
นายกสมาคมการค้าอสังหาริมทรัพย์และพันธมิตร
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 38 ฉบับที่ 3,343 วันที่ 25 - 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561
ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว